Monday 12 November 2018 | 0 comments | By: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 นโยบายและแผนการศึกษาของชาติกับการพลศึกษา


แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
นโยบายและแผนการศึกษาของชาติกับการพลศึกษา

เนื้อหา
         1. ความหมายนโยบายและแผน
         2. ความสำคัญนโยบายและแผน
         3. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
         4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
         5. แผนพัฒนาการศึกษา 
         6. เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
         
จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. บอกความหมายของนโยบายและแผนได้
         2. บอกความสำคัญของนโยบายและการวางแผนได้
         3. อธิบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้
         4. อธิบายแผนพัฒนาการศึกษาได้
         5. อธิบายเเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติได้
        
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
         1. บรรยายประกอบสื่อ  PowerPoint  เกี่ยวกับเนื้อหาที่กำหนด
         2. แบ่งกลุ่มผู้เรียนศึกษา ความหมาย ความสำคัญของนโยบายและแผนแล้วนำเสนอ
หน้าชั้นเรียน
        3.  อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา และเเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับการพลศึกษาและร่วมกันสรุปบทเรียน
         4.  ทำแบบฝึกหัดท้ายแผนบริหารการสอนประจำบท
         5.  แนะนำเอกสารประกอบการสอนรายวิชา ตำราและแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมอื่น




สื่อการเรียนการสอน
         1. เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติ ปรัชญาและหลักการพลศึกษา 
         2. PowerPoint เนื้อหาที่สอน
         3. เอกสาร ตำรา หนังสือที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติและพลศึกษา 
         4. แบบฝึกหัดท้ายแผนบริหารการสอนประจำบท
         5. ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ

การวัดและประเมินผล
         1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                1.1 แบบประเมินพฤติกรรมตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม (สำหรับผู้เรียน)
                1.2 แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรม (สำหรับผู้สอน)
         2. ด้านความรู้
                 - คะแนนจากแบบทดสอบท้ายแผนบริหารการสอนประจำบท
         3. ด้านทักษะทางปัญญา
                 - แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะทางปัญญา (การทำงานรายบุคคล)
         4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                 - แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (การทำงานกลุ่ม)                  
         5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                 - แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
         6. ด้านการจัดการเรียนรู้
                 - แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะการจัดการเรียนรู้

บทที่ 6
นโยบายและแผนการศึกษาของชาติกับการพลศึกษา

           การพลศึกษาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการศึกษาซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาและการแข่งขันของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบันการแข่งขันของประเทศขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของคนมากกว่าจำนวนคนและทรัพยากรเช่นในอดีต ซึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศเกี่ยวข้องกับบุคลากรและผู้เรียนจำนวนหลายล้านคน ประกอบกับผลสรุปของการศึกษาไทยที่ผ่านมา คือ ใช้เวลาเรียนมาก เรียนรู้ได้น้อย มีความเครียดและคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาต่ำ ดังนั้น การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย จึงเน้นย้ำให้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนแนวทางวิธีการทำงานให้เหมาะสม และต้องมีบทบาทในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย ด้านอื่นด้วย รวมทั้งมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้มากขึ้น ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ และขับเคลื่อนการทำงานอย่างจริงจัง

1. ความหมายนโยบายและแผน
        1.1 นโยบาย
              พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (2556: 607) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นโยบาย หมายถึง หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ
              อมร รักษาสัตย์ (2522: 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นโยบาย หมายถึง อุบายหรือกลเม็ดที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายส่วนรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหมาะสมที่สุด
              ประชุม รอดประเสริฐ (2544: 13) กล่าวว่านโยบายเป็นข้อความหรือความเข้าใจร่วมกันอย่างกว้างๆ ที่ใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจเพื่อการปฎิบัติภารกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารและของหน่วยงาน
              วิจิตร ศรีสะอ้าน (2548: 8) ได้เปรียบเทียบว่านโยบายเปรียบเสมือนเข็มทิศและหางเสือในการเดินเรือที่จะพาเรือไปในทิศทางที่กำหนดไว้ได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนโยบายการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันเพื่อจะพาประเทศให้พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการ            
              Friedrich (1963: 70) กล่าวไว้ว่า นโยบาย คือ ข้อเสนอสำหรับแนวทางการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มหรือรัฐบาลภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่งซึ่งจะมีทั้งอุปสรรคและโอกาส อุปสรรคและโอกาสที่มีนั้นจะผลักดันให้มีการเสนอนโยบายขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์และเอาชนะสภาพการณ์เช่นนั้น ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใด
             Knezevich (1969: 217) ได้กล่าวไว้ว่า นโยบาย หมายถึง ข้อความทั่วไปที่อธิบายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุถึงคำแถลงนโยบาย (Policy Statement) ที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน
             McNichols (1977: 3) กล่าวว่า นโยบาย หมายถึง การตัดสินใจที่มีความฉลาดและหลักแหลม กล่าวคือเป็นการกระทำที่ไตร่ตรองและลึกซึ้งของผู้บริหารระดับสูง
             Chang and Campo (1980: 7) กล่าวว่า นโยบาย หมายถึง กรอบพื้นฐาน (A Basic Framework) ที่เป็นตัวกำหนดปัญหาหลักขององค์กร จุดมุ่งหมาย ปณิธาน วัตถุประสงค์ทั่วไปและแนวทางชุดหนึ่งซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิดรวม
             Stecklein (1989: 8) อธิบายว่า นโยบาย หมายถึง ข้อความที่ให้แนวทาง (Guideline) สำหรับการพัฒนาและการดำเนินงานของหน่วยงานหรือแผนงาน (Program) ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งโดยตรงและโดยอ้อมถึงหลักการพื้นฐานหรือความเชื่อถือของผู้รับผิดชอบสำหรับหน่วยงานหรือแผนงาน
             สรุปได้ว่า นโยบาย หมายถึง แนวทางหรือกรอบที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ
        1.2 การวางแผน
              พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 (2556: 790) ได้ให้ความหมายไว้ว่า แผน หมายถึง สิ่งที่กําหนดถือเป็นแนวดําเนินการ เช่น วางแผน แบบ ตำรา แผนโบราณ แผนปัจจุบัน
              จักษวัชร ศิริวรรณ (2559: ออนไลน์). ให้ความหมายไว้ว่า แผนยุทธศาสตร์ หมายถึง ทิศทางหรือแนวทางปฏิบัติตามพันธกิจและภารกิจ (Mission) ให้สัมฤทธิผลตามวิสัยทัศน์ (Vision) และเป้าประสงค์ขององค์กร (Co-orporate Goal)
              ประชุม รอดประเสริฐ (2535: 89) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การวางแผนเป็นกระบวนการที่บุคคลหรือหน่วยงานได้กำหนดขึ้นไว้ล่วงหน้าเพื่อการปฏิบัติงานในอนาคต การวางแผนประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ หลายขั้นตอน ซึ่งบางขั้นตอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการกระทำก่อน และด้วยความรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย (Goals) ที่ได้กำหนดไว้ การวางแผนมีคุณค่าอย่างมากต่อวัตถุประสงค์ (Objectives) ขององค์การหรือของหน่วยงานและมีความสำคัญยิ่งต่อความมุ่งหมายส่วนตนของแต่ละบุคคลในการปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติตามภารกิจทั้งหลาย
              อุทัย บุญประเสริฐ (2538: 19) ได้ให้ความหมายว่า การวางแผนเป็นกิจกรรมที่คาดหวังว่าจะต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นผลจากการค้นหาและกำหนดวิธีทำงานในอนาคตเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและองค์กรมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าจะมีการทำอะไร ทำที่ไหน เมื่อใด ให้ใครทำ ทำอย่างไรและให้รายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นช่วยให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ
               วิโรจน์ สารรัตนะ (2539: 35-36) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การวางแผนเป็นกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และแนวทางการกระทำไว้ล่วงหน้า เพื่อให้บุคคลในองค์การปฏิบัติตามให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
              อนันต์ เกตุวงศ์ (2541: 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การวางแผนก็คือการตัดสินใจล่วงหน้าในการเลือกทางเลือกเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์หรือวิธีการกระทำ โดยทั่วไปจะเป็นการตอบคำถามต่อไปนี้ คือ จะทำอะไร (What) ทำไมจึงต้องทำ (Why) ใครบ้าง ที่จะเป็นผู้กระทำ (Who) จะกระทำเมื่อใด (When) จะกระทำกันที่ไหนบ้าง (Where) และจะทำกันอย่างไร (How)
            ธงชัย สันติวงษ์. (2540: 138) ได้ให้ความหมายการวางแผนไว้ 2 ความหมาย คือ (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ การจูงใจและสื่อสาร การวัดผลงาน และการพัฒนาบุคคล (2) กระบวนการบริหารที่ต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงทุกกิจกรรมของงานและมุ่งสู่อนาคต
              สรุปได้ว่า การวางแผน (Planning) หมายถึง กระบวนการที่องค์การหรือหน่วยงานดำเนินการเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการในอนาคต โดยการตัดสินใจล่วงหน้าในการเลือกวิธีทำงานที่ดีที่สุดมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้บรรลุผลตามที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด และเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสามารถปรับปรุงแก้ไขได้อยู่เสมอ

