Tuesday 13 November 2018 | 0 comments | By: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7 ความสัมพันธ์ของวิชาชีพพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ


แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
ความสัมพันธ์ของวิชาชีพพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ

เนื้อหา
         1. ความหมาย
         2. ความสำคัญ
         3. พลศึกษากับกีฬา
         4. พลศึกษากับนันทนาการ
         5. กีฬากับนันทนาการ
                                      
จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. บอกความหมายของพลศึกษา กีฬาและนันทนาการได้
         2. บอกความสำคัญของพลศึกษา กีฬาและนันทนาการได้
         3. อธิบายความสัมพันธ์พลศึกษากับกีฬาได้
         4. อธิบายความสัมพันธ์พลศึกษากับนันทนาการได้
         5. อธิบายความสัมพันธ์กีฬากับนันทนาการ
    
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
          1. บรรยายประกอบสื่อ  PowerPoint  เกี่ยวกับเนื้อหาที่กำหนด
          2. แบ่งกลุ่มผู้เรียนศึกษาความหมายพลศึกษา กีฬา และนันทนาการ
          3. อภิปรายความสัมพันธ์พลศึกษา กีฬา และนันทนาการ
          4. สรุปความสัมพันธ์พลศึกษา กีฬา และนันทนาการ
          5. อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นและร่วมกันสรุปบทเรียน
          6. ทำแบบฝึกหัดท้ายแผนบริหารการสอนประจำบท
          7. แนะนำเอกสารประกอบการสอนรายวิชา ตำราและแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมอื่นๆ

สื่อการเรียนการสอน
          1. เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติและหลักการพลศึกษา 
          2. PowerPoint เนื้อหาที่สอน
          3. เอกสาร ตำรา หนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ

          4. แบบฝึกหัดท้ายแผนบริหารการสอนประจำบท
          5. ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ

การวัดและประเมินผล
          1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม
              1.1 แบบประเมินพฤติกรรมตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม (สำหรับผู้เรียน)
              1.2 แบบประเมินพฤติกรรมตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม (สำหรับผู้สอน)
          2. ด้านความรู้
              - คะแนนจากแบบทดสอบท้ายแผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
          3. ด้านทักษะทางปัญญา
             3.1 แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน (รายบุคคล)
             3.2 แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
          4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
              - แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
          5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
             - แบบประเมินทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  
แผนบริหารการเรียนการสอนประจำบทที่ 7
ความสัมพันธ์ของวิชาชีพพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ

                 การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ เป็นการสร้างกิจกรรมทางกายสำหรับตนเอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความแข็งแรง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ทำให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ การแนะนำส่งเสริมให้ผู้อื่นให้มีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกายดีที่สุดคือการให้การศึกษาและการชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ของการออกกำลังกาย  โทษของการขาดการออกกำลังกายในวัยเด็ก จะทำให้หยุดการเจริญเติบโต ไม่เจริญแข็งแรงตามที่ควรจะเป็น นอกเหนือจากการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและจิตใจเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ สำหรับในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจะทำให้เกิดความอ้วนขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบบภายในร่างกายต่าง ๆ เช่น โรคไขมันในเส้นเลือด โรคความดันโลหิต และโรคหัวใจ เป็นต้น ขั้นตอนของการวางแผนในการออกกำลังกาย ประกอบด้วยการตรวจสุขภาพ และการบันทึกประวัติส่วนตัว ประวัติการเจ็บป่วย การวางจุดมุ่งหมายในการออกกำลังกาย การเลือกกิจกรรม และข้อเสนอแนะให้กับบุคคลต่าง ๆ ตามหลักการที่ถูกต้อง ความอ้วน มีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น การบริโภคเกินความจำเป็น การทำกิจกรรมประจำวันน้อยลง มีโรคประจำตัวทำให้อ้วน หรือสาเหตุจากพันธุกรรม เป็นต้น การลดความอ้วนมีวิธีการมากมาย ได้แก่ การควบคุมอาหาร การใช้ยา การผ่าตัดอวัยวะ การกำจัดไขมันส่วนเกิน ที่สำคัญที่สุด คือ การออกกำลังกายควบคู่กับการจัดรายการอาหารให้เหมาะสม

1. ความหมาย
          1.1 ความหมายของพลศึกษา
                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546: 817) ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึง การศึกษาที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามและพัฒนาการทางร่างกาย
                การกีฬาแห่งประเทศไทย (2544: 8) (นิยามคำศัพท์กีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544) ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนพฤติกรรม เจตคติ และทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งการเล่นกีฬาเพื่อให้เกิดการพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา 
                มยุรี ถนอมสุข และชูเดช อิสระวิสุทธิ์ (2555: 47) (อภิธานศัพท์พลศึกษา และบทสนทนาภาษาอังกฤษเกี่ยวกับกีฬา) ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึง วิชาพื้นฐานวิชาหนึ่งในหลักสูตรการศึกษาระดับชาติว่าด้วยการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกายต่างๆ สามารถช่วยพัฒนาทัศนคติทางบวกต่อตนเองและชีวิต
                จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ (2543: 22) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึงกระบวนการศึกษาอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงาม และมีพัฒนาการหลายด้านพร้อมๆ กัน ได้แก่ ด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ และจิตใจ โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่เลือกสรรแล้วเป็นสื่อในการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติโดยตรงด้วยตนเองเท่านั้นจึงจะเกิดผล
                  วรศักดิ์ เพียรชอบ (2527: 2) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึงการศึกษาแขนงหนึ่งซึ่งมีวัตถุประสงค์ และความมุ่งหมายเช่นเดียวกับการศึกษาแขนงอื่นๆ คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม จะต่างจากวิชาอื่นตรงที่วิธีการ และสิ่งที่นำมาใช้ คือพลศึกษาใช้กิจกรรมการออกกำลังหรือการเล่นกีฬาเป็นสื่อในการเรียนโดยใช้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพลศึกษาให้มากที่สุด
                  จรินทร์ ธานีรัตน์ (2528: 1) กล่าวว่า การพลศึกษา คือ การศึกษาแขนงหนึ่งที่ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย (ที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่) เป็นสื่อกลาง (Medium) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย (รูปร่าง) ทางจิตใจ ทางอารมณ์ ทางสังคม และพัฒนาการทางด้านคุณธรรม ตลอดจนการเป็นพลเมืองดีด้วย          
                สุวิมล ตั้งสัจพจน์ (2553: 2) ได้กล่าวถึง พลศึกษาเริ่มขึ้นสมัยกรีกโบราณ ชาวเอเธนส์ และสปาตาร์ เป็นกลุ่มคนที่สนใจต่อการออกกำลังกายมาก เขาเรียกกิจกรรมการเรียนการสอนและการปฏิบัติในสถานกายบริหาร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพลศึกษาที่ขณะนั้นเรียกว่า “ยิมนาสติก” (Gymnastics) ต่อมาในศตวรรษที่ 17 ความสนใจการออกกำลังกายมาเน้นที่การพัฒนาร่างกายมากขึ้นทำให้คำว่า “Gymnastics” เปลี่ยนมาเป็น “Physical Activity” ซึ่งหมายรวมถึงกิจกรรมทางร่างกาย 
                 วิสูตร กองจินดา (2527: 33) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับการกีฬา การบริหารร่างกาย การเล่นเกม และการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายโดยใช้กิจกรรมการทางพลศึกษาเป็นสื่อเพื่อมุ่งพัฒนาด้านพุทธิศึกษา ทักษะ การมีทัศนคติที่ดี เชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้
                บุญส่ง เอี่ยมลออ (2528: 6) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึงพื้นฐานสำคัญของการศึกษาทั้งมวล ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล สถานการณ์ ปฏิกิริยาตอบสนองของกล้ามเนื้อต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งในรูปของการใช้สติปัญญา และความสามารถ
                ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ (2530: 28)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึงศาสตร์ที่มีความสำคัญที่ควรแก่การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านร่างกาย และการทำงานของร่างกาย           
                Anderson. (1989: 3) ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา (Physical Education) เป็นวิชาในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาซึ่งมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้เชิงทักษะพิสัย (Psychomotor Learning)
                Jenny. (1961: 5) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึงการศึกษาที่แตกต่างจากการศึกษาสาขาวิชาอื่น เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาบุคคลโดยใช้กิจกรรมทางกายที่ได้เลือกสรรแล้วมาสอนให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปในด้านต่างๆ พร้อมๆกัน
               Bookwalter. and  Zwaag. (1968: 4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา และมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางการศึกษา พลศึกษาไม่ได้มุ่งที่วัตถุประสงค์เฉพาะอย่างแต่มีวัตถุประสงค์โดยทั่วๆ ไปเช่นเดียวกับการเรียนวิชาอื่นๆ
               Bucher. (1964: 31) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา หมายถึงส่วนที่สำคัญของกระบวนการทางการศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาด้ายร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยใช้กิจกรรมทางพลศึกษาที่เลือกสรรแล้วเป็นเครื่องมือ
               Kirchner. (1983: 9) ได้ให้ความหมายในแง่ของการพลศึกษาสำหรับเด็กไว้ว่า พลศึกษา หมายถึงเครื่องมือพิเศษโดยใช้การเคลื่อนไหวเพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกด้านความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวของตัวเอง        
               William. (1930: 279)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า พลศึกษา คือกิจกรรมทางกายที่ได้เลือกสรรแล้ว และเมื่อประกอบจะได้รับผลตามมา คำว่ากิจกรรมทางกายที่เลือกสรรแล้วต้องเป็นความต้องการของจิตใจ และร่างกาย โดยประกอบด้วยกิจกรรมที่พัฒนาด้านสรีระการเจริญเติบโต ทักษะการทำงานของประสาท และกล้ามเนื้อ ความสนใจ ทัศนคติ และนิสัย ส่วนผลที่ตามมาคือ การนันทนาการ ความรับผิดชอบ และในที่สุดจะรวมเป็นสุขศึกษา และพลศึกษา
               Nixon.  (1985: 12)  กล่าวว่า พลศึกษาหมายถึง การศึกษาแขนงหนึ่งที่จะทำให้เกิดการพัฒนา เกี่ยวกับการ เคลื่อนไหว และการพักผ่อน ซึ่งเป็นผลให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และเกิดความรับผิดชอบสูงขึ้น นอกจากนี้พลศึกษายังทำให้คนได้ออกกำลังกาย ได้ฝึกร่างกายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ และวัฒนธรรม
               สรุปได้ว่า พลศึกษา หมายถึงกระบวนการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามและมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตใจโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่เลือกสรรแล้วเป็นสื่อในการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติโดยตรงด้วยตนเองเพื่อพัฒนาบุคคลให้ถึงพร้อมในทุกด้าน

         1.2 ความหมายของกีฬา

                     คำว่า "Sport" มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Desport หมายถึง "เวลาว่าง" ความหมายที่เก่าแก่ที่สุดในภาษาอังกฤษจากประมาณ ค.ศ. 1300 คือ "สิ่งใด ๆ ที่มนุษย์พบว่าน่าขบขันหรือเพลิดเพลิน" ต่อมาความหมายของคำว่า กีฬา (Sports or Games) อาจหมายถึงกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือเพื่อความแข็งแรงของร่างกายหรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต รวมไปถึงกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะหรือหลายสิ่งรวมกัน อยู่ที่วัตถุประสงค์ของการบริหารและการจัดการแข่งขันในครั้งนั้นๆ (https://th.wikipedia.org/wiki/กีฬา. 2559: ออนไลน์)
                 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2556: 132-133)  ให้ความหมายไว้ว่า กีฬา หมายถึง กิจกรรมหรือการเล่นที่มีกฎกติกากำหนด เพื่อความสนุกเพลิดเพลินผ่อนคลายความเครียด หรือเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และอาจใช้เป็นการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ เช่น ฟุตบอล ว่ายน้ำ หมากนรุก ปืนเขา และล่าสัตว์ เป็นต้น
                 การกีฬาแห่งประเทศไทย (2544: 11) ให้ความหมายไว้ว่า กีฬา เป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวและลีลาการเล่นภายใต้กติกาอย่างเป็นระเบียบโดยมุ่งหวังการแข่งขันหรือความสนุกสนานเพื่อเกิดประโยชน์ในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญามยุรี ถนอมสุข และชูเดช อิสระวิสุทธิ์ (2555: 60) ให้ความหมายไว้ว่า กีฬา หมายถึงกิจกรรมทางกายประเภทหนึ่งที่เราเลือกที่จะแข่งขันอย่างยุติธรรมโดยมุ่งให้ได้ชัยชนะ                 
                 วรศักดิ์ เพียรชอบ (2548: 121-122)  ให้ความหมายไว้ว่า กีฬา คือ กิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเพื่อความสนุกสนาน และเพื่อแสดงออกซึ่งความสามารถ และความสวยงามด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายในเวลาว่าง และให้เป็นไปตามกติกาหรือระเบียบที่ได้วางไว้โดยไม่หวังผลตอบแทนอย่างอื่นนอกเหนือจากผลที่เกิดขึ้นจากตัวของมันเองเท่านั้น
                 Grave (1960: 877; อ้างถึงใน; วรศักดิ์ เพียรชอบ (2548: 121-122) ให้ความหมายไว้ว่า กีฬา คือ กิจกรรมที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน ไม่ใช่งานหรือภาระที่ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่าย
                 Slusher (1969: 12; อ้างถึงใน; วรศักดิ์ เพียรชอบ (2548: 121-122)  ให้ความหมายไว้ว่า กีฬาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะทำให้มนุษย์มีทั้งความสนุกสนานและความเศร้า
                 Pavlich (1966: 9; อ้างถึงใน; วรศักดิ์ เพียรชอบ (2548: 121-122)  ให้ความหมายไว้ว่า กีฬา คือสิ่งที่ดึงความสวยและความสง่างามออกมาจากมนุษย์ในรูปแบบของการเคลื่อนไหว อาจจะมีการใช้กำลังของร่างกายมากหรือน้อยอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อนันทนาการในเวลาว่าง ซึ่งอาจจะเป็นในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้
                 สรุป กีฬา หมายถึง การเล่นเพื่อความแข็งแรงของร่างกายหรือเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน กีฬา เป็นคำที่หมายรวมถึงกิจกรรมการเล่นทั้งที่ต้องออกแรงเพื่อประโยชน์ของร่างกายและจิตใจ และที่ต้องใช้สมองเพื่อความเจริญของสติปัญญาทุกชนิด กีฬาเป็นการเล่นที่มักใช้แข่งขันกันจึงต้องมีกฎ และกติกาในการเล่น กีฬาบางชนิดต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น และมีสถานที่ที่ใช้เล่น เป็นการเล่นที่ใช้ฝึกร่างกายให้แข็งแรง ฝึกให้รู้จักการยอมรับกฎ ยอมรับกติกาในการเล่น ฝึกให้มีวินัย ฝึกให้รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
          1.3 ความหมายของนันทนาการ
                 นันทนาการ เป็นคำมาจากคำเดิมว่า "สันทนาการ" ซึ่งพระยาอนุมานราชธน หรือเสถียรโกเศศ ได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ. 2507 และตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Recreation" มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของนันทนาการไว้หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
                 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2556: 616)  ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่ทำตามสมัครใจในยามว่างเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด
                 การกีฬาแห่งประเทศไทย (2544: 9) ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ หมายถึง การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และทำให้เกิดความเพลิดเพลินโดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
                 สำนักนันทนาการ (2552: 3) )  ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นแรงจูงใจให้บุคคลเข้าร่วมปฏิบัติในช่วงเวลาว่าง (Leisure) ด้วยความสมัครใจ อันเป็นผลทำให้จิตใจ อารมณ์เบิกบาน มีความสุขสนุกสนาน มีพลังเกิดขึ้นมาใหม่ หลังจากอาการเมื่อยล้าทางร่างกาย สมอง และจิตใจ
                 วรศักดิ์ เพียรชอบ (2548: 121-122)  ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ เป็นสาขาวิชาการที่มุ่งจัดกิจกรรมขึ้นมาเพื่อให้บุคคลได้มีส่วนร่วมด้วยความสมัครใจในเวลาว่าง เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อให้มีความสดชื่นฟื้นคืนมาอีกครั้งหนึ่งโดยไม่หวังผลกำไรอื่นใด นอกจากผลที่เกิดขึ้นกับทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมอันเนื่องมาจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการนั้นๆ เท่านั้น
                 มยุรี ถนอมสุข และชูเดช อิสระวิสุทธิ์ (2555: 53) ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ หมายถึง เป็นวิธีการผ่อนคลายและให้ความเพลิดเพลินแก่ตนเองในยามว่าง
                 เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย  (2556: 15)  ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมเวลาว่างที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ มีคุณค่าสำหรับบุคคลที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจและส่งผลโดยตรง ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล
                 สมบัติ กาญจนกิจ (2540: 2). ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ หมายถึง กิจกรรม (Activities) ต่างๆ ที่บุคคลเข้าร่วมในช่วงเวลาว่าง โดยไม่มีการบังคับหรือเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ มีผลก่อให้เกิดการพัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนานหรือความสุขสงบ และกิจกรรมนั้นๆ จะต้องเป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปหัตกรรม การอ่าน-เขียน กิจกรรมอาสาสมัคร ศิลปวัฒนธรรม งานอดิเรก เกม กีฬา การละคร ดนตรี กิจกรรมเข้าจังหวะ และนันทนาการกลางแจ้งนอกเมือง      
                 Brightbill and Mayer (1975: 6)  ). ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลเข้าร่วมด้วยความสมัครใจในเวลาว่าง (Leisure Time) โดยมีความพอใจ หรือความสุขเป็นแรงจูงใจพื้นฐาน
                 Butler  (1959: 7) ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ เป็นความหมายเฉพาะ การเล่นจะเป็นความหมายที่เหมาะกับเด็ก ส่วนคนหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่ใช้คำว่านันทนาการจะเหมาะสมกว่า
                 Nash (1960: 10) ให้ความหมายไว้ว่า นันทนาการ หมายถึงการใช้เวลาว่างเพื่อประโยชน์คุณค่าในทางดีงามจากการเข้าร่วมในกิจกรรม
                 สรุป นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่ทำในเวลาว่างจากการทำภารกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การนอน การพักผ่อน โดยทุกกิจกรรมต้องทำด้วยความเต็มใจโดยไม่มีการบังคับ และเกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
2. ความสำคัญ
           2.1 ความสำคัญของพลศึกษา
                  นักการศึกษาหลายแขนงไดมองเห็นความสําคัญของพลศึกษาที่มีตอชีวิตของมนุษยทุกชวงของวัยไมวาจะเป็นวัยเด็ก วัยรุน วัยผูใหญ หรือแมแตวัยชราก็ตาม ถาหากไดสงเสริมใหมีกิจกรรมพลศึกษาอยางเหมาะสม ทุกชวงวัยตางๆ ดังกลาว จะช่วยให้การพัฒนาทางการเคลื่อนไหว และพัฒนาการดานอื่นๆ จะดีไปดวย ยกตัวอยาง เชน การสงเสริมใหเด็กไดรับกิจกรรมทางพลศึกษาอยางเหมาะสม จะทําใหเด็กมีรางกายเจริญเติบโต แข็งแรงมีสุขภาพจิตที่ดี พัฒนาการตางๆ เปนไปอยางรวดเร็ว ในทางตรงกันขามบุคคลที่ผานวัยผูใหญไปแลว แตยังไดรับกิจกรรมทางพลศึกษาอยางสม่ำเสมอ และตอเนื่อง จะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกายลงไดดีในการบริหารประเทศโดยใช้การศึกษาเป็นปัจจัยหลักนั้น แผนการศึกษาชาติทุกฉบับมักจะมุงเนนใหเกิดผสัมฤทธิ์ โดยรวมด้วยพื้นฐานทางการศึกษา 4 ดาน คือ
                   2.1.1 พุทธิศึกษามุงเน้นใหคนมีความรู วิชาการปัญญาเพื่อการดำรงชีวิต
                   2.1.2 จริยศึกษา มุงเน้นใหคนตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี เห็นแกประโยชนสวนรวม
                   2.1.3 พลศึกษา มุงเนนใหคนมีสุขภาพสมบูรณทั้งทางรางกายและจิตใจ และมีน้ำใจเปนนักกีฬา
                   2.1.4 หัตถศึกษา มุงเนนใหคนมีกิจนิสัย และมีความขยันหมั่นเพียรในการลงมือปฏิบัติงานเพื่อเปนรากฐานของการประกอบอาชีพ