2. ความสำคัญของนโยบายและการวางแผน
       2.1 นโยบายที่ดี
              วิโรจน์ สารรัตนะ (2548: 24) กล่าวถึงนโยบายที่ดีไว้ ดังนี้ 
                 1. นโยบายที่ดีต้องมีเป้าหมายที่ส่งผลประโยชน์แก่องค์การหรือประชาชนโดยส่วนรวมมากที่สุด
                 2. นโยบายที่ดีควรจะครอบคลุมภารกิจทุกด้านและมีความสอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่ขัดแย้งกัน
                 3. นโยบายที่ดีควรได้มาจากกลั่นกรองถึงความสำคัญหรือความต้องการ
                 4. นโยบายที่ดีควรประกอบด้วยเป้าหมาย แนวทางและกลวิธีที่ดี ดำเนินการได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
                 5. นโยบายที่ดีต้องมีเนื้อหาเป็นหลักในการดำเนินงานและมีหลักประกันในการประเมินความสำเร็จทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
                 6. นโยบายที่ดีจะเป็นข้อความที่ชัดเจน ถ่ายทอดไปสู่ผู้ปฏิบัติได้โดยง่ายและมีความเข้าใจตรงกัน
            Laswell & Kaplan. (1970: 25) ได้กล่าวถึงความสำคัญของนโยบาย สรุปได้ ดังนี้
                    1. ช่วยให้ผู้บริหารทราบว่าใครจะทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร (who get what when and how) และใช้ปัจจัยอะไรบ้าง นโยบายช่วยให้ผู้บริหารปฏิบัติงานต่างๆ อย่างมีความมั่นใจ เพราะนโยบายเป็นทั้งแผนงาน เครื่องชี้ทิศทางและหลักประกันที่ผู้บริหารทุกระดับชั้นต้องยึดถือ
                  2. ช่วยให้บุคลากรทุกระดับชั้นในองค์การเข้าใจภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดรวมทั้งวิธีการที่จะปฏิบัติภารกิจให้ประสบผลสำเร็จโดยไม่ซ้ำภาระหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กรเดียวกัน
                   3. ก่อให้เกิดเป้าหมายในการปฏิบัติงาน การบริหารงานโดยมีเป้าหมายทำให้ประหยัดเงิน เวลา บุคลากร รวมถึงความสามารถหรือศักยภาพ (potential) ของบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายขององค์การหรือหน่วยงานอย่างมีประสิทธิผล
                  4. นโยบายที่ดีจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมการใช้อำนาจของผู้บริหารให้เป็นไปโดยถูกต้องอย่างมีเหตุผลและมีความยุติธรรมอันนำมาซึ่งความเชื่อถือ ความจงรักภักดีและความมีน้ำใจในการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
                   5. ช่วยให้เกิดการพัฒนาการทางการบริหารเพราะนโยบายจะพัฒนาผู้บริหารให้รู้จักคิดทำนโยบายขึ้น (Think for) แทนการคิดปฏิบัติตาม (Think by)
            Massie & Douglas (1981: 20) ได้กล่าวถึงความสำคัญของนโยบายกับการบริหารไว้ดังนี้  
                 1. นโยบายเป็นสิ่งที่กำหนดล่วงหน้า ช่วยลดการใช้ความคิดที่จะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ มากมายให้ลดน้อยลงและช่วยประหยัดเวลา
                    2. ช่วยให้การประสานงาน การตัดสินใจของผู้บริหารในฝ่ายต่างๆ ขององค์การให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                 3. ช่วยให้เกิดความมั่นใจในองค์การและลดความสับสนของสมาชิกเพราะสมาชิกจะต้องเข้าใจเป้าหมายและทิศทางการปฏิบัติงาน
                    4. ช่วยกระตุ้นให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปอย่างมีพลัง ลดความไม่แน่ใจว่าการตัดสินใจสอดคล้องกับแนวคิดของผู้บริหารระดับสูงหรือไม่
                    5. เป็นกรอบการตัดสินใจของผู้ใต้บังคับบัญชา ช่วยให้การมอบหมายอำนาจทำได้ดีขึ้น
                   6. ช่วยให้เกิดความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม ความถูกต้อง และมีความชัดเจนมากขึ้นเนื่องจากมีการตัดสินใจที่สอดคล้องกัน การบริหารงานสถานศึกษาจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับลักษณะที่ดีของนโยบาย 
            Mondy and Noe. (1996: 43) กล่าวว่านโยบายที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้                  
                 1. นโยบายที่ดีต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การและสามารถช่วยให้การดำเนินงานบรรลุถึงเป้าประสงค์ได้
                  2. นโยบายที่ดีต้องกำหนดขึ้นจากฐานข้อมูลที่เป็นจริง
                  3. นโยบายที่ดีต้องได้รับการกำหนดขึ้นก่อนที่จะมีการดำเนินงานและกำหนดกลวิธีตลอดจนจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมแก่การดำเนินงาน
                 4. นโยบายที่ดีควรกำหนดขึ้นเพื่อสนองผลประโยชน์ต่อบุคคลโดยส่วนรวมและต้องมีการประสานงานร่วมกัน
                 5. นโยบายที่ดีต้องเป็นถ้อยคำที่กะทัดรัด ใช้ภาษาเข้าใจง่ายและเป็นลายลักษณ์อักษร
                 6. นโยบายต้องมีขอบเขตและระยะเวลาการใช้ และควรมีความยืดหยุ่นแต่มั่นคงอยู่บนหลักการและสอดคล้องกับระเบียบที่ถูกต้อง
                 7. นโยบายที่ดีต้องครอบคลุมถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
                 8. นโยบายที่ดีต้องสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกองค์การ
                 9. นโยบายต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและอย่างมีเหตุผล
               10. นโยบายต้องเป็นเหตุเป็นผลและสามารถนำไปปฏิบัติได้และต้องได้รับการตรวจสอบและทบทวนเป็นระยะๆ      
            สรุป คุณลักษณะนโยบายที่ดีได้ ดังนี้
                 1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การและช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
                 2. นโยบายที่ดีต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่เป็นจริง
                 3. นโยบายที่ดีต้องสอดคล้องกับสภาวการณ์ในขณะนั้นและเหมาะสมกับทรัพยากรที่มี
                 4. นโยบายที่ดีควรกำหนดขึ้นเพื่อสนองประโยชน์ให้กับบุคคลโดยส่วนรวมและจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็น
                 5. นโยบายที่ดีต้องเป็นถ้อยคำกะทัดรัด ใช้ภาษาเข้าใจง่าย แถลงเป็นลายลักษณ์อักษรที่สมาชิกทุกคนในองค์การเข้าใจได้
                  6. นโยบายที่ดีต้องมีขอบเขตและระยะเวลาในการใช้
                  7. นโยบายที่ดีต้องครอบคลุมถึงสภาวการณ์ในอนาคตด้วย 
                  8. นโยบายที่ดีต้องสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกองค์การ
             สรุปได้ว่า นโยบายมีความสำคัญต่อการบริหาร เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ต้องมีความชัดเจนในวัตถุประสงค์ว่าใครจะทำอะไร เมื่อไร เท่าใดและอย่างไร เพื่อให้นโยบายสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคมโดยรวมถึงความสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมต่างๆ และนโยบายที่ดีต้องมีความชัดเจน กำหนดขึ้นจากข้อมูลที่เป็นจริง ใช้ภาษาง่ายๆ ที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน มีการกำหนดระยะเวลาการใช้ และยังสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคมโดยรวม สอดคล้องกับแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคแห่งสังคม 4.0 และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ (Prapaporn. 2559: ออนไลน์)       
         2.2 ความสำคัญของการวางแผน
                จักษวัชร  ศิริวรรณ (2559: ออนไลน์). ได้กล่าวถึงความสำคัญของการวางแผนไว้ ดังนี้
                   2.2.1 เป็นยุทธศาสตร์การกำหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่ช่วยให้องค์การสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพราะการกำหนดแผนยุทธศาสตร์นั้นให้ความสำคัญกับการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
                   2.2.2 เป็นยุทธศาสตร์การกำหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่ช่วยให้หน่วยงานในภาครัฐ ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนที่มีส่วนเอื้ออำนวยความสำเร็จและความล้มเหลวต่อเป้าประสงค์ขององค์การ
                   2.2.3 เป็นยุทธศาสตร์การกำหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management, NPM)  ที่ให้ความสำคัญการปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐทั้งระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยในประเทศไทยเรียกว่า การปฏิรูประบบราชการ อีกทั้งหน่วยงานภาครัฐยังต้องดำเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาล (Good Governance)  ซึ่งเป็นกระแสหลักในการบริหารรัฐกิจในปัจจุบัน
                   2.2.4 เป็นยุทธศาสตร์การกำหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่มีส่วนช่วยยกระดับระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance-based Budgeting)
                   2.2.5 เป็นยุทธศาสตร์การกำหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่มีส่วนช่วยในการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นการพินิจพิเคราะห์ วางแผนและนำเสนอทางเลือกในการบริหารจัดการแบบใหม่ ๆ ที่หลุดพ้นจากกรอบพันธนาการทางความคิด อันเกี่ยวข้องกับระเบียบปฏิบัติราชการที่ล้าสมัยและไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
                   2.2.6 เป็นยุทธศาสตร์การกำหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่มีส่วนช่วยสนับสนุนหลักการประชาธิปไตย ในแง่ของการมีส่วนร่วม (Participation) และการกระจายอำนาจ (Decentralization)
         2.3 ลักษณะของแผนโดยทั่วไป ประกอบด้วย
                     2.3.1 วัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าจะมีการปฏิบัติอะไรและอย่างไร เป็นการชี้ทางให้เห็นและเป็นการป้องกันการเข้าใจผิดและหลงทาง วัตถุประสงค์จะต้องกำหนดไว้แจ่มแจ้งชัดเจน โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ต้องมีการจัดเรียงลำดับวัตถุประสงค์และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ ไป
                     2.3.2 มาตรฐานในการบริหาร เป็นการกำหนดความต้องการ ความสมดุลย์และความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรทั้งหลาย มาตรฐานเป็นเครื่องกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการควบคุม การกำหนดอาจเขียนเป็นคำอธิบาย หรือโดยการบอกกล่าวด้วยคำพูดให้ถือปฏิบัติตาม
                     2.3.3 งบประมาณ ได้แก่ แผนการรับและการจ่าย ซึ่งกำหนดขึ้นสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดเป็นเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมและใช้เป็นแผนการควบคุม
                       2.3.4 แผนงาน เป็นแผนซึ่งรวมการใช้ทรัพยากรต่างๆ และการจัดเรียงลำดับของกิจกรรมซึ่งจะต้องทำตามกำหนดระยะเวลาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
                      2.3.5 นโยบาย หมายถึง การตกลงขั้นต้นในการกำหนดแนวทางอย่างกว้างๆ ในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ นโยบายที่ดีจะต้องกำหนดไว้อย่างกว้างๆ สอดคล้องกันและแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาองค์การในที่สุด
                      2.3.6 วิธีปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการของงานทั้งหลายซึ่งเกี่ยวข้องกัน มีการจัดเรียงลำดับพร้อมทั้งกำหนดวิธีปฏิบัติ ตลอดจนจัดสายทางเดินของงานไว้ด้วย วิธีปฏิบัติควรจะแน่นอนมั่นคง จะเปลี่ยนแปลงต่อเมื่อมีเหตุการณ์กระทบต่อการดำเนินงานเท่านั้น
                     2.3.7 วิธีการ หมายถึง ขั้นตอนของวิธีปฏิบัติงานอย่างหนึ่ง และเป็นการกำหนดว่างานขั้นนี้จะต้องปฏิบัติอย่างใด โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ ค่าใช้จ่าย เวลา เงินและกำลัง
             สำหรับหลักการวางแผนโดยทั่วไป จะระบุถึงเป้าหมายที่ตั้งอยู่บนบทบาทขององค์การในสังคมนั้น มีการกำหนดสถานะในปัจจุบัน พิจารณาถึงความต้องการและเป้าหมายในอนาคต มีการกำหนดวิธีดำเนินการหรือหนทางที่จะทำให้เป้าหมายสัมฤทธิผล ตลอดจนกระบวนการวางแผนจะต้องพิจารณาถึงสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ในระหว่างการดำเนินงานจะมีการประเมินหรือวิเคราะห์ผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่าเป้าหมายประสบผลสำเร็จหรือไม่ และจะต้องแก้ไขปรับแผนเพื่อการปรับปรุงอย่างไร
         2.4 ประโยชน์ของการวางแผน
                ประชุม รอดประเสริฐ (2535: 104) ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์หรือข้อดีของการวางแผนต่อการบริหารงานไว้ ดังนี้
                2.4.1 สามารถบอกให้ทราบถึงศักยภาพของปัญหาและโอกาสที่ปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้น
                2.4.2 สามารถปรับปรุงแก้ไขกระบวนการตัดสินใจภายในองค์การหรือหน่วยงานให้ดีขึ้น
                2.4.3 สามารถชี้เฉพาะให้เห็นทิศทาง ค่านิยมและวัตถุประสงค์ในอนาคตของหน่วยงาน
                2.4.4 สามารถช่วยให้แต่ละบุคคลหรือแต่ละหน่วยงานปรับเข้าได้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
                2.4.5 สามารถช่วยผู้บริหารให้มีความมั่นใจในอันที่จะนำความอยู่รอดปลอดภัยมาสู่องค์การและหน่วยงาน
            ธงชัย สันติวงษ์ (2548: 2) กล่าวถึงคุณประโยชน์ที่ได้จากการวางแผนไว้ดังนี้
                1. ช่วยค้นหา ชี้ให้ทราบถึงปัญหาหรือช่วยให้เห็นถึงโอกาสต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
                2. ช่วยปรับปรุงและยกระดับคุณภาพกระบวนการตัดสินใจภายในองค์การให้ดีขึ้น
                3. ช่วยให้การปรับทิศทางอนาคตขององค์การ ตลอดจนค่านิยม และวัตถุประสงค์ขององค์การให้ชัดเจนเสมอ
                4. ช่วยให้แต่ละบุคคลหรือองค์การสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม
                5. ช่วยเหลือผู้บริหารให้มีความมั่นใจที่จะนำองค์การให้อยู่รอด
            Simmons (อ้างถึงใน ธงชัย สันติวงษ์. 2548: 3) กล่าวถึงประโยชน์ของการวางแผนไว้ดังนี้
                1. เพื่อให้ผู้บริหารตระหนักถึงความรับผิดชอบได้ดีขึ้น
                2. ช่วยให้การควบคุมสามารถกระทำได้โดยอาศัย การวัดผลสำเร็จตามแผนงานที่ ทำไป
                3. แผนงานช่วยในการเป็นเครื่องมือในการสื่อความให้ทุกฝ่ายทราบถึงทิศทางขององค์การ และให้ฝ่ายต่างๆ ประสานการทำงานเป็นทีมโดยอาศัยแผนเป็นเครื่องมือ
                4. แผนงานที่ได้ดำเนินอยู่สามารถใช้ตรวจสอบความถูกต้องของนโยบายปัจจุบันโดยสามารถตรวจสอบดูได้จากผลของการปฏิบัติตามแผน เพื่อจะได้มีการปรับแก้ไขนโยบายและเป้าหมายระยะยาวให้ถูกต้อง
                5. การวางแผนช่วยขยายขอบเขตการคิดของผู้บริหาร และช่วยให้ผู้บริหารคล่องตัวในการแก้ปัญหาหรือยกระดับผลงานให้ดีขึ้น เพราะสามารถเพิ่มทัศนวิสัยของการคิดให้กว้างและไกล และสามารถคิดคล่องแคล่วปรับตัวให้ดีขึ้น

3. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579)
       3.1 ความเปนมา
              นับตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้ามาดำเนินการบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีไดมีมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เห็นชอบใหมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติ มีอํานาจหนาที่ในการจัดทํารางยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ป เพื่อใชในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสูความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนและใหเสนอร่างยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ป ใหคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหความเห็นชอบเพื่อใชเปนกรอบในการดําเนินงานในระยะที่ 2 ของรัฐบาล (ป พ.ศ. 2558-2559) และกรอบการปฏิรูปในระยะที่ 3 (ป 2560 เปนตนไป) คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติไดแตงตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ไดแก
           3.1.1 คณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตรและกรอบการปฏิรูป เพื่อจัดทํารางกรอบยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ป
          3.1.2 คณะอนุกรรมการจัดทําแผนปฏิบัติการตามแนวทางการปฏิรูปประเทศ เพื่อจัดทําร่างแผนปฏิบัติการตามแนวทางการปฏิรูปประเทศ (Roadmap) ภายใตยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ป           คณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตรและกรอบการปฏิรูป ไดดําเนินการยกรางกรอบยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ป ตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกําหนด โดยไดมีการนําความคิดเห็นและขอเสนอแนะจากกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติที่มาจากหลายภาคสวน ไดแก ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการเมืองและนักวิชาการรวมถึงไดพิจารณานําขอคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแหงชาติและความคิดเห็นจากภาคประชาชนมาเปนขอมูลในการยกรางยุทธศาสตรชาติดวยและไดนําเสนอร่างกรอบยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ปตอที่ประชุมคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติซึ่งขณะนี้อยูในระหวางการดําเนินการปรับปรุงรางกรอบยุทธศาสตรชาติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติในการดําเนินการขั้นตอไป คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติจะนําเสนอรางกรอบยุทธศาสตรชาติเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและจะไดมีการรับฟงความคิดเห็นจากประชาชน กอนที่จะนําเสนอตอสภานิติบัญญัติแหงชาติใหความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตรชาติมาใชเป็นกรอบในการกําหนดทิศทางในการบริหารประเทศภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเปนชวงเวลาของการประกาศใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) นอกจากนี้แล้วหนวยงานตางๆ จะไดนําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติซึ่งเปนแผนระยะ 5 ป มาถายทอดลงสูแผนปฏิบัติการระดับกระทรวงและแผนพัฒนารายสาขา ในระหวางที่กลไกการจัดทํายุทธศาสตรชาติตามรัฐธรรมนูญฉบับใหมอยูระหวางการดําเนินการ ซึ่งกรอบเวลาการทำงานได้ดำเนินการเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ดังภาพ 6.1