             ขอบขายของกิจกรรมพลศึกษา
                กิจกรรมพลศึกษา ตองเปนกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาระบบอวัยวะของเด็กที่มีมาตั้งแตเกิด เชน การเดิน การวิ่ง การกระโดด ขวางปา หอยโหน ฯลฯ ใหมีการเจริญพัฒนาการอยางถูกตองสมสวน ดวยเหตุนี้กิจกรรมพลศึกษา จึงประกอบด้วยกิจกรรมดังตอไปนี้
                    1. เกม (Game) เปนกิจกรรมการเล่นอยางงายๆ ไมมีกฎกติกามากนัก มีจุดมุงหมายเพื่อความสนุกสนาน และชวยเสริมสรางความแข็งแรงของรางกายไดตามสมควร เกมบางประเภทสามารถนํามาใชกับผูใหญไดอยางสนุกสนาน
                    2. กิจกรรมกีฬา (Sport) เปนกิจกรรมใหญที่นิยมเลนกันอยางแพร่หลาย กิจกรรมกีฬาแบงออกเปนประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภทไดแก
                        2.1 กีฬาในรม (Indoor Sport) ไดแก่ประเภทกีฬาที่ไมเนนการเคลื่อนไหว
รางกายอยางหนัก แตจะเน้นเรื่องความสนุกสนาน และมักจะนิยมเล่นภายในอาคารหรือโรงยิม เชน
เทเบิลเทนนิส ยิมนาสติก เป็นต้น
                        2.2 กีฬากลางแจง (Outdoor Sport) ไดแก ประเภทกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่หนักและมักจะเล่นภายนอกอาคาร เชน ฟุตบอล ขี่มา พายเรือ วิ่ง เป็นต้น
                        2.3 กิจกรรมเขาจังหวะ (Rhythmic Activity) ไดแกกิจกรรมการเคลื่อนไหวรางกายโดยใชเสียงเพลงหรือดนตรีเปนสวนประกอบ

                        2.4 กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Body Conditioning) เปนกิจกรรมที่กระทําเพื่อรักษาหรือเสริมสรางรางกายใหแข็งแรง เชน การดึงขอ ดันพื้น ลุก-นั่ง เป็นต้น
                        2.5 กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor Activity) เปนกิจกรรมที่สงเสริมการเคลื่อนไหวรางกายโดยไปกระทําตามภูมิประเทศที่นาสนใจ เชน การปนเขา ทัศนาจร คายพักแรม เป็นต้น
                        2.6. กิจกรรมแกไขความพิการ (Adaptive Activity) เปนกิจกรรมการเคลื่อนไหวรางกายโดยมีจุดประสงคเพื่อรักษาความพิการทางรางกาย

           วัตถุประสงคของพลศึกษา
              1. พัฒนาความเจริญเติบโตทางดานรางกาย
                    1.1 พัฒนาระบบกลามเนื้อ ใหมีขนาดโตและมีความแข็งแรงมากขึ้น
                     1.2 พัฒนาระบบกระแสโลหิต ทําใหลดการสะสมของกรดแลกติก ซึ่งทําใหเกิดการเหน็ดเหนื่อยช้าลง
                    1.3 พัฒนาระบบเสนโลหิต ทําใหเสนโลหิตมีความยืดหยุ่นตัวดี
                    1.4 พัฒนาระบบหัวใจ ทําใหหัวใจมีขนาดโตขึ้น มีความแข็งแรงมากขึ้น อัตราการ
เตนของหัวใจต่ำลง
                     1.5 พัฒนาระบบความดันโลหิต ทําให้ความดันโลหิตปรกติ (120/80 มิลลิเมตรปรอท)
                     1.6 พัฒนาระบบหายใจ ทําใหปอดแข็งแรง อัตราการหายใจต่ำลง
                     1.7 พัฒนาความสัมพันธ์ระหวางระบบประสาทกับกลามเนื้อ ทําใหเกิดทักษะ (Skill)
                     1.8 พัฒนาระบบยอยอาหารและระบบขับถ่ายใหมีการทํางานอยางมีประสิทธิภาพ
              2. พัฒนาความเจริญทางดานจิตใจ
                     เสริมสรางความมีน้ำใจนักกีฬา เชน ความอดทน ความเสียสละ ความเอื้อเฟอเผื่อแผ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา เป็นต้น
              3. พัฒนาการทางดานอารมณ
                   เสริมสรางสมาธิ การควบคุมอารมณ ความสดชื่น สนุกสนาน เป็นต้น
              4. พัฒนาการทางดานสังคม
                    เสริมสรางการทํางานรวมกัน (Team Work) การเปนผูนําผูตามที่ดี การปรับตัว
เขากับสังคม เป็นต้น
               5. พัฒนาการดานสติปญญา
                    เสริมสรางความคิดริเริ่ม การตัดสินใจ การแกปญหาเฉพาะหนา ฝกไหวพริบและปฏิภาณ
         2.2 ความสำคัญของกีฬา
                พระบรมราโชวาท พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช 2530 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความว่า ในหลักการ การกีฬาเป็นสิ่งที่มีจุดประสงค์พื้นฐานที่จะส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและสามารถที่จะแสดงฝืมือในเชิงกีฬาเพื่อความสามัคคีและเพื่อให้คุณภาพของมนุษย์ที่ดีขึ้น มาเวลานี้การกีฬาก็นับว่ามีความสำคัญในทางอื่นด้วย คือ ในทางสังคมทำให้ประเทศชาติได้หันมาปฎิบัติสิ่งที่มีประโยชน์มีสุขภาพของร่างกายและของจิตใจ ทำให้สามารถที่จะอยู่เป็นสังคมอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจริญของบ้านเมืองและโดยเฉพาะในการกีฬาระหว่างประเทศก็ได้เพิ่มความสำคัญกับมนุษย์อื่นซึ่งอยู่ในประเทศอื่น ฉะนั้นกีฬามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชีวิตของแต่ละคนและชีวิตของบ้านเมือง ถ้าปฎิบัติอย่างถูกต้อง หมายความว่า อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถก็จะนำชื่อเสียงแก่ตน แก่ประเทศชาติ ถ้าปฎิบัติกีฬาด้วยความเรียบร้อยด้วยความสุภาพก็ทำให้มีชื่อเสียงเหมือนกัน และจะส่งเสริมความสามัคคีในประเทศชาติ
                การกีฬา มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านสุขภาพ และพลานามัย และด้านจิตใจ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กีฬาถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว และชุมชน ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก จะอาศัยกระบวนการของกีฬา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกในการดำรงชีวิตที่มีคุณธรรม มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น เป็นรากฐานที่ดีของสังคม องค์กรของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศจึงได้สนับสนุนให้มีการใช้กีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศตน กีฬา มีคุณลักษณะเฉพาะ คือ
                  2.2.1 มีความสนุกสนาน
                  2.2.2 มีความสุขเมื่อได้เล่น
                  2.2.3 มีเสน่ห์แห่งความท้าทาย(มี แพ้ มี ชนะ มีชนะ แล้วชนะอีก แพ้ก็มี)
                  2.2.4 มีความสามารถดึงดูดผู้ชม ผู้ดู และสื่อต่างๆ รวมทั้งผู้สนับสนุน สปอนเซอร์(เกิดเป็นรายได้ เกิดเป็นธุรกิจกีฬา)
                  2.2.5 สามารถ ดึงดูดผู้ชมได้ทั่วทั้งโลก(เช่น.การแข่งขันฟุตบอลโลก,การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก) ทำให้เกิดสมาชิก และแฟนคลับตามมา กีฬาเป็นสิ่งดึงดูดใจของคนทั่วทั้งโลกได้ สามารถแทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวัน โดยไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว หรือเพศ หรือวัย
                 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา ( 2560: 3) ได้กล่าวถึงความสำคัญของกีฬา ไว้ว่า
                 1. กีฬาช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และคุณธรรม ดังนี้
                       1.1 ช่วยพัฒนาการทางกาย ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีสมรรถภาพในการทำงานสูง ทำให้ทรวดทรงดี มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำ เพราะการฝึกซ้อมจะต้องใช้อวัยวะเกือบทุกส่วน จึงเป็นส่วนช่วยให้ทรวดทรงสง่างามสมชายชาตรี
                       1.2 ช่วยพัฒนาการทางอารมณ์ การออกกำลังกาย การฝึกซ้อม การแข่งขันและการต่อสู้ของกีฬานั้นจะพบทั้งความผิดหวังและสมหวัง รวมทั้งความเจ็บปวดด้านร่างกาย นักกีฬาจึงต้องมีความอดทน อดกลั้นเป็นอย่างดีจึงจะสามารถเป็นนักกีฬาที่ดีได้
                       1.3 ช่วยพัฒนาการทางจิตใจ คุณธรรม ขบวนการของกีฬามีการนับถือผู้ประสิทธิ์วิทยาการทางกีฬา ให้การเคารพนับถือผู้ที่มีวุฒิภาวะสูงกว่า การรู้จักเสียสละ กำลังกาย กำลังใจเพื่อคนอื่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม การมีมารยาท มีระเบียบวินัย กล้าหาญ อดทน มีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย การฝึกหัดกีฬาและลงแข่งขันเป็นประจำทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้ มีไหวพริบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
                     2.  กีฬามีความสำคัญต่อชุมชนและสังคม
                            กีฬาเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายส่วนบุคคลและเป็นการออกกำลังกายร่วมกับหลายๆ คนได้ อาจใช้กีฬาเพื่อการเล่นสนุกสนานและจัดการแข่งขันกีฬาในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น งานเทศกาลประเพณี กิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาจึงเป็นสื่อสัมพันธ์ของคนในชุมชน กีฬาช่วยพัฒนาการทางสังคม กีฬาเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยด้านหนึ่ง ผู้ฝึกหัดกีฬาก็เสมือนผู้รักษา ทำนุบำรุงและดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ทั้งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวโน้มน้าวให้ชาวไทยรักหวงแหนและสามัคคีในหมู่คณะ อันเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้ประเทศชาติมีความมั่นคงสืบไป อันเป็นทางที่จะพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า
                      3. กีฬาสำคัญต่อประเทศชาติ
                         กีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยคือ กีฬามวยไทยมีส่วนสำคัญในการดำรงเอกราชของชาติไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเพราะกีฬามวยไทยช่วยให้การรบของทหารไทยได้เปรียบคู่ต่อสู้ โดยเฉพาะในระยะประชิดตัว ทหาร ตำรวจไทยจึงได้รับการฝึกฝนเรื่องมวยไทยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มวยไทยแพร่หลายทำให้ชาวต่างชาติรู้จักคนไทย นิยมยกย่องในความสามารถด้านมวยไทยโดยจ้างให้เป็นผู้ฝึกสอนช่วยให้คนไทยมีงานทำ ทำรายได้ให้ประเทศไทยอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี                   
                      4. กีฬาช่วยทำให้ชาติมั่นคง
                         กีฬายังเป็นเอกลักษณ์ เป็นวัฒนธรรมและวัฒนธรรมคือความมั่นคงของชาติ กีฬาจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชาติไทยมั่นคง ไม่ว่าคนไทยจะไปอยู่ที่ใดก็จะนำกีฬาประจำชาติไทย เช่น มวยไทยและตะกร้อไปฝึกปฏิบัติ เผยแพร่และสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่คนไทยด้วยกัน นอกจากนั้นกีฬาช่วยให้เกิดสวัสดิภาพแก่บุคคลและสังคม เช่น ทักษะมวยไทยเป็นศิลปะป้องกันตัว เมื่ออยู่ในสังคมใดก็สามารถใช้ศิลปะมวยไทยป้องกันอันตราย ที่เกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมได้ ทำให้สังคมนั้นมีความเจริญก้าวหน้า มีสวัสดิภาพและความมั่นคง ทั่งยังยึดเป็นอาชีพที่มั่นคงและทำรายได้ให้กับตนเองและก่อรายได้เข้าประเทศอีกด้วย
           2.3 ความสำคัญของนันทนาการ
                 ในภาวะสังคมปัจจุบัน นันทนาการมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากขึ้นทุกขณะ สรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
                   2.3.1 ความสำคัญต่อตัวเราเอง คนทุกคนหากได้แสดงออก ได้พูดจา ได้ร้องเพลง ได้ออกกำลังกาย ได้พักผ่อน ได้พักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติ ฯลฯ จะมีความปิติสุข มีความสนุกสนาน อารมณ์แจ่มใส ไม่เครียด สุขภาพก็จะดีพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ กิจกรรมเหล่านั้นเป็นองค์ประกอบของนันทนาการทั้งสิ้น และเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง
                    2.3.2 ความสำคัญต่อระบบสังคม สังคมเกิดจากการรวมตัวของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ต้องอาศัยคนกระทำให้มีการเคลื่อนไหวไปมา ด้วยการผูกพันโยงใยต่อเนื่องเป็นโครงสร้างตั้งแต่เล็ก เช่น ในครอบครัว ในหมู่เพื่อนฝูง จนกระทั่งโตเป็นระดับองค์กร หากองค์กรใดมีความซับซ้อนมากปัญหาก็จะยิ่งเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะปัญหาจิตใจ เช่น จิตใจเป็นพิษเพราะเกิดมลภาวะทางจิต (Mind Pollution) ทำให้ศักยภาพการทำงานลดลงอย่างรวดเร็ว คนในองค์กรขาดคุณภาพ มีปัญหาการขัดแย้ง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ในสังคม ผลกระทบที่ตามมาคือโครงสร้างของสังคมและพฤติกรรมสังคมจะเกิดการเบี่ยงเบนทันที ความสุขและการมีสุขภาพดีทั้งส่วนบุคคล ส่วนรวม และสภาพแวดล้อมทางสังคมนั้นเกิดได้จากการกระทำกิจกรรมทางนันทนาการ เพราะการมีสุขภาพจิตดีจะมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับความสามารถและเจตจำนงค์ของการเข้าร่วมกิจกรรม
            ดังนั้นสังคมจะเป็นสุข สง่างามและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องสวยงาม ก็ด้วยผลจากการมีกิจกรรมนันทนาการทั้งสิ้น ซึ่งกิจกรรมนันทนาการนั้นมีมากมายดังที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ ประเภทของการนันทนาการ (http://sweetminnielovely.exteen.com/20091203/entry-1. 2560: 1)
          สรุปได้ว่า พลศึกษา กีฬาและนันทนาการ เป็นการศึกษาเล่าเรียนในการบำรุงร่างกายด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีสุขภาพดี ซึ่งเด็กทุกคนควรจะได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพ เพื่อจะได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีเจตคติ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม รวมทั้งมีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นกิจนิสัย อันจะส่งผลให้สังคมโดยรวมมีคุณภาพ ส่วนกีฬาเป็นการเรียนรู้ด้านการฝึกซ้อม แข่งขันเพื่อสุขภาพ พัฒนาทักษะชีวิต ซึ่งส่งผลเกื้อหนุนสุขภาพของผู้เรียน สุขภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากเด็กๆได้เรียนรู้หลักการต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ จะทำให้เด็กมีความรู้ เจตคติ มีการปฏิบัติกีฬาที่ดีและถูกต้อง ทั้งยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอีกด้วย การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เด็ก จึงเป็นการช่วยให้เด็กได้เรียนรู้หลักการเกี่ยวกับสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่มและจะนำไปดัดแปลงใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเองและครอบครัวได้เร็วและมากยิ่งขึ้น เป้าหมายของพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ คือ การสอนให้เด็กเกิดความรู้ เจตคติและการปฏิบัติที่ดีต่อสุขภาพ เกิดสุขภาวะองค์รวม คือ ภาวะที่หมดทุกข์และมีสุข

2. ความสัมพันธ์ของพลศึกษากับกีฬา              

        2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้พลศึกษาเพื่อออกกำลังกายและการเล่นกีฬา (ในที่นี้ขอกล่าวถึงในส่วนของการใช้พลศึกษาในการออกกำลังกาย) ดังนี้

               การใช้พลศึกษาในการออกกำลังกายและการกีฬามีความหมายแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าผลต่อร่างกายในตอนท้ายจะได้รับคล้ายคลึงกัน ซึ่งการให้ความหมายของคำทั้งสองคำว่าจะหมายถึงอะไรนั้นก็ขึ้นอยู่ที่จุดประสงค์ของการอธิบายเพราะคำทั้งสองคำสามารถอธิบายด้วยเหตุผลกว้างขวางมาก จึงขออธิบายขอบข่ายและองค์ประกอบของคำทั้งสองคำเพื่อความเข้าใจดังนี้
             2.1.1 การเล่นกีฬา หมายถึง กิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเพื่อความสนุกสนานและเพื่อแสดงออกซึ่งความหมายและความสวยงามด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายในเวลาว่างและให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบที่วางไว้ทั้งนี้โดยไม่หวังผลตอบแทนอย่างอื่น นอกจากผลที่เกิดจากกิจกรรมในตัวมันเอง ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
                      1) กีฬาเป็นกิจกรรมที่ทำด้วยความสมัครใจ เล่นในยามว่างตามความพอใจ ไม่มีใครบังคับจะเริ่มเล่นหรือเลิกเมื่อใดก็ได้ ยกเว้นผู้ที่ยึดกีฬาเป็นอาชีพเท่านั้น
                        2) กีฬาเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะที่เล่นเฉพาะของมัน เช่น สนามฟุตบอล สระว่ายน้ำ  สนามมวย เป็นต้น โดยปรกติจะมีกฎกติกาและระเบียบการเล่นกำหนดไว้
                        3) การกีฬามักจะมีการแข่งขันเพื่อแพ้-ชนะ ผู้ชนะจะฝึกซ้อมต่อเพื่อรักษาสถานะของตนเองไว้ในคราวต่อไปและผู้แพ้ก็จะพยายามฝึกฝนเพื่อให้ได้ชัยชนะในคราวหน้า
                       4) การกีฬาเป็นการฝึกนักกีฬาให้อยู่ในสังคมมนุษย์ได้อย่างมีความสุขเพราะกีฬาส่งเสริมให้ผู้เล่นมีการพัฒนาทางกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม โดยเฉพาะการกีฬาเมื่อจัดระบบให้ดีจะส่งเสริมคุณธรรมให้สูงส่งด้วย
                       5) ในปัจจุบันนอกจากจะนิยมเล่นกีฬา คนทั่วไปยังนิยมที่จะเป็นผู้ดูกีฬาด้วย ทำให้อธิบายได้ว่ากีฬาสามารถทำให้นักกีฬาถือเป็นอาชีพ หารายได้ให้ตัวเองและครอบครัว โดยไม่ต้องมีภารกิจใดๆ นอกจากมีหน้าที่ฝึกซ้อมกีฬาให้แข็งแกร่งเสมอก็ยึดเป็นอาชีพถาวรได้
              2.1.2 การใช้พลศึกษาในการออกกำลังกาย หมายถึง การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวให้แก่ร่างกายจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย เช่น ความแข็งแรง ความทนทานของกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิต ความสมส่วนของร่างกาย ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นเป็นกิจกรรมที่ตนเองเข้าร่วมโดยไม่มีผู้ใดบังคับ ไม่มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบใดๆ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของตนเอง
                      ดังนั้นจากความหมายของการกีฬาและการใช้พลศึกษาในออกกำลังกายจะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายนั้นมีความหมายกว้างขวางมาก ถ้าจะพิจารณาให้ดีการกีฬาเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกายก็คงไม่ผิด นอกจากจุดมุ่งหมายบางประการอาจจะชี้ความแตกต่างได้ สำหรับประเภทของการออกกำลังกายนั้น อธิบายได้หลายลักษณะ เช่น การออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั่วไป สำหรับผู้ป่วยและสำหรับนักกีฬาหรือการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายแบบแอนแอโรบิก (Anaerobic Exercise) และแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) เป็นต้น