ภาพ 6.1 กรอบเวลาทำงาน (Road Map) ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ที่มา: (กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560–2579. 2559: ออนไลน์)

       3.2 สรุปกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพลศึกษาและกีฬา
            3.2.1 วิสัยทัศน์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์
                      ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
                        1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of culture) เพื่อสร้างคนไทยที่มีคุณภาพ คุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
                        2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
                        3) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning)
                        4) การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents)
                        5) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
                        6) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย
  
            1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of culture)
                    การวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการนำพาประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นเป้าหมายในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยคนไทยในอนาคตต้องเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา สามารถเรียนรู้ ได้ตลอดชีวิต มีทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกรรมนักคิดและผู้ประกอบการ บนฐานของการรู้คุณค่า ความเป็นไทยมีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย ความรับผิดชอบต่อสังคมและมีสุขภาวะที่ดีซึ่งการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีแนวทางการพัฒนาเพื่อรองรับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยต้องมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ควบคู่กับการปฏิรูปที่สำคัญทั้งในส่วนของการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมเพื่อให้คนมีความดีอยู่ใน “วิถี” การดำเนินชีวิตและมีจิตสำนึกร่วมในการสร้างสังคมที่น่าอยู่และมีการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉมในทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงรวมถึงพัฒนา ส่งเสริมและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษของประเทศให้มีจำนวนเพียงพอที่จะผลักดันการเติบโตบนฐานเทคโนโลยี นวัตกรรมและการปฏิรูประบบเสริมสร้างความรอบรู้และจิตสำนึกทางสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีศักยภาพในการจัดการสุขภาวะที่ดีได้ด้วยตนเองพร้อมกับการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็งอบอุ่นซึ่งเป็นการวางรากฐานการส่งต่อเด็กที่มีคุณภาพสู่การพัฒนาในช่วงอายุถัดไป โดยการส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ การสร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็งการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์โดยมีแนวทางและประเด็นพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้
                        1.1) คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความพร้อมทางกาย ใจและสติปัญญา
                        1.2 มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สมบูรณ์
                        1.3 มีสมรรถนะของการเป็นแรงงานทักษะสูง (Sophisticated Worker)
นักนวัตกรรม (Innovator) นักคิด (Thinker) และผู้ประกอบการ (Entreprenuer)
                        1.4 คนมีพื้นฐานหลักของทักษะการเขียนโปรแกรมในศตวรรษที่ 21
                      1.5 มีระดับสติปัญญา (Intelligence Quotient) อารมณ์ (Emotional Quotient) และ คุณธรรมจริยธรรม (Moral Quotient) ที่ได้มาตรฐาน
                        1.6 สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต
                        1.7 เกิดและเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ
                   1.8 คุณสมบัติพื้นฐานคนไทย มีวินัย ตื่นรู้/เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง จิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวม สุขภาพกายใจดี คนมีคุณภาพ คุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
                     1.9 ความรู้และทักษะ ทักษะหลากหลาย คิดวิเคราะห์แยกแยะ ทักษะการคิดเชิงบริหารและทางสังคมดี (STEAM สมบูรณ์แบบ) พูดได้ อย่างน้อย 2 ภาษา สามารถบริหารจัดการเทคโนโลยีภายใน 5 ปีและทำต่อเนื่อง                    
            2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
                        2.1) ช่วงการตั้งครรภ์/แรกเกิด/ปฐมวัย เน้นการเตรียมความพร้อมให้แก่พ่อแม่ก่อนการตั้งครรภ์ ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การส่งเสริมการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อสมองเด็กและให้มีการลงทุนเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้าน
                         2.2) ช่วงวัยเรียน พัฒนาทักษะความสามารถการเรียนรู้ที่สอดรับกับทักษะในศตรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น                                                  
                         2.4) ช่วงวัยรุ่น/นักศึกษา เน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับโลกการทำงาน รวมถึงมุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ วัยเรียน วัยรุ่น/นักศึกษา วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุ เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีทักษะความรู้ และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
                         2.3) ช่วงวัยผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศผ่านการเสริมทักษะการดำรงชีวิต ทักษะอาชีพในการหารายได้ มีงานทำที่เหมาะสมกับศักยภาพ มีการสร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่ผู้สูงอายุ
              3) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning)
                      การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตรวรรษที่ 21 โดยออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับชั้นอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการใช้ฐานความรู้และระบบคิดใน 5 ศาสตร์สำคัญประกอบด้วย
                        3.1) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการตั้งคำถาม (Science)
                        3.2) ความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (Technology)    
                        3.3) ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และการคิดเพื่อหาทางแก้ปัญหา (Engineering)
                        3.4) ความรู้และทักษะทางศิลปะ (Art)
                        3.5) ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และระบบคิดของเหตุผลและการหาความสัมพันธ์ (Mathematics)
                      การเปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่โดยปรับบทบาทจากจาก “ครูสอน” เป็น “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” ทำหน้าที่กระตุ้น แนะนำวิธีเรียนรู้และวิธีจัด
ระเบียบการสร้างความรู้และมีบทบาทเป็นนักวิจัยพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อผลสัมฤทธิ์ของเด็ก รวมทั้งปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูตั้งแต่การดึงดูด คัดสรร ผู้มีความสามารถสูงให้เข้ามาเป็นครูคุณภาพ และสร้างเครือข่ายพัฒนาครูให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
              4) การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents)
                     การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา ครอบคลุมเรื่องกลไกในการคัดกรองและการส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษอย่างถูกต้อง การจัดให้มีโรงเรียนรองรับสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเหมาะสม                              
              5) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
                    5.1) การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) โดยพัฒนาองค์ความรู้และการสื่อสารด้านสุขภาพที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ให้แก่ประชาชนจนเกิดเป็น ทักษะทางปัญญาและสังคมที่เป็นการเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขภาวะตนเองของประชาชน
                    5.2) การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาพ โดยผลักดันการสร้างเสริมสุขภาพในทุกนโยบาย (Health in All Policies) ที่ให้หน่วยงานทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อลดภัยคุกคามที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสุขภาวะคนไทย                       
                    5.3) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีโดยส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและเอื้อต่อการมีกิจกรรมสำหรับยกระดับสุขภาวะของสังคม จัดทำมาตรการทางการเงินการคลังที่สนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ                       
                    5.4) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการสร้างความเลิศทางด้านบริการทางการแพทย์และสุขภาพแบบครบวงจรและทันสมัย ที่รวมไปถึงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการให้คำปรึกษาวินิจฉัย และพยากรณ์การเกิดโรคล่วงหน้า มีการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เข้ากับอินเทอร์เน็ต (Internet of link) ทางด้านสุขภาพ อาทิ การพัฒนาอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Devices) ในการวัดอัตราการเต้นชีพจรหัวใจและส่งข้อมูลให้แพทย์ทราบทันที
                    5.5) การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่ โดยให้ชุมชนเป็นแหล่งบ่มเพาะจิตสำนึกการมีสุขภาพดีของประชาชน ผ่านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างสุขภาวะที่พึงประสงค์ระหว่างกัน โดยรัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)