         2.2 หลักการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ

               การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้า จึงจะทำให้ประสบผลสำเร็จ มีผู้คนเป็นจำนวนมากออกกำลังกายโดยไม่มีวัตถุประสงค์ เพียงแต่ใช้เวลาว่างเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย เมื่อมีภารกิจอื่นๆ ก็จะหยุดไป ทำให้การออกกำลังกายขาดตอน ไม่ได้ผลตามที่ควรจะเป็น การออกกำลังกายจะต้องวางหลักเกณฑ์ดังนี้
              2.2.1 ขั้นตอนการตรวจสุขภาพและประวัติส่วนตัว โดยปรกติจะเป็นภารกิจของแพทย์และพยาบาลในการตรวจสุขภาพว่ามีโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกายหรือไม่ นอกจากนั้นก็ควรจะบันทึกประวัติของผู้ออกกำลังกายด้วย หัวข้อที่ควรนำมาประกอบลงในบัตรบันทึกประจำตัวควรมีดังนี้
                       1) ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปี เกิด
                       2) สถานภาพการประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัยที่ติดต่อได้ง่าย
                       3) สถานภาพทางสรีรวิทยา น้ำหนัก ส่วนสูง ชีพจรขณะพัก และความดันโลหิต
                       4) ประวัติการเป็นนักกีฬา  หรือกีฬาที่เคยเล่น / แข่งขัน
                       5) ผลของการประเมินโดยแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อค้นพบข้อบกพร่อง แพทย์จะห้ามออกกำลังกายอย่างหนักหรือห้ามเล่นหรือออกกำลังกายในกีฬาประเภทรุนแรง หรือปะทะเป็นบางครั้ง ได้แก่  ข้อบกพร่องดังต่อไปนี้
                            5.1) ความผิดปกติทางระบบประสาท  เช่นการมีช่องโหว่ของกระโหลก เนื่องจากการผ่าตัดในอดีต การมีประวัติลมชักย้อนหลัง 12 เดือน ผู้ที่เคยมีประวัติหมดสติชั่วขณะ เนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือน
                               5.2) ความบกพร่องของอวัยวะคู่ เช่น ตาบอดไปแล้วข้างหนึ่ง ผู้เป็นโรคจอตาลอกขาพิการข้างใดข้างหนึ่ง ไตหรืออัณฑะผิดปกติข้างหนึ่ง
                              5.3) อวัยวะภายในโตผิดปกติ ได้แก่ ภาวะของไต ตับ หรือม้าม
                            5.4) ภาวะติดเชื้อฉับพลัน บริเวณไต กระดูก ข้อ ปอด วัณโรค การเป็นหูน้ำหนวก  ควรงดว่ายน้ำ หรือดำน้ำ นอกจากนั้นผู้ที่เป็นโรคผิวหนังพุพองควรหยุดรักษาให้หายเสียก่อนจึงจะออกกำลังกายได้
                              5.5) ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง และเชิงกรานเช่น ภาวะกระดูกสันหลังเลื่อนหมอนกระดูกสันหลังแตก การอักเสบของข้อต่อสะโพก เป็นต้น
                              5.6) โรคหืด ในรายที่ควบคุมไม่ได้จะต้องงดหรือหยุดรักษาให้หาย ในรายที่เกิดจากการออกกำลังกายหรือมีอาการไม่มาก การออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำอาจจะช่วยให้ภาวะนี้ดีขึ้น
                              5.7) ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ ภาวะของโรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจตีบ ความดันปอด เป็นต้น
          2.3 การตั้งเป้าหมายของการออกกำลังกาย เป็นขั้นตอนที่ผู้ออกกำลังกายจะต้องพิจารณาว่ามีความต้องการระดับใด เพราะบางคนเพียงเพื่อพักฟื้นการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การแก้ไขข้อบกพร่องของอวัยวะที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเป็นการกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตามการตั้งเป้าหมายนั้นจะต้องเข้าใจโครงสร้างของสมรรถภาพเพื่อสุขภาพว่าควรจะมีขอบข่ายเพียงใด ได้มีการวิเคราะห์ว่าสมรรถภาพทางกายควรแบ่งแยกเป็น 2 ลักษณะคือ สมรรถภาพทางกายสำหรับนักกีฬา และสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ
                 2.3.1 ความแข็งแกร่งและความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength)
                 2.3.2 ความทนทานของหัวใจและปอด (Cardio–Vascular Endurance)
                 2.3.3 ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ (Flexibility of Muscle and Joint)
                 2.3.4 ความสมส่วนของร่างกาย (Body Composition)
              ดังนั้น การตั้งเป้าหมายเพื่อความมีสุขภาพดีจะต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกันเป็นอย่างดี เช่น  หากจะฝึกความแข็งแรงก็ใช้อุปกรณ์ที่ส่งเสริมความแข็งแรงคือ การฝึกโดยใช้น้ำหนัก การยกของ การเดินเร็ว วิ่งขึ้นที่สูง เป็นต้น การฝึกเพื่อความทนทานของหัวใจปอด ก็จะใช้กิจกรรมประเภทแอโรบิก (Aerobic Exercise) เช่น การวิ่ง เดิน ว่ายน้ำระยะกลาง ไกล จักรยานทางไกล ก่อนหรือหลังการออกกำลังกายหลักทุกครั้ง ส่วนการออกกำลังกายเพื่อควบคุมขนาดความเหมาะสมของร่างกายก็จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารอย่างถูกวิธีควบคู่กับการออกกำลังกายไปด้วย
2.3 การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมสำหรับการออกกำลังกายจะเป็นกิจกรรมใดจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ การเลือกกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงวัยของผู้ออกกำลังกาย นอกเหนือจากความสนใจ ความต้องการและทัศนคติต่อกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น ตามหลักการทั่วไปของการออกกำลังกายแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                  2.3.1 การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค (Anaerobic Exercise) หมายถึง การออกกำลังกายที่ใช้ช่วงเวลาไม่นานก่อนที่จะหยุดพักหรือเพื่อรอในรอบต่อไป ความรุนแรงค่อนข้างมาก มีความหนัก  และความเร็วมาเกี่ยวข้อง การออกกำลังกายแบบนี้ได้แก่การวิ่งระยะสั้น การวิ่งขึ้นอัฒจันทร์ เนินเขาเตี้ย ๆ การปั่นจักรยานเร็วๆ การว่ายน้ำแบบสปริ๊นท์ การยกน้ำหนัก การดึงข้อ การดันพื้น การวิ่งซิกแซก  หรือการเล่นกีฬาบางประเภท เช่น การเล่นแบดมินตัน เทนนิส การตีกอล์ฟ การเกร็งกล้ามเนื้อ การเล่นฟุตบอล เป็นต้น การออกกำลังกายชนิดนี้ถ้าก็จะกลายเป็นการฝึกอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียกตามแบบที่ 2 ในหัวข้อต่อไป
                  2.3.2 การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) หมายถึง การออกกำลังกายชนิดที่กำหนดขนาดความเข้มข้นให้เบาลงและฝึกให้นานขึ้นเพื่อจะกระตุ้นให้หัวใจ และปอดต้องทำงานมากขึ้นถึงจุด ๆ หนึ่ง และด้วยระยะเวลานานพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จุดมุ่งหมายของการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิกก็คือ ทำให้ร่างกายได้ใช้ออกซิเจนสำหรับสร้างพลังงานในการออกกำลังกายมากเท่าที่ร่างกายจะรับได้ แต่จะต้องให้มีความพอดีกับปริมาณออกซิเจนที่รับเข้าไป กล่าวคือหากกิจกรรมหนักมาก ออกซิเจนที่หายใจเข้าไปไม่พอสำหรับการสร้างพลังงานขณะนั้นร่างกายจะติดหนี้ไว้เรียกว่าการเป็นหนี้ออกซิเจน (Oxygen Indebt)  ทำให้การออกกำลังกายที่เปลี่ยนไปนี้กลายเป็นการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิก ซึ่งจะทำให้ผิดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิก ดังนั้น การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิก (Aerobic Exercise)  จะต้องควบคุมความพอดีระหว่างการใช้งาน (พลังงาน) กับการสร้าง (โดยปริมาณออกซิเจน) ให้สมดุลกัน  ขณะออกกำลังกายแบบแอโรบิก ระบบการทำงานของหัวใจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการกล่าวคือ
                            1) ระบบหายใจเร็วขึ้น ถี่และแรงขึ้น เพื่อนำเอาออกซิเจนสู่ร่างกายให้มากกว่าภาวะปกติเพื่อส่งเสริมการสร้างพลังงานในกล้ามเนื้อและการขับของเสียออกจากร่างกายด้วยการหายใจ
                              2) หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไหลเวียนสู่กล้ามเนื้อ และปอดเพราะขณะออกกำลังกาย กล้ามเนื้อต้องการเลือดเพิ่มกว่าปกติหลายเท่า ประมาณ 5-10 เท่า ตามความหนักของการออกกำลังกาย
                             3) หลอดเลือดทุกส่วนมีการขยายตัวตั้งแต่หลอดเลือดใหญ่ ถึงหลอดเลือดฝอยและหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำทุกเส้น การประกอบกิจกรรมบางอย่างซึ่งเป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  หลอดเลือดบางส่วนไม่มีโอกาสขยายตัวเพราะภาวะการใช้เลือดไม่มีความจำเป็นอย่างรีบด่วน ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวเป็นอย่างมาก จากเหตุผลดังกล่าว จะเห็นว่าการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิกและแบบแอโรบิกมีวิธีการที่แตกต่างกัน ต่างมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสองแบบโดยแบบแอนแอโรบิกจะส่งเสริมให้ร่างกายมีความแข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อ ส่วนแบบแอโรบิกส่งเสริมให้ร่างกายมีความทนทานในระบบไหลเวียนโลหิต คือการทำงานของหัวใจ และปอด ดังนั้นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเพื่อสนององค์ประกอบของสมรรถภาพเพื่อสุขภาพทั้ง 4 ประการ จึงควรเลือกการออกกำลังกายทั้งสองแบบพร้อม ๆ กันแต่ให้มีความเหมาะสมกับเพศ วัย ความต้องการ และความสนใจ ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไปนี้
        2.4 หลักการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับบุคคลวัยต่างๆ
              2.4.1 กิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับเด็กวัยต่างๆ
                       1) เด็กในวัยก่อนเข้าเรียน ในวัยนี้ควรยึดหลักความต้องการพื้นฐานของเด็ก โดยเฉพาะทางอารมณ์ จิตใจ และสังคม ควรส่งเสริมให้มีการประกอบกิจกรรมร่วมกัน และมีอิสระใน
การเคลื่อนไหว หรือออกกำลังตามความพอใจ ควรกระตุ้นให้เด็กสนใจต่อกิจกรรม การการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยนี้คือ การใช้อุปกรณ์ และสิ่งของเล็กๆ ใช้เกมง่ายๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้เด็กสนใจ และมีส่วนร่วมในการออกกำลังกาย โดยใช้กฎกติกาง่ายๆ เช่น เกมเกี่ยวกับการวิ่ง การใช้ลูกบอล และการเล่นต่างๆ  ควรมีการเปลี่ยนสถานที่บ้างเท่าที่จะทำได้เช่น บริเวณสนามหญ้า เฉลียง ระเบียง ห้องนั่งเล่นหรือกลางแจ้ง หากเป็นไปได้ควรจัดสถานที่ให้เป็นที่ลาดชัน ที่เนิน ต้นไม้ หรือกระบะทราย
                        2) เด็กในวัยเริ่มเข้าเรียน (6-10 ขวบ) กิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้ควรจัดให้เป็นไปในแนวทางที่สามารถนำไปสู่เกมหรือการเล่นในระดับที่สูงขึ้นไปอีก เช่น การใช้ทักษะง่ายๆ ไปสู่การเล่นที่มีเทคนิคต่างๆ จากแบบฝึกง่ายๆ ไปสู่การเล่นหรือการฝึกฝนเพื่อการแข่งขัน โดยทั่วไปเด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านการที่จะตรวจสอบตนเองว่ามีความสามารถในการเคลื่อนไหวได้มากน้อยหรือดีเพียงใด  วิธีการออกกำลังที่เหมาะคือการเล่นอย่างมีระเบียบวิธีและเกมต่าง ๆ โดยเฉพาะที่สามารถนำจากสิ่งที่รู้แล้วไปยังสิ่งที่ยังไม่รู้หรือไม่สามารถต่อไปได้ จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก และจากสถานการณ์ง่ายๆ ไปสู่สถานการณ์ที่ยากมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีความสามารถมากขึ้น นอกจากนี้ควรแนะนำส่งเสริมให้เด็กเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า ทั้งนี้จะเป็นการช่วยให้เด็กรู้จักการเสียสละ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทำให้เกิดการปลูกฝังความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา รูปแบบของการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมก็คือ ให้จับคู่  จัดกลุ่ม ตามความสนใจและความสามารถ เป็นต้น
                        3) เด็กในวัยเริ่มเข้าวัยรุ่น (10-14 ปี) เด็กวัยนี้มีความพร้อมทางร่างกายในการที่จะเล่นกีฬาที่ใช้การแข่งขันบางอย่างได้แล้ว เช่น ยิมนาสติก ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส เป็นต้น ร่างกายของเด็กในช่วงนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีอีกหลายด้านที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอดทน แต่ถ้าจะเลือกเล่นกีฬาควรให้เด็กเลือกด้วยตัวเขาเอง การแข่งขันก็สามารถกระทำได้ แต่ควรเป็นการแข่งขันในวัยเดียวกัน และมีกำหนดเวลา หรือการลดแต้มเป็นสัดส่วนจากผู้ใหญ่ เช่น ฟุตบอลใช้เวลาแข่งไม่เกินครึ่งละ 30 นาที ขนาดสนามเล็กกว่าปกติ เทนนิสก็แข่งขันเอาชนะกันเพียง 2 ใน 3 เกม เป็นต้น เด็กวัยนี้เริ่มมีความแตกต่างในเรื่องเพศอย่างเห็นได้ชัด  สมรรถภาพทางร่างกายของเด็กชายจะเริ่มสูงกว่าเด็กหญิงในเกือบทุกด้าน  ดังนั้นจึงควรแยกกิจกรรมที่ใช้การแข่งขันออกจากกัน
                        4) การออกกำลังกายและกีฬาสำหรับวัยหนุ่มสาว ช่วงที่ดีที่สุดของชีวิตในการฝึกกีฬา คือช่วงอายุ 15-25 ปี เพราะวัยนี้ชีวิตได้ผ่านประสบการณ์มาพอสมควร ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมที่จะฝึกทักษะทุกด้าน และทักษะที่ฝึกนี้จะพัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นความเจริญเติบโตและพัฒนาการจะลดลง ร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพไปในที่สุด นักกีฬาระดับโลกนั้นมักจะแพ้สังขารมากกว่าฝีมือ ทำให้มีนักกีฬาหน้าใหม่ และคลื่นลูกใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คนที่เล่นกีฬาเสมอจะได้เปรียบคนทั่วไปตรงที่กีฬาช่วยชะลอความชรา และยืดอายุ ทำให้แก่ช้าหรือแก่อย่างสง่างาม สำหรับเยาวชนในช่วงอายุ 15-25 ปี นี้มีความแตกต่างทางจิตวิทยา และสรีรวิทยา สามารถจำแนกออกเป็น 3 ช่วงอายุคือ ช่วงอายุ 15-16 ปี ช่วงอายุ 17-20 ปี และช่วงอายุ 21-25 ปี ดังนี้
                        4.1) พัฒนาการและการเจริญเติบโตของบุคคลในวัย 15-16 ปี
                               ) พัฒนาการทางร่างกาย วัยนี้เยาวชนเป็นวัยรุ่นเต็มตัว หญิงกับชายจะมีความแตกต่างทางร่างกายอย่างชัดเจน เยาวชนชายจะเจริญเติบโตมากว่า สูงกว่า และแข็งแรงกว่าเยาวชนหญิง ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของขนาด รูปร่าง ความสูง น้ำหนัก หัวใจ ปอด ลำไส้ กระเพาะอาหาร ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และการเผาผลาญของร่างกาย แต่การเจริญเติบโตของกระดูกยังไม่แข็งแรงมากถึงที่สุด กิจกรรมออกกำลังกายหรือกีฬาบางอย่างอาจเกิดอันตรายต่อกระดูกและข้อต่อ อย่างไรก็ตามในวัยนี้กล้ามเนื้อระบบประสาททำงานประสานกันดีขึ้น
                               ข) พัฒนาการด้านสติปัญญา เยาวชนเริ่มเข้าใจสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้มีสติปัญญาความคิดการใช้เหตุผล ความจำดีขึ้น อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นที่จะปรับปรุงความสามารถของตน เริ่มทำกิจกรรมตามความสามารถของตนเองได้
                               ) พัฒนาทางด้านอารมณ์ อารมณ์ของเยาวชนในวัยนี้จะรุนแรงกว่าวัยเด็กจะทำให้ได้ดั่งใจตัวเอง ใจร้อน วู่วาม ตัดสินใจรวดเร็วกระทันหัน ไม่มีการพิจารณาให้รอบคอบเอาแต่ใจตนเอง ชอบแสดงออก มีความรู้สึกไวต่อความเห็นของผู้อื่น มีความรู้สึกนึกคิดเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ยอมรับผิดเมื่อตนผิด ใจกว้าง อดทน ชอบใช้กำลัง ชอบแสวงหานักกีฬาที่มีความเก่งกล้า ชอบมีหัวหน้าทีมและยอมตนเป็นลูกน้อง เริ่มสนใจเพศตรงข้าม ควรจัดกิจกรรมกีฬาที่เยาวชนชาย และหญิง มีส่วนเล่นร่วมกันได้เช่นกิจกรรมเข้าจังหวะ ลีลาศ กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมที่แยกกันเล่น เช่น บาสเกตบอล  วอลเล่ย์บอล นอกจากนี้กีฬาหรือกิจกรรมที่เล่นจะต้องท้าทายความสามารถ
                               ) พัฒนาการด้านสังคม เยาวชนวัยนี้ชอบอิสระ เป็นผู้ใหญ่ขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น ต้องการแสดงออก มีความรับผิดชอบ ต้องการให้ตนเป็นที่รู้จักของหมู่คณะด้วยการเล่นกีฬา และพยายามเล่นกีฬาให้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อนฝูง และคนทั่วไป จึงพยายามทุกทางที่จะเอาชนะใจเพื่อน ชอบเลียนแบบนักกีฬาที่มีชื่อเสียงหรือดาราในทีม ต้องการเล่นในหมู่พวก ต้องการสร้างมาตรฐาน ความประพฤติที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ชอบให้ผู้ใหญ่ใช้อำนาจบังคับ มีปฏิกิริยาสนองตอบต่ออิทธิพลของครูอาจารย์ และหัวหน้ากลุ่มดีกว่าพ่อแม่ บางครั้งเข้าข้างผู้ที่ตนสรรเสริญ มีความรัก ซื่อสัตย์และพยายามปรับตัวให้เข้ากับหมู่คณะ มีความต้องการฐานะทางสังคม ต้องการเป็นผู้นำในสังคม
                        4.2) พัฒนาการและการเจริญเติบโตของบุคคลในวัย 17-20 ปี
                                ) พัฒนาการทางร่างกาย เยาวชนวัยนี้เป็นวัยรุ่นตอนปลาย เมื่อพ้นวัยจะเป็นวัยผู้ใหญ่แล้ว ร่างกายจะค่อยๆ เจริญเต็มที่ การแบ่งแยกหน้าที่ของกล้ามเนื้อต่างๆ ตลอดจนบุคลิกลักษณะที่ดูเคอะเขินเข้ารูปเข้ารอย เป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้นตามลำดับ ร่างกายมีความแข็งแรง  อดทน สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                               ) พัฒนาการทางสติปัญญา มีความคิดที่แน่นอนมั่งคงยิ่งขึ้น สามารถแก้ปัญหา และเผชิญกับความยุ่งยากได้ดี มีความรอบคอบและสุขุมมากขึ้น ยอมรับสภาพ และความเป็นจริงตามธรรมชาติ การร่วมกิจกรรมจะช่วยให้วัยนี้ก้าวไปสู่ความเจริญทางวุฒิภาวะมากขึ้น
                               ) พัฒนาการทางอารมณ์ มีอารมณ์สุขุมกว่าวัย 15-16 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงออกทางอารมณ์เยาวชนจะเรียนรู้ในการระงับและอดกลั้น ลักษณะการแสดงออกแบบเด็กๆ จะค่อยๆ หมดไป
                               ) พัฒนาการทางสังคม มีการคบเพื่อนต่างเพศ เพศเดียวกันมักจะมีการเลือกและคบกันอย่างสนิทสนมมากกว่าแต่ก่อน มีการวางตัว มีการปรับตนเองให้เข้ากับความต้องการทางสังคมและสภาพความเป็นจริง นอกจากนี้ยังเป็นระยะที่เยาวชนได้พัฒนาความคิดอ่าน มีเหตุผล และความสนใจให้เข้ารูปรอยยิ่งขึ้นทุกขณะ เยาวชนวัยนี้จะพัฒนาความสนใจของตนให้สอดคล้องกับความคาดหมายของสังคมส่วนใหญ่ และเป็นไปตามลักษณะที่เหมาะสมทางเพศ
                        4.3) พัฒนาการและการเจริญเติบโตของบุคคล 21-25 ปี
                               วัยนี้เป็นการสิ้นสุดวัยรุ่น และเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นวัยที่มีวุฒิภาวะหรือการเจริญเติบโตทางกายพัฒนาเต็มที่ อวัยวะทุกส่วนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี  มีความอดทนทั้งด้านร่างกายและทางจิตใจ มีความรับผิดชอบสูง
               2.4.2 การออกกำลังกายและกีฬาในคนสูงอายุ
                        1) หลักการออกกำลังกายตามระดับอายุ
                           1.1) ชายอายุ 30-45 ปี และหญิงอายุ 25-40 ปี การออกกำลังกายประเภทยังสามารถทำได้ แต่ลดความหนัก ความนาน และความถบ่อยลงบ้าง ชีพจรสูงสุดขณะออกกำลังกายไม่ควรเกิน  150-140 ครั้งต่อนาที ความบ่อยควรเป็น 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งนาน 1-1.30 ชั่วโมง
                            1.2) ชายอายุ 46-60 ปี และหญิงอายุ 41-55 ปี การออกกำลังกายหนักไปในทางด้านความอดทน ชีพจรสูงสุดขณะออกกำลังไม่ควรเกิน 140-130 ครั้งต่อนาที
                            1.3) ชายอายุเกิน 60 ปี และหญิงอายุเกิน 55 ปี การออกกำลังกายต้องยึดหลักความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ชีพจรสูงสุดขณะออกกำลังไม่ควรเกิน 120 ครั้งต่อนาที ความบ่อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ให้ระมัดระวังผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ
                      2) อันตรายจากกีฬาในคนสูงอายุ โดยทั่วไปแล้วการเล่นกีฬาในคนสูงอายุจะไม่เป็นอันตรายถ้าเลือกเล่นกีฬาได้เหมาะสม อันตรายที่พบในคนสูงอายุจากการเล่นกีฬา เช่น หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองแตก อุบัติเหตุกล้ามเนื้อฉีก ซึ่งมีสาเหตุจากมีโรคประจำตัว เช่น ความดันเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ เพราะออกกำลังกายหนัก หรือนานเกินไป
         2.5 การกำหนดความหนัก(Intensity) ความนาน (Duration) และความบ่อย (Frequency) ในการออกกำลังกาย
               2.5.1 ประเภทแอนแอโรบิก จะมีลักษณะเฉพาะอย่างที่ต้องการออกกำลังกายที่รุนแรง และความเร็วมาประกอบ ความบ่อยของกิจกรรมประเภทนี้จึงขึ้นอยู่กับที่ความสามารถของตนเอง อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทั่วไปนิยมให้ใช้กิจกรรมประเภทแอโรบิกมากกว่า เนื่องจากเป็นการเล่นที่ไม่หวังแพ้ชนะ และเป็นกีฬาสำหรับการพักผ่อนทั่วไป
               2.5.2 ประเภทแอโรบิก ตามหลักการของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่กำหนดโดย ดร.คูเปอร์ (Dr. Couper) นั้นระยะเวลาที่ถือว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนให้แกร่างกายจะต้องนานพอสมควร ซึ่งควรต่อเนื่องกันเป็นเวลา 12 นาที หากต้องการพัฒนาสมรรถภาพทางสุขภาพให้แก่ตนเอง ควรจะให้มากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ การพิจารณาความหนักจะต้องออกกำลังกายให้หนักพอดี ไม่เกินถึงจุดเพดานแอนแอโรบิค หรือต่ำมากจนไม่เกิดผลการเปลี่ยนแปลงแก่ร่างกาย การพิจารณาจึงใช้อัตราชีพจรขณะออกกำลังกายเป็นหลัก การพิจารณาซึ่งกำหนดเขต (Zone) ไว้ที่ระดับร้อยละ 65-80 ของอัตราชีพจรสูงสุดในแต่ละบุคคล
                2.5.3 วิธีการคำนวณหาอัตราชีพจรที่ต้องการขณะออกกำลังกาย สำหรับสูตรหรือวิธีการคำนวณหาอัตราการเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมายนั้น มีผู้คิดกันไว้หลายแบบ ในการคำนวณนั้นต้องคำนึงถึงอายุและความแข็งแรงพื้นฐานของคนๆ นั้น บางกรณีอาจใช้ความแตกต่างในเรื่องเพศ และอัตราการเต้นหัวใจขณะพักมาคำนวณด้วย สูตรที่ง่ายและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย คือ

                         อัตราการเต้นของหัวใจ  =  220 – อายุ

       ตัวอย่าง   อายุ  20 ปี  มีอัตราการเต้นสูงสุด               =    220 – 20
                   อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย    =      200 ครั้ง/นาที
                     อายุ  60 ปี  มีอัตราการเต้นสูงสุด                     =      220 – 60
                   อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย    =      160 ครั้ง/นาที
                  
            การออกกำลังกายนิยมกำหนดค่าร้อยละ 60-90 ของอัตราการเต้นสูงสุด ยกตัวอย่างกำหนดเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจหรืออัตราเต้นชีพจร ให้มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 65-80 ของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ

            วิธีคิดอัตราเต้นชีพจรเป้าหมายทำได้ดังนี้
            ตัวอย่างที่ 1
                ผู้มีอายุ  30 ปี  อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ       =        220 – 30
                                                                       =        190  ครั้ง/นาที
                   ร้อยละ  65  ของอัตราเต้นสูงสุด             =        190 x 0.65
                                                                       =        123  ครั้ง/นาที
                   ร้อยละ  80  ของอัตราเต้นสูงสุด             =        190 x 0.80
                                                                       =        152  ครั้ง/นาที

          ดังนั้นอัตราเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมายคนที่มีอายุ 30 ปี จะอยู่ในโซน หรืออยู่ระหว่าง 123-152  ครั้ง/นาที
                  