              6) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย
                      6.1) การส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ โดยการสร้างบุตรที่มีคุณภาพ มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับกลุ่มคนก่อนก้าวมาเป็นพ่อแม่ ตั้งแต่การพัฒนา การเข้าถึงบริการสุขภาพ การส่งเสริมวางแผนครอบครัว การตรวจเช็คความพร้อมในการสร้างครอบครัว
                      6.2) การสร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่โดยส่งเสริมความรู้ในการวางแผนชีวิตที่เหมาะสมกับค่านิยมของคนรุ่นใหม่ มุ่งเน้นการให้ความรู้ผู้ที่จะมาเป็นพ่อแม่/ผู้ปกครองในเรื่องโภชนาการ วิธีการเลี้ยงดู วิธีการสื่อสารและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมบนฐานความรู้ทางวิชาการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์และถึงช่วงอายุต่าง ๆ ของการเลี้ยงดูบุตร
                       6.3) การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง โดยเน้นการส่งเสริมนโยบายการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน การสนับสนุนบทบาทของชุมชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้ามาเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวเปราะบาง

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
        สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดทำ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ขึ้นในช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกันมากขึ้นโดยได้น้อมนำหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9-11 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงเกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ เพื่อมุ่งสู่ ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
          การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการเชื่อมต่อกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในลักษณะการแปลงยุทธศาสตร์ระยะยาวสู่การปฏิบัติ โดยในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดประเด็นการพัฒนา พร้อมทั้งแผนงาน/โครงการสำคัญที่ต้องดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วง 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคมและระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม จึงสรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาและการพลศึกษาดังนี้ (http://www.nesdb.go.th/download/plan12. 2559: ออนไลน์)
           4.1 สาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ในส่วนที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กับการพลศึกษาและกีฬา
                การพัฒนาประเทศตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทยมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อวางรากฐานของประเทศในระยะยาวให้มุ่งต่อยอดผลสัมฤทธิ์ของแผนที่สอดคล้องเชื่อมโยงและรองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกันไปตลอด 20 ปี ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2560-2579) โดยสรุปภาพรวมได้ ดังนี้
                     4.1.1 หลักการ ยึดหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ยั่งยืนและ คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนายึดวิสัยทัศน์ของกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่วนแนวทางการพัฒนาได้บูรณาการนโยบายหรือประเด็นพัฒนาที่สำคัญของประเด็นการปฏิรูปประเทศและไทยแลนด์ 4.0
                    4.1.2 จุดเปลี่ยนสำคัญ จะเป็นแผนแรกที่ถูกใช้ให้เป็นกลไกเชื่อมโยงสู่การขับเคลื่อนการพัฒนา ซึ่งกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่จะต้องบรรลุผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนา โดยได้กำหนดแผนงาน/โครงการสำคัญ (Flagship Program) และประเด็นพัฒนาเชิงบูรณาการที่สำคัญ
                     4.1.3 ประเด็นการพัฒนาหลักที่สำคัญ ประเทศไทยแม้ว่าได้ดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดี มีการขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระบบโครงข่ายมากขึ้น และมีการเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นที่มีลักษณะการบูรณาการในการประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างแท้จริง ในประเด็นต่างๆ ดังนี้                      
                             1) การเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากร
ในทุกช่วงวัย มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยพัฒนาคนให้เหมาะสมตามช่วงวัย เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัยและมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม ตลอดจนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาพดีที่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพและการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ
                             2) การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ให้ความสำคัญกับการจัดบริการของรัฐที่มีคุณภาพทั้งด้านการศึกษาและสาธารณสุขให้กับผู้ที่ด้อยโอกาส
            4.2 การประเมินสภาพแวดล้อมการพัฒนาประเทศ
                   คุณภาพคนไทยทุกกลุ่มวัยยังมีปัญหาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทยยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ขณะที่คนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุจะส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐ นอกจากนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมและไม่ตระหนักถึงความสำคัญของระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์และการมีจิตสาธารณะ
           4.3 วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา
                     4.3.1 วัตถุประสงค์ เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย ค่านิยมที่ดี มีจิตสาธารณะและมีความสุข โดยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี                                    
                     4.3.2 เป้าหมายรวม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้กำหนดเป้าหมายรวมการพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดยให้คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีวินัย มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีความเจริญงอกงามทางจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียงและมีความเป็นไทย               
            4.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา
                    ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนามี 6 ยุทธศาสตร์ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและอีก 4 ยุทธศาสตร์ที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ดังนี้
                     4.4.1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศไทยยังมีปัญหาในด้านคุณภาพคนในแต่ละช่วงวัย โดยผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่ำ จึงต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ มีสุขภาวะที่ดีขึ้น แนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ประกอบด้วย
                             1) ปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์
                              2) พัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะ ความรู้และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
                              3) ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                              4) ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและให้ทุกภาคส่วนคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ
                        5) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบสุขภาพภาครัฐและปรับระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ                        
                     4.4.2 ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แนวทางการพัฒนาสำคัญ ประกอบด้วย การกระจายการให้บริการภาครัฐทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมและทั่วถึง
            4.5 การขับเคลื่อนแผน
                   มีหลักการและแนวทางดำเนินงาน สรุปได้ ดังนี้
                     4.5.1 หลักการ คือ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศโดยยึดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นกรอบทิศทางหลักและแปลงสู่การปฏิบัติในระดับต่างๆ ที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม                         
                     4.5.2 แนวทางการขับเคลื่อน สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนแผนของภาคีการพัฒนาต่างๆ โดยกำหนดให้มีการผลักดันปัจจัยหลักให้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญ
            4.6 การติดตามประเมินผล
                    มีแนวคิด หลักการ และแนวทางดำเนินการแบบมีส่วนร่วม เน้นการติดตามประเมินผลที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559: 1-4)

5. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ                     
          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) ถือเป็นแผนแม่บทหลักในการพัฒนาประเทศที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมายบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 นั้น มีหลักการสำคัญคือยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาดังนั้น ภายใต้วิสัยทัศน์มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคมของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) จึงได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และวางเป้าหมายที่สามารถตอบสนองการพัฒนาที่สำคัญในด้านต่างๆ และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการพลศึกษา คือ
                ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
                ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา                             
                ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคนรวมทั้งงานวิจัย                  
                ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้
อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 
                ยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา                
                ยุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
            ในขั้นตอนการกำหนดสาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) ข้างต้นซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายหลัก วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์นั้นจะเน้นให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (.. 2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) แผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ  ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) และเเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2560-2564)  กับทิศทางที่จะพัฒนาการศึกษาในมิติต่างๆ ทั้งในมิติด้านความมั่นคง มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคมและมิติด้านการบริหารจัดการภาครัฐรวมทั้งได้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน (SWOT) ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. 2559: 2-3)
        5.1 แผนพัฒนาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพลศึกษา
                 ส่วนที่ 1 เหตุผลความจำเป็นในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564)                              1. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
                             2. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคอาเซียนและสังคมโลก                                
                             3. สถานการณ์และกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาคการศึกษาของประเทศ
                             4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในการปกครองประเทศ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการพลศึกษา ได้แก่
                                    4.1 การศึกษา
                                    4.2 สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
                                    4.3 สังคม
                                    4.4 ด้านอื่นๆ
          5.2. กรอบหลักการของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564)  
ที่มีอิทธิพลต่อการพลศึกษา
                  5.2.1 หลักการของแผน คือ การที่จะพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาคนให้มีการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ยึดกรอบหลักการที่สำคัญมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาการพลศึกษา โดยปรากฏสาระสำคัญและประเด็นความเชื่อมโยง ดังนี้
                           1) สาระสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (.. 2560-2579) ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติที่สัมพันธ์กับการพลศึกษา คือ
                                       1.1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
                                       1.2) ยุทธศาสตร์การเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม            
                                 2) สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) มียุทธศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการพลศึกษา คือ                           
                                       2.1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
                                       2.2) ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                                3) สาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) โดยมี
ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพลศึกษา คือ
                               3.1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
                                  3.2) ยุทธศาสตร์ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
                                      3.3) ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรม รองรับความต้องการของตลาดงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                                      3.4) ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
                                      3.5) ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วน
                  5.2.2 การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (.. 2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.. 2560-2564) กับทิศทางการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในมิติด้านต่างๆ และสัมพันธ์กับการพลศึกษา คือ การพัฒนาในระดับภาค เมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ  การพัฒนาภาคในระยะต่อไปจะให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบ
  