          ตัวอย่างที่ 2
                ผู้มีอายุ 60 ปี อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ           =      220 – 60
                                                                         =      160
                     ร้อยละ  65  ของอัตราเต้นสูงสุด             =       160 x 0.65
                                                                         =       104  ครั้ง/นาที
                   ร้อยละ  80  ของอัตราเต้นสูงสุด               =       160 x 0.80
                                                                        =       128  ครั้ง/นาที

          โซนที่ปลอดภัยและได้ผลทางแอโรบิกของผู้ที่มีอายุ  60 ปี  ระหว่าง  104–128  ครั้ง/นาที


          ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ทำการวิจัยอัตราการเต้นของหัวใจของคนไทยเพื่อหาค่าเฉลี่ยที่เป็นเป้าหมายในการออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-70 ปี ดังตาราง 7.1

 ตาราง 7.1 แสดงอัตราการเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมาย  ร้อยละ  65-80

อายุ
อัตราการเต้นสูงสุด
(220 – อายุ)
ร้อยละ 65
ร้อยละ  70
ร้อยละ  75
ร้อยละ  80
20
30
40
50
55
60
65
70
220/นาที
190/นาที
180/นาที
170/นาที
165/นาที
160/นาที
155/นาที
150/นาที
130/นาที
123/นาที
117/นาที
110/นาที
107/นาที
104/นาที
101/นาที
98/นาที
140/นาที
133/นาที
126/นาที
119/นาที
116/นาที
112/นาที
109/นาที
105/นาที
150/นาที
142/นาที
135/นาที
127/นาที
124/นาที
120/นาที
116/นาที
112/นาที
160/นาที
152/นาที
144/นาที
136/นาที
132/นาที
128/นาที
124/นาที
120/นาที

ตาราง 7.1 แสดงอัตราการเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมาย  ร้อยละ  65-80
ที่มา: (การกีฬาแห่งประเทศไทย. 2560: 5)

                2.5.4 วิธีการจับชีพจร
                         การจับชีพจร ก็เพื่อนับจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจว่าเป้าหมายแล้วหรือยัง วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การจับชีพจรด้วยตนเองที่บริเวณข้อมือ โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือด้านขวาหรือด้านซ้ายก็ได้แล้วแต่ถนัด กดลงบนข้อมือด้านตรงข้ามด้านนิ้วหัวแม่มือ จะรู้สึกเต้นเป็นจังหวะ จะจับเวลาประมาณ 15 วินาที แล้วคูณด้วย 4 ก็จะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนอัตราการเต้นของหัวใจเป็นครั้งต่อนาที

กล่องข้อความ: จับอัตราการเต้นชีพจรได้  30  ครั้งในเวลา  15 นาที คูณด้วย  4

           ตัวอย่าง


กล่องข้อความ: 1  นาที =  30 x 4  = 120  ครั้ง/นาที

           ฉะนั้น อัตราการเต้นของหัวใจ 1 นาที คือ

                  
          อีกวิธีหนึ่ง คือ การจับชีพจรบริเวณลำคอ ใต้คาง เยื้องออกด้านข้างเล็กน้อย คือทางผ่านของเส้นเลือดใหญ่ ใช้นิ้วมือกดคลำ เพื่อนับจำนวนครั้ง ซึ่งต้องนับให้เต็ม 1 นาที แล้วให้นำเอาตัวคูณของผลลัพธ์  60 วินาที คูณจำนวนครั้งที่นับได้ นิยมจับชีพจรที่ต้นคอประมาณ 5 หรือ 6 วินาที แล้วใช้ตัวเลข 12 หรือ 10 คูณจำนวนครั้งที่นับได้ก็จะได้อัตราชีพจรได้ถูกต้อง
         2.6 ข้อแนะนำสำหรับการออกกำลังกาย เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของการวางแผนการออกกำลังกายแล้วก็ถึงตอนลงมือปฏิบัติจริง จึงขอแนะนำหลักการเป็นข้อๆ ดังนี้
              2.6.1 การกำหนดความหนัก โดยใช้อัตราชีพจรกำหนดจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ ทั้งนี้เพราะถ้าออกกำลังกายอย่างมีระบบจะทำให้สมรรถภาพทางกายพัฒนาขึ้น จึงต้องเพิ่มความหนักขึ้นตามอัตราร้อยละ  65–80 ที่กำหนดไว้ สามารถกำหนดได้ 3 ระยะ คือ
                    1) ระยะเริ่มต้น ใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เฉพาะผู้ไม่เคยออกกำลังกาย
                    2) ระยะพัฒนา เป็นระยะที่ร่างกายเกิดการพัฒนาทางระบบไหลเวียน ควรออกกำลังกายให้ต่อเนื่องได้ย่างน้อย 20 นาที
                    3) ระยะพัฒนาเต็มที่ ควรออกกำลังกายให้นานถึง 30 นาทีเป็นอย่างน้อย ในระยะนี้หากมีการแข่งขันบ้างก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายด้วยความสนุกสนาน
             2.6.2 การอบอุ่นร่างกายและการผ่อนคลาย  (Warm- up and  Cool-down) ก่อนออกกำลังกายจะต้องมีเวลาสำหรับการอบอุ่นร่างกายทุกครั้ง และการเตรียมการไหลเวียนด้วยการวิ่ง หรือกระโดดเบาๆ ประมาณ 5–10 นาที
  2.6.3 จำนวนครั้งในหนึ่งสัปดาห์ ควรให้เหมาะสมตามความต้องการ และเหมาะสมกับสภาวะของตนเอง ซึ่งมีให้เลือก 3 ระดับ คือ
                   1) จำนวน 1–2 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนา
                   2) จำนวน 3 ครั้ง/สัปดาห์ เพียงพอที่จะชะลอสมรรถภาพให้คงอยู่
                   3) จำนวน 4-6 ครั้ง/สัปดาห์ เพียงพอสำหรับการพัฒนาสมรรถภาพเพื่อสุขภาพในรายที่เตรียมการแข่งขันหรือมากกว่านี้
            2.6.4 การออกกำลังกายสำหรับเด็กไม่ควรจะเน้นการแข่งขันเป็นข้อกำหนด  พยายามหลีกเลี่ยงเกมประเภทปะทะทั้งหลาย หรือหลีกเลี่ยงเกมหนักๆ เช่น การยกน้ำหนัก หรือการชกมวย เป็นต้น               ฉ็เเสส่ดา
           2.6.5 การออกกำลังกายสำหรับหญิง ไม่ควรให้เหมือนผู้ชายเพราะความแตกต่างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกาย โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ ตามความเชื่อดั้งเดิมที่ผิดๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกายของสตรี คือ            
                      1) เล่นกีฬามากๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ เหมือนผู้ชาย 
                      2) การวิ่งหรือกระโดดทำให้มดลูกหย่อน
                      3) การวิ่งทำให้เต้านมหย่อนยานและอักเสบง่าย
                      4) การเล่นกีฬามากๆ ทำให้มองดูเป็นคนห้าว ขาดความเป็นกุลสตรี
                      5) ควรงดออกกำลังกายขณะมีประจำเดือน
                      6) ขณะมีประจำเดือนสมรรถภาพจะลดลง
                      7) ขณะตั้งครรภ์ ไม่ควรออกกำลังกาย
            2.6.6 การออกกำลังกาย ควรคำนึงถึงความปลอดภัยจากการบาดเจ็บ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่เป็นการบาดเจ็บไม่รุนแรง ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุใช้เกิน (Over-use Injury) ซึ่งมีสาเหตุ  3 ประการ คือ            
                    1) การผิดปกติโครงสร้างของร่างกาย เช่น อุ้งเท้า หรือแขน เป็นต้น
                   2) แรงกระแทก จะมีมากหรือน้อยที่ความแข็งของพื้นและความแข็งความนุ่มของรองเท้า รวมทั้งจังหวะการเต้น หรือการกระโดด เป็นต้น
                   3) ระยะทาง ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระยะทางในการวิ่ง หรือระยะเวลาในการออกกำลังกายอื่นๆ
           2.6.7 การหลั่งของสารเอนเดอร์ฟีน (Endorphine) สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย คุณสมบัติของสารเอนเดอร์ฟีน มีส่วนคล้ายกับมอร์ฟีน จะหลั่งออกมาจากต่อมพิจูอิทารีในสมอง ขณะวิ่ง 15-20 นาที ทำให้รู้สึกสดชื่น เบิกบาน มีจินตนาการ ดังนั้นผู้ออกกำลังกายส่วนใหญ่เมื่อปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำแล้ว การติดออกกำลังกายจึงเป็นกับทุกคน จากการศึกษาพบว่านักกีฬาระดับโลก 8 คน อายุ 21 ปี มีปริมาณเอนเดอร์ฟีนในภาวะต่างๆ ดังตาราง 7.2

ตาราง 7.2 ปริมาณเอนเดอร์ฟีนในภาวะต่าง ๆ

ที่
สภาวะ
ระดับของเอนเดอร์ฟีน(เฉลี่ย)
หมายเหตุ
1
ขณะพัก
320  หน่วย
ระดับจะเพิ่มขึ้น
ขณะวิ่งและลดลง
หลังจากหยุดพักจน
หายเหนื่อย
2
ออกกำลังกาย  12  นาที
1,620  หน่วย
3
หยุดพัก  15  นาที
1,080  หน่วย
4
หยุดพัก  30  นาที
420  หน่วย







ตาราง 7.2 ปริมาณเอนเดอร์ฟีน ในภาวะต่างๆ
ที่มา: (การกีฬาแห่งประเทศไทย. 2560: 8)

          สารเอนเดอร์ฟีนมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี คือ ส่วนดีก็คือค่อยกระตุ้นความรู้สึกอยากวิ่งเมื่อถึงเวลา หมายถึงทำให้ร่างกายได้รับการฝึกโดยมีสิ่งจูงใจภายใน บางท่านบอกว่าเป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งเสพติดในทางบวก แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียด การที่คนวิ่งได้รับผลกระทบต่อการหลั่งสารดังกล่าว  และไม่ยอมหยุดวิ่ง แม้จะรู้สึกบาดเจ็บ ด้วนสาเหตุของการวิ่งขณะนั้น หากการวิ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้การบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น ซึ่งหลังจากการวิ่งคราวนั้น อาจจะมีผลที่ตามมาคือ การบาดเจ็บที่รุนแรงต้องหยุดพักการวิ่งเป็นเวลานานๆ  ถือว่าสาเหตุมาจากการหลั่งสารเอนเดอร์ฟีนขณะวิ่งครั้งก่อนนั้นเอง