          5.3 มิติด้านสังคม
                  5.3.1 ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสบนความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
                          1) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
                          2) การพัฒนาศักยภาพคนในทุกช่วงวัย
                          3) การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียมและทั่วถึง
                          4) การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม                                          
                 5.3.2 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาทุนศักยภาพมนุษย์
                          1) เป้าหมายการพัฒนา
                                 1.1) คนไทยทุกกลุ่มวัยมีทักษะและความรู้ความสามารถที่จะเป็นฐานในการพัฒนาประเทศ
                                 1.2) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ
                                 1.3) คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพที่ลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                                 1.4) คนไทยมีจิตสานึกพลเมืองที่มีทัศนคติและพฤติกรรมที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคมไทย
                                 1.5) เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมของภาครัฐ
                          2) แนวทางการพัฒนา
                               2.1พัฒนาศักยภาพคนทุกกลุ่มวัยให้มีทักษะและความรู้ความสามารถ
                               2.2) ยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาคุณภาพครู โดยปรับหลักสูตรการผลิตครูให้อิงสมรรถนะมีจิตวิญญาณความเป็นครู ให้เป็นผู้แนะนำ
                               2.3) หล่อหลอมคนไทยให้มีความเป็นพลเมืองที่ดีตามบรรทัดฐานของสังคมโดยการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและการมีระเบียบวินัย
                               2.4) กระจายการให้บริการภาครัฐทั้งด้านการศึกษาและการสาธารณสุข (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2559: ออนไลน์)

6. เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
          การจัดทำแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางพัฒนาการกีฬาของประเทศ
ครอบคลุมตั้งแต่กีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬามวลชน กีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาอาชีพ รวมถึงการบริหารจัดการด้านการกีฬา เป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงได้จัดทำแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ 6 (.. 2560-2564) ที่สอดคล้องกับยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564)
           แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2560-2564) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการแล้วเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จะได้ใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อช่วยผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้การกีฬาเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตประชาชนทุกภาคส่วน และเป็นกลไกสำคัญในการสร้างคุณค่าทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทย รวมถึงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในระดับสากลและต่อยอดสู่ระดับอาชีพเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับบุคลากรกีฬา โดยจะเชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งนับว่าเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาการกีฬาของประเทศ
       6.1 สรุปสาระสำคัญ
              6.1.1 สภาพปัจจุบัน
                         การกีฬานับได้ว่ามีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติดังนั้นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการกีฬา จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2560-2564) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปใช้เป็นกรอบทิศทางการดำเนินการและเป็นกลไกหลักในการพัฒนาการกีฬาของประเทศให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีความ มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนโดยได้มีการดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนหลัก ซึ่งประกอบด้วย
                         1) การศึกษาสภาพแวดล้อมและบริบทของการพัฒนาการกีฬา
                         2) การทบทวนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านการกีฬาของหน่วยงานต่างๆ
                         3) การศึกษาแผนปฏิรูปการกีฬาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
                         4) การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2555-2559)
                         5) การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในวงการกีฬาและการจัดการประชุมกลุ่มย่อยรับฟังคิดเห็น
              6.1.2 สถานการณ์ แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาการกีฬา
                          การกีฬาของประเทศได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยมีนักกีฬาอาชีพคนไทยหลายคนที่ประสบความสำเร็จในเวทีระดับนานาชาติและสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองและประเทศ มีการตราพระราชบัญญัติหลายฉบับเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการกีฬา มีการส่งเสริมกีฬาอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม มีการจัดสรรงบประมาณที่เป็นระบบและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการกีฬา
               6.1.3 การทบทวนผลดำเนินการตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 25552559) ได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาอุปสรรคสำคัญในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
                         1) การพัฒนาการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐานไม่ได้เป็นนโยบายและเป้าหมายหลักสำหรับระบบการศึกษา
                         2) การพัฒนาการออกกำลังกายและการกีฬาเพื่อมวลชนยังไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
                         3) การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศยังไม่สามารถพัฒนานักกีฬาไทยให้ประสบความสำเร็จในมหกรรมกีฬานานาชาติได้อย่างสม่ำเสมอ
                         4) การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาแต่กีฬาอาชีพหลายประเภทยังคงต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ 

                         5) การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ประชาชนทั่วไปขาดความเข้าใจขั้นพื้นฐานและขาดความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์การกีฬา

                         6) การพัฒนาการบริหารจัดการการกีฬาและการออกกำลังกาย ไม่มีคณะกรรมการกลางที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการกีฬาของประเทศ
                6.1.4 แนวโน้มของการกีฬาของโลกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกเห็นได้จากมีพัฒนาการที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง
                   6.1.5 การพัฒนาวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ จึงได้คำนึงถึงสภาวการณ์ด้านการพัฒนาการกีฬาของประเทศในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดแข็งและแนวโน้มที่อาจจะส่งผลกระทบกับการพัฒนาการกีฬาของประเทศ
       6.2 วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
                แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2560-2564) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ดังนี้
               6.2.1 วิสัยทัศน์
                        การกีฬาเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตประชาชนทุกภาคส่วนและเป็นกลไกสำคัญในการสร้างคุณค่าทางสังคมและส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศโดยมีหลักแนวคิดเพื่อการกำหนดแนวทางการพัฒนา
               6.2.2 เป้าประสงค์
                     1) ประชาชนทุกภาคส่วนมีความสนใจในการออกกาลังกายและเล่นกีฬา                                           
                     2) นักกีฬาผู้แทนของประเทศไทยประสบความสำเร็จในการแข่งกีฬาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับทวีปและระดับโลก
                     3) อุตสาหกรรมการกีฬาของประเทศไทยสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศและมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
               6.2.3 ตัวชี้วัด
                     1) ประชากรทุกภาคส่วนออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งประเทศ
                     2) อันดับการแข่งขันกีฬาในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติของนักกีฬาไทยไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 7 ของเอเชียในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ อันดับที่ 6 กีฬาเอเชียนเกมส์ และอันดับที่ 1 กีฬาซีเกมส์ และอันดับของนักกีฬาคนพิการไทย ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 6 ของเอเชียในการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ และอันดับที่ 1 กีฬาอาเซียนพาราลิมปิกเกมส์
                     3) มูลค่าอุตสาหกรรมการกีฬามีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
               6.2.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา
                        ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมให้เกิดความรู้และความตระหนักด้านการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐาน                    
                         ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมให้มวลชนมีการออกกำลังกายและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการกีฬา                     
                        ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและต่อยอดเพื่อความสำเร็จในระดับอาชีพ
                        ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
                        ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
                        ยุทธศาสตร์ที่ 6 การยกระดับการบริหารจัดการด้านการกีฬาให้มีประสิทธิภาพ                 
        6.3 การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ
                6.3.1 หลักการ
                           การกีฬานับเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนดังคำกล่าวที่ว่า กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติซึ่งมีนัยคือการที่ประเทศชาติจะพัฒนาได้นั้นจำเป็นต้องมีบุคลากรการกีฬา โครงสร้างพื้นฐานด้านการกีฬา กิจกรรมด้านการกีฬา องค์กรกีฬา องค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
              6.3.2 สถานการณ์ แนวโน้มและทิศทางการพัฒนากีฬา
                          การกีฬาถือเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของประชากรทั่วโลกมาเป็นเวลานาน มีพัฒนาการหลากหลายมิติและมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
                         1) สถานการณ์และแนวโน้มการกีฬาของโลก
                            1.1) ความตื่นตัว การเอาใจใส่สุขภาพและการออกกำลังกายที่เพิ่มมากขึ้น                                              
                             1.2) การผลักดันและส่งเสริมการกีฬามวลชนโดยภาครัฐ                                 
                             1.3) โลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจการกีฬาที่เปลี่ยนไป
                            1.4) การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชากร
                             1.5) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอล
                        2) พัฒนาการทางการกีฬาเฉพาะกลุ่ม (Segment-specific trends) สามารถจำแนกแนวโน้มของการพัฒนาการกีฬาเฉพาะกลุ่มในภาพรวมของโลกและภูมิภาคออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
                            2.1) กีฬาอาชีพ (Professional Sports)
                             2.2) กีฬาเพื่อความบันเทิงและนันทนาการ (Recreational Sports)
                         3) แนวโน้มการกีฬาที่สำคัญ สรุปได้ 7 ประการ ดังนี้
                             3.1) การเอาใจใส่ต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย
                             3.2) การผลักดันการกีฬาเพื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง
                             3.3) ความนิยมกีฬาผาดโผน (X-treme Sports)
                             3.4) การแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
                             3.5) การกีฬากับวิถีชีวิตสมัยใหม่
                             3.6) อาสาสมัครการกีฬา
                             3.7) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรูปแบบใหม่เพื่อประโยชน์ต่อวงการกีฬา          
       6.4 สถานการณ์และแนวโน้มการกีฬาของประเทศไทย
               6.4.1 สถานการณ์การกีฬาโดยรวม การกีฬามีส่วนเกี่ยวข้องกับประชากรทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งประชาชนทั่วไป กลุ่มนักกีฬาและผู้เล่นเพื่อการอาชีพ กลุ่มคนพิการและกลุ่มนักท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเล่นกีฬาของแต่ละกลุ่มบุคคล ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มการออกกำลังกายและเล่นกีฬาลดลงในทุกกลุ่มอายุ ในรอบทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและได้ส่งนักกีฬาไทยเข้าร่วมมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติหลายรายการ แต่ผลงานในภาพรวมยังขาดความสม่ำเสมอ ดังเห็นได้จากผลงานโดยสรุปของนักกีฬาซึ่งยังไม่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างชัดเจนและยังไม่ต่างจากจุดที่ประเทศเคยยืนอยู่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ดังตาราง 6.1
  