3. ความสัมพันธ์ของพลศึกษากับนันทนาการ              
        กิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความมีสุขภาพที่ดีของคนเรา กิจกรรมดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกิจกรรมทางสังคมที่สำคัญที่ถูกนำมาสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคลได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนซึ่งอยู่ในฐานะของการเป็นผู้นำกิจกรรมและฐานะของการเป็นผู้ร่วมกิจกรรมที่ดี จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปด้วยดีและบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้  (ในที่นี้ขอกล่าวถึงในส่วนของการใช้พลศึกษาในการออกกำลังกาย) ดังนี้
          3.1 ความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง
                เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับคำต่างๆที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ บทบาทและมารยาท ในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ ให้ดียิ่งขึ้น ควรได้ทำความเข้าใจความหมายของคำต่างๆ ดังนี้
                กิจกรรมการออกกำลังกาย หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานมากกว่าภาวะปกติ กิจกรรมการออกกำลังกายมีหลายรูปแบบทั้งที่เป็นกิจกรรมกีฬา กิจกรรมกายบริหาร หรือกิจกรรมนันทนาการ
                กิจกรรมนันทนาการ หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่เรานำมาใช้ปฏิบัติในเวลา โดยความสมัครใจและอยู่นอกเหนือจากกิจกรรมที่จัดเป็นประจำ เมื่อปฏิบัติแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ ไม่ส่งผลกระทบ หรือสร้างความเสียหายต่อบุคคลอื่น หรือสภาพแวดล้อม
                กิจกรรมนันทนาการหากวิเคราะห์จากลักษณะของการปฏิบัติ จะมีอยู่ 2 ลักษณะสำคัญ คือ ลักษณะที่กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่ผู้ปฏิบัติเข้าร่วมปฏิบัติ และลักษณะที่เป็นผู้ชม แต่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ตามหากแบ่งตามรูปแบบของกิจกรรมแล้วจะแบ่งออกได้หลายรูปแบบ เป็นต้นว่า รูปแบบของกิจกรรมกีฬา หรือเกมการละเล่น รูปแบบของกิจกรรมศิลปะและหัตถกรรมต่างๆ รูปแบบของดนตรีนาฏศิลป์ และการแสดงบันเทิง รูปแบบของกิจกรรมงานอดิเรกต่างๆ รูปแบบของกิจกรรมทางภาษา รูปแบบของกิจกรรมนอกสถานที่ ทัศนศึกษาและการท่องเที่ยว รูปแบบของกิจกรรมทางสังคม วัฒนธรรม และประเพณี หรือรูปแบบของกิจกรรมอาสาสมัครและบำเพ็ญประโยชน์
                บทบาท หมายถึง ลักษณะเฉพาะของการทำหน้าที่ของบุคคลที่กำหนดไว้ในกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือนันทนาการ
                มารยาท หมายถึง ลักษณะการแสดงออกที่เหมาะสมของบุคคลที่ควรปฏิบัติในกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือนันทนาการ
                ผู้นำกิจกรรม หมายถึง ผู้ที่คอยดูแลหรือควบคุมการปฏิบัติกิจกรรม ตลอดจนสาธิตรูปแบบขั้นตอนในการปฏิบัติ เพื่อนำผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ปฏิบัติตาม
                ผู้ร่วมกิจกรรม หมายถึง ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมในบทบาทของผู้ปฏิบัติตามรูปแบบที่ผู้นำกิจกรรมกำหนด และรวมไปถึงผู้เข้าร่วมที่จัดอยู่ในบทบาทของผู้ชมด้วย
                จากความหมายของคำต่างๆ ที่กล่าวมา เมื่อนำมาประมวลเป็นความหมายของบทบาทและมารยาทในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและนันทนาการแล้ว จะได้ความหมายโดยภาพรวม ดังนี้
                "บทบาทและมารยาทในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ หมายถึงการแสดงออกของบุคคลในบทบาทที่ถูกต้องเหมาะสมในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและนันทนาการ"
           3.2 ความสำคัญของกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ
                 กิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ แม้จะมีรูปแบบของกิจกรรมที่มีความแตกต่างกันบ้างในบางกิจกรรมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่หากวิเคราะห์ความสำคัญของกิจกรรมดังกล่าวจะสรุปได้ ดังนี้
                  3.2.1 ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพทางกายและทางจิต ปัจจุบันสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนเราไม่ว่าจะเป็นชุมชนเมือง หรือชุมชนชนบทต่างมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่คนส่วนใหญ่เดิมเคยต้องใช้แรงกายและแรงสมองเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำงาน ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คนเราได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากการใช้แรงงานเครื่องจักรมาแทนแรงงานคน แรงสมองถูกปรับเปลี่ยน และลดบทบาทมาสู่การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการประมวลผล ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผินอาจดูว่า การปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและมีความถูกต้อง แต่หากพิจารณาโดยละเอียดถึงความต่อเนื่องของภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นแล้วกลับพบว่า การลดใช้แรงงานทั้งสองส่วน จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของทางกายและทางจิต (สมอง) ให้ลดตามไปด้วยซึ่งหากร่างกายลดประสิทธิภาพลงย่อมส่งผลให้สภาวะทางด้านร่างกายเกิดปัญหา หรือเสื่อมประสิทธิภาพ และยิ่งหากสภาวะทางด้านสมองลดประสิทธิภาพลงด้วยแล้ว ย่อมจะส่งผลให้บุคคลดังกล่าวเกิดภาวะปัญหาทางด้านความคิดความจำ และนำมาสู่ปัญหาในการทำงานของสมองได้ ดังนั้นกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งรูปแบบของกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีการใช้ทักษะทางสมองที่ต้องใช้กระบวนการในการคิดและการสร้างสรรค์จินตนาการในขณะปฏิบัติกิจกรรม จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นที่จะนำมาใช้ในการส่งเสริมและปรับปรุงประสิทธิภาพ
                 3.2.2 ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมและชุมชน ภาวะทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้แต่ละบุคคลมีความกระตือรือร้น และมุ่งสนใจในการประกอบอาชีพของตนเอง บางครั้งอาจส่งผลให้ขาดความสนใจต่อสมาชิกในสังคมชุมชนที่ตนอาศัย ซึ่งลักษณะดังกล่าวถือว่ามีความแตกต่างไปจากสภาพทางวัฒนธรรมของไทยที่ผ่านมา และมักพบว่าหากชุมชนใดก็ตามมีสภาพของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในลักษณะดังกล่าว ความสัมพันธ์ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นจะขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จนอาจนำมาสู่ปัญหาทางสังคมในชุมชนได้ ปัจจุบันหน่วยงานหลายหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน มักจะนำรูปแบบของกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการมาใช้ส่งเสริม และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมและชุมชนกับหน่วยงานซึ่งถือว่าการนำเอากิจกรรมดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมสภาพทางสังคมให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
                 3.2.3 ช่วยป้องกันและลดปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์ของบุคคลปัจจุบันปัญหาทางสังคมมีหลากหลายรูปแบบส่วนหนึ่งพบว่าเกิดจากการที่บุคคลไม่รู้จักใช้เวลาว่างหรือเวลาที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นด้วยความถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีพลังและความต้องการที่จะใช้พลังอยู่ในตัวเอง หากขาดการดูแลหรือให้คำแนะนำที่ดี การใช้พลังงานหรือแสดงพฤติกรรมออกมาอาจมีลักษณะของพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม ดังนั้น การใช้กิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการที่มีผู้ดูแล หรือคอยให้คำแนะนำที่ดีจึงเป็นกิจกรรมสำคัญในการนำมาใช้กับวัยรุ่น หรือใช้เป็นกิจกรรมทางสังคมที่ช่วยป้องกัน และลดปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์ของบุคคลในสังคม
                 3.2.4 ช่วยส่งเสริมและสืบทอดค่านิยมในด้านวัฒนธรรมปละประเพณีที่ดีงานของสังคม กิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ โดยเฉพาะกิจกรรมที่เป็นเกมและการละเล่นพื้นเมือง นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชนได้อย่างดีแล้ว ยังพบว่ารูปแบบกิจกรรมที่นำมาถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นถือว่าเป็นการส่งเสริมหรือสืบทอดด้านวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงานของสังคมให้คงไว้ได้ชัดเจนอย่างหนึ่ง
                 3.2.5 ช่วยป้องกันปัญหาการเกิดโรคและการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย ปัจจุบันในทางการเเพทย์ยอมรับว่า โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคนเรา มีหลายโรคเป็นปัญหาที่สามารถจะป้องกันหรือชะลอโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะสามารถจะรักษาหรือฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ โดยใช้วิธีการออกกำลังกายหรือให้ผู้ป่วยเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมนันทนาการที่มีความเหมาะสมต่อการป้องกันโรคต่างๆ เหล่านี้ เช่น โรคเครียด โรคจิต โรคประสาท โรคหลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อต่อเสื่อมสภาพ
          3.3 มารยาทที่ดีในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ
                มารยาทที่ดี เป็นพฤติกรรมสำคัญที่ผู่ร่วมกิจกรรมควรปฏิบัติ ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทของการเป็นผู้นำกิจกรรมหรือผู้เข้าร่วมในกิจกรรม ควรต้องระลึกถึงและให้ความสำคัญ โดยมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
                 3.3.1 ต้องแสดงออกกับสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสุภาพเรียบร้อย และมีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เช่น รู้จักที่จะให้เกียรติผู้ที่มีอาวุโสกว่า หรือผู้ที่ให้คำแนะนำและดูแลในการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือรวมไปถึงการใช้ถอยคำและวาจาที่สุภาพต่อสมาชิกผู้ร่วมกิจกรรม
                 3.3.2 ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ตลอดจนข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เช่น กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเครื่องแต่งกาย กฎระเบียบในเรื่องของช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม กฎระเบียบในการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจกรรม
                 3.3.3 ต้องช่วยกันดูแล บำรุง รักษา เกี่ยวกับอุปกรณ์ สถานที่ สิ่งของเครื่องใช้ที่นำมาประกอบกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะนำมาใช้ประกอบ
                 3.3.4 ต้องปฏิบัติหรือแสดงออกให้ถูกต้องตามบทบาทของตนเอง ให้เหมาะสมกับแต่ล่ะสถานการณ์ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทของผู้นำกิจกรรมหรือบทบาทผู้ร่วมกิจกรรม
                 3.3.5 ต้องให้ความร่วมมือกับกลุ่มสมาชิก โดยยึดแนวทางการปฏิบัติกิจกรรมในลักษณะของกระบวนการกลุ่ม โดยมีการกำหนดหน้าที่ ภาระรับผิดชอบในแต่ละส่วนของกิจกรรม
          3.4 บทบาทของการเป็นผู้นำและผู้ร่วมกิจกรรมที่ดี
                 การประกอบกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการย่อมจะมีผู้เกี่ยวข้องสำคัญอยู่ 2 ส่วน ประกอบด้วย ผู้ที่เป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรมและผู้ร่วมกิจกรรม ทั้งในบทบาทของผู้ร่วมปฏิบัติกิจกรรม และร่วมชมการปฏิบัติกิจกรรมซึ่งบทบาทการแสดงออกในแต่ละบทบาทมีแนวปฏิบัติดังนี้
                 3.4.1 บทบาทของการเป็นผู้นำที่ดี การแสดงบทบาทในการเป็นผู้นำกิจกรรมที่ดีทั้งกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ มีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญดังนี้
                          1) ต้องศึกษาและทำความเข้าเกี่ยวกับรูปแบบและทักษะที่จำเป็น ที่นำมาใช้ประกอบกิจกรรมนั้น ๆ โดยละเอียด และสามารถนำมาใช้ถ่ายทอดให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความถูกต้องปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพ
                          2) ต้องรู้จักเลือกรูปแบบของกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการส่งเสริมสุขภาพที่ดี โดยความเหมาะสมดังกล่าวยังควรที่ครอบคลุมไปถึงความเหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับเพศ อายุ วัย ฐานะทางเศรษฐกิจ และความพร้อมของผู้เข้าร่วมปฏิบัติด้วย
                           3) ต้องรู้จักคอยกระตุ้นหรือชี้แนะให้ผู้ร่วมกิจกรรมทั้งในระดับกลุ่ม หรือชุมชน หรือสังคมได้ตระหนักในความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในฐานะผู้เข้าร่วมปฏิบัติหรือในฐานะผู้ชม (ผู้สนับสนุน)
                          4) ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมาชิกในแต่ละคนที่เข้าร่วมกิจกรรมถึงจุดเด่น จุดด้อยที่มีในแต่ละคน ตลอดจนข้อที่ต้องให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากสุขภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้
                          5) ควรมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลและแนวทางในการป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละชนิด
                          6) ต้องรู้จักเตรียมความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์และสถานที่ ให้มีความเหมาะสมกับประเภทของกิจกรรมและจำนวนของกลุ่มผู้เข่าร่วมกิจกรรม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม
                          7) ต้องคอยให้การดูแลหรือให้คำแนะนำรูปแบบของการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง
                          8) ต้องรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองให้มีความพร้อมในการที่จะปฏิบัติหรือเป็นผู้นำกิจกรรมได้อย่างสมบูรณ์ ตลอดจนสามารถที่จะให้การดูแลแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
                3.4.2 บทบาทของการเป็นผู้ร่วมกิจกรรมที่ดี การเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ดี ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะที่เป็นผู้เข้าร่วมปฏิบัติหรือในฐานะของผู้ชมมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญดังนี้
                          1) ต้องยอมรับและปฏิบัติตามกฎและกติกาที่กิจกรรมนั้นๆ มีข้อกำหนด หรือมีข้อตกลงที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
                          2) ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้นำกิจกรรม หรือผู้ที่คอยดูแลการปฏิบัติกิจกรรมโดยเคร่งครัด
                          3) ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมควรสำรวจความพร้อมหรือความสมบูรณ์ของร่างกายตลอดจนปัญหาทางด้านสุขภาพ และหากปัญหาดังกล่าวไม่มีความรุนแรงและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ควรแจ้งให้ผู้นำกิจกรรมได้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพในเบื้องต้นดังกล่าว
                          4) ขณะร่วมปฏิบัติกิจกรรมต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการทำงานแบบกลุ่ม นั่นคือ ต้องรู้จักแบ่งหน้าที่ ให้การช่วยเหลือและรับผิดชอบต่อการทำงานหรือการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อส่วนรวม
                            5) ต้องมีจิตสำนึกเกี่ยวกับหลักความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา และต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในลักษณะต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมได้
                           6) ขณะปฏิบัติกิจกรรมหากเกิดความผิดปกติขึ้นควรแจ้งให้ผู้ดูแลหรือผู้นำกิจกรรมได้ทราบ ไม่ควรฝืนปฏิบัติจนอาจเกิดอันตรายและได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติกิจกรรม
                          7) หากมีความสามารถหรือมีทักษะในการปฏิบัติที่ดี และมีความมั่นใจในการถ่ายทอดความรู้และทักษะ ควรมีส่วนช่วยเหลือและให้การดูแล แนะนำแก่สมาชิกที่ร่วมปฏิบัติกิจกรรมด้วย
                         8) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในบทบาทของผู้ปฏิบัติกิจกรรมหรือผู้ชม ต้องแสดงออกถึงความมีมารยาทที่ดีทุกครั้ง เช่น กล่าวขอบคุณผู้นำกิจกรรม หรือเพื่อนร่วมกิจกรรม ปรบมือให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติตามความเหมาะสม
                จากแนวทางการปฏิบัติที่กล่าวมาข้างต้น ถือว่าเป็นบทบาทสำคัญที่ผู้นำกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมควรระลึกถึงและนำมาปฏิบัติ เพราะจะช่วยให้การเข้าร่วมและการดำเนินกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการบรรลุไปสู่เป้าหมายของกิจกรรมดังกล่าว (สมหมาย แตงสกุล และคณะ. ม.ป.ป: 59).   