       ตาราง 6.1 สรุปผลงานของนักกีฬาไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์และกีฬาเอเชียนเกมส์ 4 ครั้งล่าสุด


ปี
สถานที่
จำนวนเหรียญ
อันดับ
โอลิมปิกเกมส์
2547
เอเธนส์
8
25
2551
ปักกิ่ง
4
31
2555
ลอนดอน
4
57
2559
ริโอ เดอจาเนโร
6
35
เอเชียนเกมส์
2545
ปูซาน
42
6
2549
โดฮา
54
5
2553
กวางโจว
52
9
2557
อินชอน
47
6

ตาราง 6.1 สรุปผลงานของนักกีฬาไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์
และกีฬาเอเชียนเกมส์ 4 ครั้งล่าสุด
ที่มา: (การกีฬาแห่งประเทศไทย. 2559: ออนไลน์)

              6.4.2 สถานการณ์อุตสาหกรรมการกีฬา
                      อุตสาหกรรมการกีฬาของประเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 สาขาหลัก คือ
                         1) ภาคการผลิตสินค้า ประกอบด้วย อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้ากีฬา อุปกรณ์ วิทยาศาสตร์การกีฬาและการก่อสร้างสนามกีฬา
                         2) ภาคบริการการกีฬา โดยสามารถแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาออกเป็น 12 กลุ่ม (ผลการศึกษาของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสมาคมจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย. 2558: 25) ได้แก่
                              2.1) กลุ่มธุรกิจประเภทสถานที่บริการออกกำลังกาย
                              2.2) กลุ่มสโมสรกีฬาสมัครเล่น
                              2.3) กลุ่มสื่อสารมวลชนกิจกรรมการตลาดและโฆษณา การประชาสัมพันธ์ทางการกีฬา 
                              2.4) กลุ่มการจัดการแข่งขันกีฬา
                              2.5) กลุ่มการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและนันทนาการ
                              2.6) กลุ่มการจัดการสิทธิประโยชน์และลิขสิทธิ์ทางการกีฬา
                              2.7) กลุ่มการบริการทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
                              2.8) กลุ่มสถาบันผู้ผลิตบุคลากรการกีฬา
                              2.9) กลุ่มผู้ค้าปลีกและค้าส่งอุปกรณ์กีฬา
                              2.10) กลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬา
                              2.11) กลุ่มผู้นำเข้าและส่งออกอุปกรณ์กีฬา
                              2.12) กลุ่มกีฬาอาชีพ                 
        6.5 ผลการพัฒนาการกีฬาในระยะที่ผ่านมา
              การดำเนินงานพัฒนาการกีฬาของประเทศในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531 –2539) ถึงปัจจุบันคือแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560–2564) ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาตามกลุ่มเป้าหมายด้านกีฬา 4 ด้าน สรุปผลการพัฒนาได้ดังนี้
               6.5.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการออกกำลังกายและกีฬาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาการกีฬายังไม่ได้ตามเป้าหมาย การพัฒนาหลักของระบบการศึกษาไทยขาดการวางพื้นฐานการเล่นกีฬาที่ครอบคลุมให้กับเด็กและเยาวชน ตลอดจนขาดแคลนบุคลากรด้านพลศึกษาหรือครูพลศึกษาที่มีความรู้และทักษะด้านพลศึกษาหรือการกีฬา
                  6.5.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาเพื่อมวลชน ยังไม่สามารถถูกขับเคลื่อนให้ประสบผลสำเร็จได้
                   6.5.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ผลงานของนักกีฬาทีมชาติไทยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์และการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ทั้ง 2 มหกรรมกีฬา ไม่สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้
                   6.5.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ ในระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนากีฬาบางประเภทที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นกีฬาอาชีพอย่างเต็มตัว อาทิ กีฬาฟุตบอลหรือกีฬาวอลเลย์บอล ที่สามารถเติบโตและประสบความสำเร็จในการก้าวขึ้นเป็นกีฬาอาชีพ สามารถสร้างรายได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน
                6.5.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ประชากรโดยทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
                  6.5.6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารการกีฬาและการออกกำลังกาย มีการจัดสรรงบประมาณที่เป็นระบบและมีความชัดเจน
        6.6. นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการกีฬาของประเทศ
                 6.6.1 วาระการพัฒนาภายหลังปี 2558 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบการพัฒนาของสหประชาชาติ (United Nation: UN) ได้ริเริ่มกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี 2558 ตามกระบวนทัศน์ การพัฒนาที่ยั่งยืน
                6.6.2 การพัฒนาการกีฬาในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) การพัฒนาเพื่อการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นภายใต้กฎบัตรอาเซียนที่มีความมุ่งหวังให้เกิดความเป็นเอกภาพ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม
                6.6.3 ทิศทางการพัฒนาการกีฬาตามของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) จากการพัฒนาที่ผ่านมา พบว่าศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยยังคงต่ำกว่าเป้าหมายและไม่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในด้านความรู้ โดยเฉพาะประเด็นสุขภาพ
                6.6.4 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีการบัญญัติเรื่องการกีฬาและบทบาทหน้าที่ของการกีฬาไว้อย่างชัดเจน
                 6.6.5 วาระปฏิรูปด้านการกีฬาของประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติโดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬาได้จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางวาระปฏิรูปด้านการกีฬาของประเทศ โดยรัฐจะต้องปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกในระดับรากฐานที่มีต่อการกีฬาของประชาชนในประเทศ
       6.7. สรุปผลการวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสการพัฒนาการกีฬาไทย
               ผลการทบทวนและประเมินแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2555-2559) แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่สามารถพัฒนาการกีฬาไทยให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เด็กและเยาวชนยังไม่ได้รับการเรียนการสอนด้านพลศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนทั่วไปไม่ได้รับการส่งเสริมให้ออกกำลังกายและเล่นกีฬาจนเป็นวิถีชีวิต ความสำเร็จด้านการกีฬายังขาดความต่อเนื่อง อีกทั้งอุตสาหกรรมการกีฬายังไม่ได้รับการผลักดันให้มีการเติบโตอย่างเป็นรูปธรรม
       6.8 วิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนา
                6.8.1 วิสัยทัศน์การพัฒนาการกีฬาไทย ไปสู่ปี พ.ศ. 2579 การจัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาการกีฬาไทย  เป็นการดำเนินการในช่วงเวลาที่สำคัญของประเทศ คือ ช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ดังนี้
                            1) ความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล
                            2) ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
                            3) ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
               6.8.2 เป้าหมายการพัฒนา
                         1) เด็กและเยาวชน ทุกกลุ่มและทุกพื้นที่ มีความตระหนัก มีความรู้และทักษะในกิจกรรมทางกายการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาได้อย่างน้อย 1 ชนิดกีฬา
                         2) ประชาชนทุกภาคส่วนมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการออกกำลังกายและเล่นกีฬา โดยมีส่วนร่วมในการกำหนดและมีโอกาสเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการกีฬาของชุมชนท้องถิ่น
                          3) ระบบการเฟ้นหาและพัฒนานักกีฬาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับ ควบคู่ไปกับการมีศูนย์ฝึกซ้อมกีฬาและระบบการจัดการแข่งขันที่ได้มาตรฐาน