4. ความสัมพันธ์ของกีฬากับนันทนาการ
          นันทนาการกับวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Science) นันทนาการเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพลศึกษา สุขศึกษา และวิทยาศาสตร์การกีฬา อย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้เพราะมุ่งพัฒนาเอกัตตบุคคลและสังคมทั้งทางด้านกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา ส่งเสริมคุณภาพชีวิต การพัฒนากีฬา เพื่อมวลชน กีฬาเพื่อสุขภาพเป็นแรงจูงใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
            4.1 ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภทเพื่อให้บุคคลเข้าร่วมทำกิจกรรมได้ตามความสนในดังนี้
                   4.1.1 การฝีมือและศิลปหัตถกรรม (Arts and crafts) เป็นงานฝีมือหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น การวาดรูป งานแกะสลัก งานปั้น การประดิษฐ์ดอกไม้ เย็บปักถักร้อย ทำ ตุ๊กตาประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้ และงานศิลปะอื่น ๆ
                   4.1.2 เกมส์ กีฬา และกรีฑา (Games, sport and track and field’s) กิจกรรมนันทนาการประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กีฬากลางแจ้ง (Outdoor Games) ได้แก่ กีฬาที่ต้องใช้สนามกลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอลและกิจกรรมกลางแจ้งอื่น ๆกีฬาในร่ม (Indoor Games) ได้แก่ กิจกรรมในโรงยิมเนเซียม หรือในห้องนันทนาการ เช่น แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส และหมากรุก เป็นต้น
                   4.1.3 ดนตรีและร้องเพลง (Music) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความบันเทิง ดนตรีเป็นภาษาสากลที่ทุกชาติทุกภาษาสามารถเข้าใจเหมือนกัน แต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นจะมีเพลงพื้นบ้านของตนเอง และเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เราสามารถเลือกได้ตามความสนใจไม่ว่าจะเป็นสากลหรือพื้นบ้าน
                   4.1.4 ละครและภาพยนตร์ (Drama) เป็นนันทนาการประเภทให้ความรู้ความบันเทิง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสะท้อนให้เห็นถึงสภาพจริงของสังคมยุคนั้นๆ
                  4.1.5 งานอดิเรก (Hobbies) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ช่วยให้การดำ เนินชีวิตประจำ วัน มีความสุข เพลิดเพลิน งานอดิเรกมีหลายประเภท สามารถเลือกได้ตามความสนใจ เช่น
                           1) ประเภทสะสม              
                           2) การปลูกต้นไม้
                           3) การเลี้ยงสัตว์
                           4) การถ่ายรูป
                  4.1.6 กิจกรรมทางสังคม (Social activities) เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนในสังคมร่วมจัดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เช่น การจัดเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงวันเกิด กานฉลองในโอกาสพิเศษต่างๆ
                  4.1.7 เต้นรำ ฟ้อนรำ (Dance) เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนาน เช่น เต้นรำ พื้นเมือง การรำ ไทย รำ วง นาฏศิลป์ และลีลาศ
                  4.1.8 กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor activities) เป็นกิจกรรมนันทนาการนอกสถานที่ ที่ให้โอกาสมนุษย์ได้เรียนรู้ธรรมชาติ ได้พักผ่อน เช่น การอยู่ค่ายพักแรม ไปท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ
                  4.1.9 ทัศนศึกษา (Field trip) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรม ตามวัดวาอาราม หรือศึกษาความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ในนิทรรศการหรืองานแสดงต่างๆ
                  4.1.10. กิจกรรมพูด เขียน อ่าน ฟัง (Speaking Writing and Reading) การพูด เขียน อ่านฟัง ที่นับว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่
                            1) การพูด ได้แก่ การคุย การโต้วาที และการปาถกถา เป็นต้น
                            2) การเขียน ได้แก่ การเขียนบันทึกเรื่องราวประจำ วัน เขียนบทกวี เขียนเพลง เรื่องสั้น และบทความ เป็นต้น
                           3) การอ่าน ได้แก่ การอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านหนังสือทั่ว ๆ ไป ที่ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
                           4) การฟัง ได้แก่ การฟังวิทยุ ฟังอภิปราย โต้วาที และทอล์คโชว์ เป็นต้น
                  4.1.11. กิจกรรมอาสาสมัคร (Voluntary Recreation) เป็นกิจกรรมบะเพ็ญประโยชน์ที่บุคคลเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนา และกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ
          เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย (2551 : 25-28) ได้กล่าวถึงประเภทของกิจกรรมนันทนาการ ไว้ว่า นันทนาการเน้นการมีส่วนร่วมต้องปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของนันทนาการ ฉะนั้นกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะนำมาใช้ปฏิบัติตามลักษณะของกิจกรรมนันทนาการได้ ดังนี้ 
             1. กิจกรรมเกม กีฬา และการละเล่น เป็นกิจกรรมการออกกำ ลังกายส่งเสริมสุขภาพและเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีลักษณะเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถผู้เล่น ซึ่งใช้ร่างกายเป็นสื่อแสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรม และจะส่งผลต่อการพัฒนาการทางร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
             2. กิจกรรมศิลปหัตถกรรม และงานฝีมือ เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่ามาก ให้ความสุขใจ เกิดสุนทรีย์แก่ผู้ปฏิบัติและผู้มีส่วนร่วม ได้ผลงานที่เป็นรูปธรรมในสิ่งที่ประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ขึ้นมา ทำ ให้เกิดความภูมิใจ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการฝึกสภาพจิตใจบุคคลในด้านต่างๆ ได้ดีกิจกรรมหนึ่ง ศิลปะถือเป็นมรดกของมวลมนุษย์ สะท้อนถึงแนวทางวิถีของมนุษย์
             3. กิจกรรมการร้องเพลงและดนตรี เป็นกิจกรรมบันเทิงใจที่สามารถร่วมกิจกรรมได้ง่ายและสะดวก สามารถเป็นได้ทั้งผู้ปฏิบัติหรือผู้ชมซึ่งต่างก็มีความสุข เป็นกิจกรรมที่จัดแบบง่าย ๆได้จนถึงขั้นที่มีความยิ่งใหญ่ ซึ่งกิจกรรมการร้องเพลงและเล่นดนตรียังแสดงออกถึงพื้นฐานความเป็นมาของบุคคลและเชื้อชาติ แสดงถึงความมีอารยธรรมและความแตกต่างของชนชาติต่าง ๆ
             4. กิจกรรมเข้าจังหวะและการเต้นรำ เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ ดนตรี เสียงเพลง หรือเสียงที่กำ หนดขึ้น เป็นกิจกรรมที่แสดงออกด้วยท่าทางลีลาต่าง ๆ สะท้อนความรู้สึก ภายในของบุคคลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ กิจกรรมประเภทกิจกรรมเข้าจังหวะยังช่วยส่งเสริม ระบบประสาทสั่งงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ให้เคลื่อนไหวตามการสั่งการให้ลงจังหวะ เป็นการฝึกการควบคุมระบบสั่งการของกล้ามเนื้อที่ทำ ให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อมองย้อนกลับไปกิจกรรมเข้าจังหวะในอดีตของบุคคลจะเป็นกิจกรรมแสดงถึงการถ่ายทอดบางส่วนของวิถีการดำรงชีพของคนแต่ละบุคคลแต่ละเชื้อชาติได้
             5. กิจกรรมด้านภาษาและวรรณกรรม ภาษาแสดงถึงความเป็นชาติ กิจกรรมด้านภาษาจึงเป็นกิจกรรมที่สะท้อนถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติและภาษา เป็นสิ่งบ่งบอกความเป็นเอกราช อิสระ มีอารยธรรม ลักษณะกิจกรรมด้านภาษาและวรรณกรรม จึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมปัญญาความคิด ให้ความรู้สึกสุนทรีย์ทางอารมณ์ เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชาติแต่ละภาษา โดยเฉพาะของไทยมีกิจกรรมด้านวรรณกรรม อ่านเขียนมาช้านาน และการแต่งบทประพันธ์ต่างๆ โดยเป็นกลอน วรรณคดี เรื่องสั้น และปริศนาคำทาย เป็นต้น
             6. กิจกรรมการแสดงและการละคร การแสดงและการละคร เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีความเป็นมาตามอารยธรรมของมนุษย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สถานบันเทิงเป็นที่สร้างสรรค์ลีลาของบุคคลให้แสดงออกด้วยความสุนทรีย์ช่วยให้บันเทิงตลอดจนผ่อนคลาย แสดงออกซึ่งยุคสมัยของการใช้ชีวิตของกลุ่มคน หรือความเป็นอยู่ของชุมชนในขณะนั้น ลักษณะกิจกรรมการแสดง ได้แก่ ภาพยนตร์ ละคร รวมถึงการแสดงการเล่นต่าง ๆ ที่นำ มาเสนอหรือแสดงให้ชม เช่น มายากล การแสดงนานาชาติ เป็นต้น
             7. กิจกรรมงานอดิเรก เป็นกิจกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายเพลิดเพลิน ซึ่งส่งผลต่อคุณค่าทางจิตใจของผู้กระทำ อีกทั้งยังส่งผลพลอยได้เป็นชิ้นงาน หรือเป็นรูปธรรมด้วยลักษณะของงานอดิเรกขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละบุคคลถ้าจะนำ กิจกรรมใดมาใช้กับตนเอง เช่น งานฝีมือ และงานประดิษฐ์ การปลูกต้นไม้ ทำ สวนเลี้ยงสัตว์ อ่านหนังสือ ฟังเพลง เล่นดนตรี การสะสม ฯลฯ โดยทั่วไปมักจะคิดว่าการทำ งานอดิเรกเป็นกิจกรรมเฉพาะคนวัยผู้ใหญ่หรือวัยสูงอายุเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วงานอดิเรกนั้นเป็นกิจกรรมของบุคคลทุก ๆ วัย
             8. กิจกรรมทางสังคม เป็นกิจกรรมที่ทำ ร่วมกับผู้อื่น ทั้งบุคคลในครอบครัว และบุคคลนอกครอบครัว เป็นงานสังสรรค์กิจกรรมตามประเพณี หรือกิจกรรมของชุมชน โดยมักจะร่วมกับพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานคล้ายวันเกิด งานเลี้ยงในโอกาสต่างๆ
             9. กิจกรรมกลางแจ้ง หรือนอกสถานที่หรือนอกเมือง กิจกรรมกลางแจ้ง หรือนอกสถานที่หรือนอกเมือง เป็นกิจกรรมนอกเมือง เป็นกิจกรรมแสดงออกซึ่งความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการอิสระ ท้าทาย ค้นหาสิ่งแปลกใหม่ และเข้าหาธรรมชาติ ลักษณะกิจกรรมกลางแจ้ง ได้แก่ กิจกรรมค่าย การท่องเที่ยว กิจกรรมผจญภัย และกีฬากลางแจ้ง เป็นต้น
           10. กิจกรรมพิเศษ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นหรือกระทำ เป็นพิเศษ แล้วแต่กรณี เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือจัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ เช่น กิจกรรมที่จัดในวันสำคัญต่าง ๆ การจัดกิจกรรมขึ้นโดยเฉพาะเพื่อจุดมุ่งหมายใดจุดมุ่งหมายหนึ่ง เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมสามารถจัดได้ทั้งเป็นกิจกรรมบุคคล กิจกรรมของหน่วยงานหรือองค์กร เป็นกิจกรรมของชาติหรือนานาชาติ
          11.กิจกรรมอาสาสมัครและบริการ เป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ การบริการสาธารณะเป็นความพึงพอใจ สมัครใจของผู้ปฏิบัติในการช่วยเหลือชุมชนหรือประเทศชาติตลอดจนสากลนานาชาติ ส่งผลต่อความสุขใจที่ได้กระทำ ช่วยให้สภาพสังคมดี มีน้ำ ใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กิจกรรมอาสาสมัคร ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาสถานที่ พัฒนาชุมชน อาสาบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนกิจกรรมของชาติและนานาชาติ โดยมากมักจะเป็นบุคคลหรือองค์กรเอกชนเป็นผู้ดำ เนินการ เช่น ชมรม สมาคม มูลนิธิต่างๆ เป็นต้น
          12. กิจกรรมท่องเที่ยวทัศนศึกษา เป็นกิจกรรมกลางแจ้งกิจกรรมหนึ่งซึ่งเป็นการเดินทางการย้ายไปสถานที่ใหม่ชั่วคราว เป็นการเปลี่ยนจากที่เป็นเพื่อความเพลิดเพลิน สุขใจ และได้พบสิ่งใหม่ช่วยให้มีโลกทัศน์กว้างไกลต่างกับการอยู่ค่าย คือที่รูปเป็นการดำ เนินการต่างกัน คือการท่องเที่ยว ไม่จำ เป็นต้องเป็นกิจกรรมที่เข้าใกล้กับธรรมชาติเหมือนกับการอยู่ค่าย ลักษณะการท่องเที่ยว อาจมีจุดมุ่งหมาย โดยจุดมุ่งหมายหนึ่งหรือหลายจุดก็ได้ ยกเว้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Biotourism) จะมีลักษณะเข้าหาธรรมชาติเช่นเดียวกับกิจกรรมค่าย
          13. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าในด้านมนุษยสัมพันธ์ รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมากมักจะสอดแทรกจุดประสงค์หรือเป้าหมายอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ร่วมกิจกรรม เช่น วิธีการทำ งานร่วมกัน การพัฒนาบุคคลและองค์กร เป็นต้น
          14. กิจกรรมเพื่อความสงบสุขและพัฒนาจิตใจ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้บุคคลมีความสุขทางใจเป็นสำ คัญ เป็นกิจกรรมพัฒนาจิตใจผู้ร่วมกิจกรรมซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันการใช้ชีวิตของบุคคลมีความวุ่นวาย สังคมสับสน ผู้คนเอารัดเอาเปรียบ ขาดความเอื้ออาทร กิจกรรมเพื่อความสงบสุขและพัฒนาจิตใจ จะช่วยให้รู้จักการดำ รงชีวิตอย่างเป็นสุขมีความพอเพียงได้ เช่น การเข้าวัดฟังธรรม และปฏิบัติสมาธิ
          15.  กิจกรรมพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้บุคคลมีสุขภาพที่ดีในรูปแบบของการออกกำลังกาย นอกเหนือจากกิจกรรมกีฬาแล้ว ยังมีทั้งการออกกำลังกายหรือบริหารร่างกาย โดยใช้อุปกรณ์และไม่ใช้อุปกรณ์ เช่น ตามสถานบริการ บางกิจกรรมออกกำ ลังกายเพื่อสุขภาพ บางกิจกรรมใช้การกำ หนดลมหายใจ การใช้สมาธิประกอบการออกกำลังกาย ได้แก่ โยคะ ชิกง การเต้นแอโรบิก และกิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นต้น
          16. กิจกรรมบันเทิงและสนทนา การสนทนาพูดคุย เป็นกิจกรรมที่มีมาดั้งเดิมของมนุษย์เพื่อการสื่อสาร ซึ่งการสนทนาที่เกิดความสุขสนุกเพลิดเพลินได้สาระ จึงนับเป็นนันทนาการซึ่งรวมถึงการเล่าเรื่องต่าง ๆ เช่น การเล่านิทาน เล่าเรื่องขำขัน หรือเรื่องราวให้แง่คิด ฯลฯ

          รูปแบบการจัดกิจกรรมกีฬาเพื่อนันทนาการ
               เกม (Games) หมายถึง การเล่นที่มีกฎ กติกา ในการเล่นอย่างชัดเจน โดยมากจะใช้ทักษะพื้นฐาน มิได้ใช้ทักษะขั้นสูงอย่างกีฬา โดยเกมมีจุดมุ่งหมาย และมีคุณค่าในตัวเอง ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ เช่น ความกล้าแสดงออก การเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ พบเพื่อนใหม่ ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  นอกจากนี้เกมยังสามารถแสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละประเทศด้วย ดังนั้นการจัดเกมที่ดีจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการจัดเสมอ การจัดกิจกรรมนันทนาการประเภทเกมนี้ สามารถเลือกจัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายได้โดยเลือกจากเกมประเภทต่าง ๆ ดังนี้
                    1. เกมสร้างสรรค์ เป็นเกมประเภทที่จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาบุคลากร ประสิทธิภาพในการทำงาน ความสัมพันธ์ในองค์กรต่างๆ เพื่อให้การทำงานขององค์กรนั้นๆ มีคุณภาพยิ่งขึ้น
                  2. เกมนำไปสู่กีฬาใหญ่ เป็นเกมที่ใช้ทักษะพื้นฐานการเคลื่อนไหว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เข้าร่วมให้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ก่อนเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ
                   3. เกมเบ็ดเตล็ด
                   4. เกมการละเล่นพื้นเมือง
                   5. เกมคอมพิวเตอร์และไฟฟ้า
               กีฬา (Sports) กิจกรรมกีฬานี้มีหลายประเภทกีฬานี้มีหลายประเภทกีฬาให้ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกได้ตามความถนัดและความสนใจ ผู้จัดกิจกรรมสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ดังนี้
                   1. กีฬาประเภทเดี่ยว (Individual Sports) คือ กีฬาใช้ทักษะในการเล่นเพียงคนเดียว ไม่จำเป็นต้องมีคู่แข่งขัน ทีม หรือผู้เข้าร่วมอื่น ๆ เช่น จักรยาน โบว์ลิ่ง สเก็ตน้ำแข็ง ยิมนาสติก พายเรือ ยิงปืน ยิงธนู ว่ายน้ำ ตกปลา  กรีฑา ลาน กอล์ฟ ขี่ม้า และยกน้ำหนัก เป็นต้น
                   2. กีฬาประเภทคู่แข่งขัน (Dual Sports) คือ กีฬาที่ผู้เล่นสอนคนขึ้นไป แสดงทักษะของแต่ละคนเพื่อแข่งขันกัน เช่น แบดมินตัน มวย เทนนิส ยูโด และมวยปล้ำ เป็นต้น
                     3. กีฬาประเภททีม (Team Sports) เป็นกิจกรรมกีฬาที่ใช้ทักษะของกีฬานั้นของแต่ละคนแสดงทักษะรวมกันประกอบกับการทำงานประสานกันเป็นทีม เพื่อแข่งขันกับทีมอื่น ๆ กีฬาประเภทนี้มีหลายกีฬาที่เป็นที่นิยมเพราะตื่นเต้น สนุกสนาน เช่น บาสเกตบอล  ฮอกกี้ วอลเลย์บอล รักบี้ ฟุตบอลและเบสบอล เป็นต้น
                    4. กีฬาทางน้ำ (Aquatics Sport) เช่น การว่ายน้ำ กระโดดน้ำ และแข่งเรือ เป็นต้น
                    5. กีฬาเสริมสมรรถภาพ (Physical Conditioning Activities) เช่น การวิ่งเพื่อสุขภาพ  การเต้นแอโรบิก และจักรยาน เป็นต้น
                    6. กีฬาปะทะต่อสู้ (Combative Sport)
                    7. กีฬากึ่งนันทนาการ (Co-recreation Sports) การจัดกิจกรรมกีฬาจะไม่สมบูรณ์ หากไม่มีการกีฬากึ่งนันทนาการที่สามารถจัดให้คนทุกเพศทุกวัยเข้าร่วมด้วยกันได้  โดยมีจุดมุ่งหมายในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เป็นที่ยอมรับของสังคม  กิจกรรมดังกล่าว เช่น ดำน้ำ สเก็ตน้ำแข็ง สกี เทนนิส และวอลเลย์บอล เป็นต้น
            จะเห็นว่ากีฬาบางประเภทสามารถจัดในหลายรูปแบบได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์  และจุดมุ่งหมายของผู้จัด แต่ในการจัดกิจกรรมนันทนาการประเภทเกมกีฬาที่ดี ไม่ควรเน้นในเรื่องการแข่งขันและผลแพ้ชนะ ควรจัดโดยให้โอกาสผู้ที่มีทักษะน้อยได้ชนะในการแข่งขันบ้าง (อังศุธร ซึมโรจน์ประเสริฐ และสมาน ถวิลกิจ. 2560: 1)
            สรุปกีฬาและนันทนาการ นั้นเป็นกิจกรรมที่ต้องการความสัมพันธ์กันระหว่างทักษะการเคลื่อนไหว สติปัญญา  ความทนทาน และพละกำลังของร่างกาย ในการประกอบกิจกรรม ซึ่งบางกิจกรรมจะมีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ลูกบอล ใช้ไม้ตีและแรกเกต ถุงมือ ฯลฯ โดยมากมักจะจัดกิจกรรมประเภทนี้ในสถานที่ ๆ เป็นบริเวณกว้าง เช่น สนามหญ้า   โรงยิมเนเซียม ลานกว้าง เป็นต้น ในการเล่นหรือการแข่งขัน ก็จะมีกฎ กติกาในการเล่น ตายตัวเฉพาะแต่ละชนิดเกมกีฬา  เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสมอภาค สนุก และท้าทาย ดังนั้นกิจกรรมนันทนาการประเภทเกม กีฬา  จึงเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน ตื่นเต้น และท้าทายความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งยังมีหลากหลายกิจกรรม สามารถเลือกเข้าร่วมได้ เหมาะสม  ทั้งวัยเด็ก  วัยผู้ใหญ่  วัยสูงอายุ  หญิง  ชาย  รวมทั้งคนพิการ  ดังนั้นกิจกรรมประเภทนี้จึงได้รับความนิยมสูงและมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

            สรุป
               พลศึกษาควรเป็นวิชาที่ได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ระดับโรงเรียนอย่างจริงจัง เพื่อวางรากฐานสมรรถนะทางกีฬาให้กับพลเมืองของชาติ วิชาพลศึกษาจึงไม่ควรเป็นวิชาที่เป็นเวลาที่นักเรียนว่างจากการเรียน ไม่มีครูสอน หรือเป็นเวลาปล่อยพักให้นักเรียนเล่นกีฬากันเอง การพัฒนาครูพละและให้ความสำคัญกับวิชาพลศึกษาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อ ส่งเสริมพัฒนาการและสมรรถนะทางกีฬาของนักเรียน ครูพละต้องได้รับการพัฒนาด้านยุทธวิธีการสอน หรือเทคนิควิธีการสอนในการกีฬาแต่ละประเภทถถึงระดับที่สามารถเป็นผู้ควบคุม ทีมนักกีฬาหรือ Coach ได้อย่างดี ควรมีงบประมาณให้เพียงพอกับความต้องการในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนไม่ควรมีภาระเพิ่มขึ้นกับค่าใช้จ่ายในการเรียนพลศึกษา เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับชุดกีฬา ชุดฝึกซ้อม และอุปกรณ์กีฬาที่ใช้แล้วหมดไป สิ่งเหล่านี้สร้างความหนักใจใให้กับผู้ปกครองที่มีฐานะไม่ดีอย่างมาก นอกจาก นั้นยังต้องมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่เห็นประโยชน์ของ พลศึกษาและการกีฬาในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระดับบุคคล ระดับสังคม และระดับชาติ ซึ่งจะเป็นฐานกำลังสำคัญสำหรับการย้อนกลับไปพัฒนาพลศึกษาและการกีฬาอีกต่อหนึ่ง ในขณะเดียวกันการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการกีฬาและนักกีฬาแต่ละ ประเภทในระดับสูงกว่าระดับโรงเรียนควรให้ความสำคัญทั้ง Form และ Substance ในอัตราส่วนที่เหมาะสมทั้งการสร้าง Coach และ สร้างตัวนักกีฬาความหวังในอนาคตเมื่อมีการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ประชาชนไทยจะได้ฟังเพลงชาติบ่อยครั้งขึ้นเมื่อนักกีฬาของไทยขึ้นรนรับรางวัลเหรียญทอง จำนวนเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะทางกีฬาของประเทศ นอกจากนั้นจากการสังเกตพบว่าจำนวนเหรียญรางวัลอาจมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของประเทศอีก เพราะประเทศที่ได้เหรียญรางวัลในการแข่งขันจำนวนมากมักจะเป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม การทหารและการศึกษามากกว่าประเทศที่ได้เหรียญรางวัลน้อยแต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นเป็นเพียงข้อสังเกต และเป็นการสังเกตความสัมพันธ์กันจึงไม่อาจสรุปความเชิงเหตุและผลได้ เช่น ยังไม่อาจสรุปว่าได้ว่าเพราะเศรษฐกิจของประเทศดีเป็นสาเหตุให้ประเทศนั้นได้เหรียญรางวัลการแข่งกีฬาระหว่างประเทศจำนวนมากหรือเพราะพลศึกษาของประเทศดีจึงทำให้ได้เหรียญรางวัลจำนวนมาก ข้อสังเกตจึงเป็นเพียงสมมติฐานที่รอการทดสอบเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามจำนวนเหรียญรางวัลนั้นย่อมแสดงถึงสมมรรถนะทางกีฬาของประชาชนในชาติอย่างชัดเจน
                พลศึกษา (Physical Education) เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่เน้นความงามและความสมบูรณ์ของร่างกายเป็นสำคัญ จุดประสงค์หลักของพลศึกษา คือ การสร้างพลเมืองที่มีความแข็งแรง รู้จักเล่นกีฬาเพื่อการพักผ่อนและทำกิจกรรมทางสังคม ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับจิตใจที่ดีงามและการควบคุมจิตใจ ให้ได้เมื่อเวลาเล่นกีฬาหรือในขณะที่มีการแข่งขันกีฬา มีคำกล่าวต่างๆ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของร่างกายและจิตใจที่ได้ยินกันเสมอได้แก่ จิตใจที่สดใสอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าวและ ให้มีน้ำใจนักกีฬาเป็นต้น พลศึกษา มีเนื้อหาสาระกว้างมาก ครอบคลุมไปถึงศาสตร์ต่างๆ เช่น สรีรวิทยา การออกกำลังกาย วิทยาศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา ชีวกลศาสตร์ และกีฬาเวชศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาเหล่านั้นอาจจะถูกจัดเป็นสาขาวิชาหนึ่ง หรืออาจเป็นภาควิชาหนึ่ง หรือคณะวิชาหนึ่งในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการพลศึกษาก็ได้ ถึงแม้จุดมุ่งหมายของวิชาพลศึกษาในระดับโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาไม่เน้นที่การสร้างนักกีฬาที่ดีเยี่ยม การแข่งขันกีฬาในระดับโรงเรียนจึงเป็นเพียงกิจกรรมสำหรับส่งเสริมพัฒนาการ ทางด้านร่างกายและจิตใจมากกว่าสร้างนักกีฬา แต่พลศึกษาในระดับโรงเรียนเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาสมรรถนะทางกีฬาให้ กับพลเมืองของประเทศ เพราะพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศต้องผ่านระบบโรงเรียน การส่งเสริมหรือสร้างสมรรถนะทางกีฬาในโรงเรียนจึงเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับ การสร้างนักกีฬาให้กับประเทศ ซึ่งนำไปสู่การได้เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาในระดับชาติ และระดับนานาชาติอีกด้วย การรับนักเรียนที่มีสมรรถนะทางกีฬาในระดับโรงเรียนให้เข้าศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษาด้วยวิธีพิเศษ หรือการให้โควต้านักกีฬา เป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถส่งเสริมผู้มีสมรรถนะทางกีฬาได้อย่างดี
                 การกีฬาได้กลายเป็นธุรกิจที่สามารถทำรายได้อย่างมากในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา เช่น แต่ละครั้งที่มีการแข่งขันกีฬาระดับชาติหรือระดับนานาชาติ จะมีปริมาณเงินหมุนเวียนจำนวนมากและทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จากการจัดการแข่งขันกีฬา ถึงแม้ว่าในกีฬาบางประเภทจะมีการพนันแฝงอยู่เบื้องหลังก็ตามการร่วมมือกันพัฒนาการกีฬาของภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้พลเมืองมีสมรรถนะทาง กีฬาสูงขึ้นจึงเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จให้กับนักกีฬาของไทยเมื่อ เข้าข้าแข่งขันระดับนานาชาติ การส่งเสริมการกีฬาในสาระสำคัญ (Substance) ของกีฬาแต่ละประเภทควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เช่น การสร้างทีมของกีฬาฟุตบอล เพื่อนำไปสู่การเป็นทีมฟุตบอล เพื่อนำไปสู่การเป็นทีมฟุตบอลที่โดดเด่นในระดับนานาชาติ หรือ การสร้างนักกีฬามวย ซึ่งกำลังมีการเคลื่อนไหวและได้รับการส่งเสริมจากภาคเอกชนอย่างมากใน ปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาในส่วนนี้เป็นการพัฒนาสาระสำคัญหรือ Substance ของกีฬาฟุตบอล หรือ กีฬามวย ซึ่งแตกต่างจากการพัฒนารูปแบบหรือ Form ซึ่งส่วนมากการพัฒนารูปแบบนั้นจะเกิดขึ้นโดยภาครัฐ ตัวอย่างของการพัฒนารูปแบบหรือ Form เช่น สมมติว่ามีการจัดตั้ง วิทยาลัยการฟุตบอลหรือ วิทยาลัยการต่อยมวยหรือ มีการเปิดหลหลักสูตรเพื่อให้นักกีฬามีคุณวุฒิระดับปริญญาที่สูงขึ้น เรียกว่าเป็นการพัฒนารูปแบบหรือ Form แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทั้ง Substance และ Form ต้องได้รับการส่งเสริมควบคู่กันในอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์ กับทุกฝ่าย
                ในส่วนทางด้านนันทนาการนั้น มีผลการวิจัยยืนยันว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า โรคที่จะคร่าชีวิตของคนทั่วโลกมากเป็นอันดับ 1 คือโรคที่เกิดจากความเครียด โรคที่เกิดจากจิตใจ ซึมเศร้า ว้าเหว่ โดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่จะเป็นกันมากที่สุด ซึ่งแม้จะมีเทคโนโลยีอันทันสมัยก็ยากที่จะเยียวยา ต่างจากโรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน หรือแม้กระทั่งเอดส์ ที่มีความหวังจะพัฒนาการรักษาให้ดีขึ้น ซึ่งวิธีแก้ก็คือ ดูแลรักษาสุขภาพจิตให้ไม่เครียด และพระเอกที่จะช่วยเราได้ก็คือ การนันทนาการนั่นเอง          นันทนาการนั้นมีจุดมุ่งหมายมากมายหลายประการและมีความเกี่ยวข้องตั้งแต่องค์กรที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุดนั้นก็คือ ครอบครัวไปจวบจนถึงระดับชาติและระดับโลก ซึ่งจุดมุ่งหมายของกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาอารมณ์ กิจกรรมนันทนาการเป็นกระบวนการเสริมสร้าง และพัฒนาอารมณ์ของบุคคลและชุมชน โดยอาศัยกิจกรรมต่างๆ เป็นสื่อกลางในช่วงเวลาว่าง หรือเวลาอิสระ การเข้าร่วมกิจกรรมต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ และกิจกรรมนั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับ สามารถก่อให้เกิดความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ กิจกรรมนันทนาการ ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้ร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เพราะความหลากหลายกิจกรรม เช่น การท่องเที่ยว ทัศนศึกษา การเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ในสถานที่และทรัพยากรท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และพื้นฐานเดิมของบุคคลหรือชุมชน เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ หรือกิจกรรมบางอย่างที่เคยเข้าร่วมมาแล้ว แต่ผู้เข้าร่วมอยากสร้างความประทับใจ หรือความทรงจำเดิม ก็จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งสิ้น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม กิจกรรมนันทนาการ จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลและชุมชน ฝึกให้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนด้วยความสนใจและสมัครใจ ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม รู้จักสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นในฐานะองค์กรของสังคม เพื่อส่งเสริมการแสดงออก กิจกรรมนันทนาการหลายประเภท เป็นการส่งเสริมให้บุคคลได้แสดงออกทางด้านความรู้สึกนึกคิด สร้างสรรค์ การระบายอารมณ์ การเลียนแบบสถานการณ์ หรือพฤติกรรมต่างๆ ทำให้สามารถเรียนรู้และรู้จักตนเองมากขึ้น สร้างความมั่นใจ ความเข้าใจและการควบคุมตนเอง เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต กิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาอารมณ์ ความสุข ความสามารถของบุคคล สุขภาพและสมรรถภาพทางกายและจิตใจ ความสมดุลทางกาย และจิต สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ของสังคมทุกเพศและวัย นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มประชากรทุกกลุ่มด้วย เพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษยชาติ กิจกรรมนันทนาการจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรม และพัฒนาความเจริญงอกงามของบุคคลทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตใจของคนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ตามความสนใจและความต้องการของบุคคล เช่น การจัดกิจกรรมนันทนาการนานาชาติ คือ มหกรรมกีฬาโอลิมปิค ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีและมิตรภาพของมวลมนุษยชาติและเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี กิจกรรมนันทนาการเป็นการให้การศึกษาแก่เยาวชนในด้านการช่วยเหลือตนเอง รู้จักสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย และการปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มและสังคมได้เป็นอย่างดี เป็นการพัฒนาบทบาทของการเป็นพลเมืองดี ไม่เห็นแก่ตัว ช่วยเหลือสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ ส่งผลให้สังคมอบอุ่น และเพิ่มพูนคุณภาพชีวิต

 เอกสารอ้างอิง

กมลพรรธน์  เมฆวรวุฒิ และอัมพร  ชัยศิริรัตน์.  (2538).  คลีนิคคนอ้วน. กรุงเทพฯ:
           ศิลป-วรรณกรรม.    
การกีฬาแห่งประเทศไทย.  (มปป.).  กีฬาในคนสูงอายุ.  กรุงเทพฯ:  ชวนพิมพ์.
                 .  (2544).  นิยามคำศัพท์กีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ:
           นิวไทยมิตร.
กองอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข.  (2536).  การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ:   
            องค์การทหารผ่านศึก.
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.  ( 2560). คุณค่าและความสำคัญของมวยไทย. สืบค้นเมื่อ  
            15 มีนาคม 2559. จาก https://thaiboxingproject.wordpress.com.
จรินทร์  ธานีรัตน์.  (2528).  นันทนาการชุมชน.  กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.  
              .  (2517).  รวมศัพท์ทางวิชาการ การศึกษา จิตวิทยา พลศึกษา กีฬา สุขศึกษา
           และสันทนาการ.  กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.  
จิรกรณ์  ศิริประเสริฐ.  (2543).  ทักษะและเทคนิคการสอนพลศึกษาในระดับประถมศึกษา.                    
            กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจริญทัศน์  จินตนเสรี.  (มปป.).  โทษของการขาดการออกกำลังกายแผ่นปลิวการประชาสัมพันธ์   
           ของการกีฬาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.
ดำรง  กิจกุศล.  (มปป.).  คู่มือการออกกำลังกาย.  กรุงเทพฯ:  เอช เอน  สเตชันนารี. 
---------------- .  การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กีฬาเวชศาสตร์พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์. 
ทีวีพูล  (ไทย).  (2539).  รายงานผลการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค 1996.  ประจำวันที่  21 กรกฎาคม  เทพประสิทธิ์  กุลธวัชวิชัย.  (2556).  การนันทนาการ.  พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทนาการสำคัญอย่างไร.  (2560). สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2559. จาก     
            http://sweetminnielovely.exteen.com/20091203/entry-1.
บุญส่ง  เอี่ยมลออ.  (2528).  การพลศึกษา.  วารสารสุขศึกษา พลศึกษา สันทนาการ. 11(4): 6-9;
           ธันวาคม.
ไพฑูรย์  จัยสิน. (2524).  ปรัชญาเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
               .  (2524).  สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2559. จาก  
              http://www.kroobannok.com/19891.

              . (2526).  ประโยชน์ของการกีฬาวารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ.  
          (4); พฤศจิกายน.
ฟอง  เกิดแก้ว.  (2524).  การพลศึกษา.  กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
ภิญโญ  สาทร.  (2525).  ปรัชญาการศึกษาไทย.  กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
มยุรี  ถนอมสุข และชูเดช อิสระวิสุทธิ์.  (2555).  อภิธานศัพท์พลศึกษา และบทสนทนา 
          ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับกีฬา. กรุงเทพฯ: ทวิภาษ.
ราชบัณฑิตยสถาน.  (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ:
          นานมีบุคสพับลิเคชั่นส.          
วรศักดิ์  เพียรชอบ.  (2527).  หลักและวิธีสอนวิชาพลศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
           ไทยวัฒนาพาณิช.
วิสูตร  กองจินดา.  (2527).  พลศึกษาและกีฬาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต.  วารสารสุขศึกษา พลศึกษา           
          สันทนาการ. 10(4): 33-35; ธันวาคม.
ศักดิ์ชาย  ทัพสุวรรณ.  (2530).  ความหมายของคำว่า พลศึกษากับแนวคิดใหม่ของการเรียน
          การสอน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา สันทนาการ. 13(2): 2-31; พฤษภาคม.
สมคิด  จิตประสงค์.  (2520).  หลักการสอนพลศึกษา.  กรุงเทพฯ:  ไทยวัฒนาพาณิช.
สมัคร  บุราวาศ. (2544).  สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2559.  
          จาก https://khopkhun.wordpress.com.
สุจิตรา  อ่อนค้อม.  (2545).  สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2559. จาก    
สุวิมล  ตั้งสัจจพจน์.  (2553).  นันทนาการและการใช้เวลาว่าง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
          มหาวิทยาลัย.
เสถียร  สภาพงศ์.  (2526).  พลศึกษา สุขศึกษา และสันทนาการ”, วารสารสุขศึกษา พลศึกษา 
          และสันทนาการ. (2) ; พฤษภาคม.
สำนักนันทนาการ  กรมพลศึกษา.  (2552).  ทรัพยากรนันทนาการ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์
          การเกษตรแห่งประเทศไทย. .
วิชาการ  กรม.  (2535).  หยุดอ้วนเสียที.  (วิชิต  คนึงสุขเกษม. แปลและเรียบเรียง). ม.ป.ป.
วิรุฬห์  เหล่าภัทรเกษม.  (2537).  การตรวจประเมินสุขภาพก่อนการเล่นกีฬา”.  กีฬาเวชศาสตร์.   
            กรุงเทพฯ:  พี บี บุคส์เซนเตอร์.  
สมชาย  ประเสริฐศิริพันธ์.  (ม...). “การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและเพศ แผ่นปลิว
           ประชาสัมพันธ์การออกกำลังกายของการกีฬาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
สมหมาย  แตงสกุล และคณะ. (ม.ป.ป). สุขศึกษาและพลศึกษา 3.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.
อังศุธร  ซึมโรจน์ประเสริฐ และสมาน ถวิลกิจ.  กิจกรรมนันทนาการเกมกีฬา (Games and          
           Sports).สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560.  
           จาก http://www.thaigoodview.com/node/51934.
Anderson,  D.  (1989).  The Discipline and the Profession. Foundations of      
           Canadian Physical Education, Recreation, and Sports Studies.Dubuque, IA:  
           Wm. C. Brown.
Brightbill, C. K. and Mayer H.D.  (1975).  Community Recreation.  New York:  
           Macmillan.
Bucher, C. A.  (1964).  Foundations of physical education.  4th ed. St. Louis: Mosby.
Butler, D. George.  (1959).  Introduction to Recreation. New York: McGraw-Hill.
Daniels, A. Slusher.  (1969). The Study of Sports as an Element of Culture. In J.W.   
           Loy and G.S. 
Grave, H. A.  (1960).  Philosophy of Sport. Contemporary Review. 78(12): 877-893.
Harol  Barrow M.  (1967).  Physical Education syllabus.  Burgess:  n.p.
Hughes  William Leonard & William.  (1944).  Hess fairing sport theirs organization
           and Administration. New York: A.S. Baenes and company.
Jay, B. Nash.  (1960).  Philosophy of recreation and leisure. Michigan: W. C. Brown.
Jenny J. H.  (1961).  Physical Education, Health Education and Recreation :
          Introduction to Professional Preparation for Leadership. New York:
           Macmillion.
Jeseas William F.  (1964).  The principle of Physical Education. Philadelphia
           saundor’s.
John E. Nixon.  (1985).  Division of health education. Journal of Physical Education,
          Recreation, and Dance, 56(4).
              .  (1969).  An Introduction to Physical Education. S.b. Saunder’s.
Kenyon. Editors.  Sports, Culture, and Society.  New York: McMillan.
Kirchner. G.  (1983).  Physical Education for Elementary School Children. 6th rev. 
          ed. Iowa: Wm. C. Brown.
Pavlich, M.  (1966).  The Power of Sport.  Journal of Arizona Association for Health,
         Physical Education and Recreation. 10(11): 9-10.

Thomson John G.  (1971).  Physical Education of the 1970’s. Printice-hall: Eglewood
            cliffs.
Woltmer  Edward F.  (1976).  Organication and Administration of Physical  
           Education. Printice hall: ice.
William J. F.  (1930).  The Principles of Physical Education. Philadelphia, Saunders,
Zeigler, E.F.  (1964).  Philosophy Foundations of Health, Physical Education and      
           Recreation, Eglewood Cliffs, Prentice-Hall.