                          4) อุตสาหกรรมการกีฬาและการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ (Sport Tourism) ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง รวมทั้งมีเมืองกีฬา (Sport City) และระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                         5) โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากรและหน่วยงานหลักสามารถบูรณาการงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการกีฬา
                         6) บูรณาการความร่วมมือของส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการพัฒนาต่อยอดแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ผ่านมา ขับเคลื่อนการบริหารจัดการกีฬาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
              6.8.3 เป้าประสงค์
                         1) ประชาชนทุกภาคส่วนมีความสนใจในการออกกำลังกายและเล่นกีฬา โดยมีสัดส่วนประชากรที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั่วประเทศ
                         2) นักกีฬาผู้แทนของประเทศไทยประสบความสำเร็จในการแข่งกีฬาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับทวีปและระดับโลก เพื่อสร้างความสมานสามัคคีและนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ                                          
                         3) อุตสาหกรรมการกีฬาของประเทศไทยสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศและมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน โดยมีอัตราการเติบโตของรายได้จากอุตสาหกรรมการกีฬาไม่ต่ำกว่าอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา 
                6.8.4. ตัวชี้วัด
                           1) ประชากรทุกภาคส่วนออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งประเทศ
                              2) อันดับการแข่งขันกีฬาในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติของนักกีฬาไทยไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 7 ของเอเชียในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ อันดับที่ 6 กีฬาเอเชียนเกมส์ และอันดับที่ 1 กีฬาซีเกมส์ และอันดับของนักกีฬาคนพิการไทยไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 6 ของเอเชียในการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ อันดับที่ 6 กีฬาเอเชียนพาราลิมปิกเกมส์ และอันดับที่ 1 กีฬาอาเซียนพาราลิมปิกเกมส์
                              3) มูลค่าอุตสาหกรรมการกีฬามีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
           6.8.5. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
                     ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมให้เกิดความรู้และความตระหนักด้านการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐาน
                     1) เป้าประสงค์
                          1.1) เด็กและเยาวชน มีความเข้าใจและตระหนักในกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาเพิ่มมากขึ้น
                          1.2) เด็กและเยาวชน ทุกกลุ่มและทุกพื้นที่ มีสุขภาพร่างกายตามเกณฑ์มาตรฐาน
                          1.3) เด็กและเยาวชน มีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายและกีฬาที่ถนัดได้อย่างน้อย 1 ชนิดกีฬาพร้อมกับมีความสำนึกถึงความมีระเบียบวินัยและน้ำใจนักกีฬา
                    2) ตัวชี้วัด
                         2.1) เด็กและเยาวชนทั่วประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย
                         2.2) มีครูพลศึกษาในสถานศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนสถานศึกษาทั่วประเทศภายในปี พ.ศ. 2564
                         2.3) มีการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาผ่านโครงการ 1 โรงเรียน 1 กีฬาในสถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ
                        2.4) มีการจัดกิจกรรมการให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬานอกสถานศึกษาในทุกตำบลทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี
                         2.5) มีการเพิ่มวาระการประชุมเรื่องการพัฒนาการกีฬาในการประชุมของสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี
                    3) แนวทางการพัฒนา
                        3.1) เร่งสร้างและพัฒนาพลศึกษาและสุขศึกษาในสถานศึกษาทั่วประเทศ
                              3.1.1) ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษา                                     

                              3.1.2) พัฒนาคุณภาพของครูพลศึกษาให้มีมาตรฐานและจัดสรรให้มีการบรรจุครูพลศึกษาในสถานศึกษาทั่วประเทศ
                              3.1.3) จัดให้มีอุปกรณ์และสถานที่เพื่อการออกกำลังกายขั้นพื้นฐานตามสถานศึกษาตั้งแต่ระดับท้องถิ่น
                             3.1.4) ส่งเสริมและพัฒนาการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา
                             3.1.5) ส่งเสริมการพัฒนาการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐานในชุมชนท้องถิ่นนอกสถานศึกษา
                             3.1.6) ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐานนอกหลักสูตรสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อเพิ่มความตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย                             
                             3.1.7) พัฒนาและส่งเสริมให้มีอาสาสมัครและผู้นำในระดับเยาวชน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านการออกกำลังกายและการกีฬา
                             3.1.8) เพิ่มความตระหนักและเสริมสร้างน้ำใจนักกีฬา ผ่านการประชาสัมพันธ์และการตลาดที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนได้
                      3.2) จัดวางระบบโครงข่ายและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและชุมชน
                            3.2.1) จัดตั้งเครือข่ายการกีฬาระหว่างชุมชนและสถานศึกษา พร้อมทั้งเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของสถาบันครอบครัว
                            3.2.2) ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
                    ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมให้มวลชนมีการออกกำลังกายและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการกีฬาเพื่อเสริมสร้างการออกกำลังกายสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศและทุกวัย
                      1) เป้าประสงค์
                          1.1) ประชาชนทุกภาคส่วนมีสุขภาพโดยเฉลี่ยที่ดีขึ้นจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา
                                1.2) มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการกีฬาที่มีมาตรฐานและสามารถรองรับกิจกรรมกีฬาของประชาชนทุกกลุ่มอายุอย่างมีความเสมอภาคกัน
                              1.3) สร้างโอกาสในการเข้าถึงและมีการประชาสัมพันธ์ถึงกิจกรรมและการบริการทางการกีฬา รวมทั้งสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและร่วมดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านการกีฬาของชุมชนท้องถิ่น

                              1.4) มีอาสาสมัครทางการกีฬาและผู้นำการออกกำลังกายที่มีความพร้อมในการช่วยเหลือหรือให้การดูแลการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายของชุมชนท้องถิ่น
                      2) ตัวชี้วัด
                               2.1)  มีการจัดเตรียมและพัฒนาสถานกีฬาสาธารณะไม่น้อยกว่า 1 แห่งต่อตำบล
                               2.2) มีการจัดอุปกรณ์การออกกำลังกายและเล่นกีฬาไม่น้อยกว่า 5 ชนิดกีฬาต่อตำบลต่อปี
                               2.3) มีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อมวลชนทั่วประเทศที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี
                              2.4) จำนวนบุคลากรและผู้นำทางกีฬาและนันทนาการได้รับการพัฒนา ผ่านการประเมินและทดสอบ ถูกติดตามและบันทึกอย่างถูกต้อง โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
                                2.5) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ยของประชากรทั่วประเทศ ดีขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสากล
                                2.6) มีอาสาสมัครทางการกีฬาครบทุกหมู่บ้าน และไม่น้อยกว่า 1 คนต่อจำนวนประชากร 900 คน
                      3) แนวทางการพัฒนา
                          3.1) จัดหาและพัฒนาสถานที่และอุปกรณ์กีฬาที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของมวลชน
                           3.2) เสริมสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาสำหรับประชากรทุกกลุ่ม
                          3.3) ส่งเสริมการพัฒนาอาสาสมัครและบุคลากรการกีฬาเพื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ
                  ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและต่อยอดเพื่อความสำเร็จในระดับอาชีพ
                     1) เป้าประสงค์
                             1.1) มีระบบการเลือกสรรและพัฒนานักกีฬาระดับเด็กและเยาวชนที่มีพรสวรรค์และทักษะ เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
                             1.2) มีศูนย์ฝึกซ้อมกีฬาที่ได้มาตรฐาน เพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นศูนย์กลางการฝึกซ้อมกีฬา (Sport Training Hub) ในอาเซียน
                             1.3) มีการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพที่ได้มาตรฐานสากลในประเทศไทยมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของนักกีฬา บุคลากรการกีฬาและสโมสรกีฬาอาชีพ
                             1.4) นักกีฬาไทยมีพัฒนาการด้านสถิติและผลการแข่งขันที่ดีขึ้นและได้รับสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในชนิดกีฬาที่สำคัญ
                            1.5) มีการเชิดชูเกียรติและการดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพของนักกีฬาและบุคลากรการกีฬาที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศอย่างเหมาะสม
                     2) ตัวชี้วัด
                             2.1) จำนวนนักกีฬาสมัครเล่นได้ถูกติดตามและบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องและมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
                             2.2) มีการพัฒนาบุคลากรการกีฬา (ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินและผู้บริหารการกีฬา) ที่ได้มาตรฐานและมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของบุคลากรการกีฬาที่ได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
                             2.3) มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ (Nation Training Centre, NTC) และมีการจัดทำแผนจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติในส่วนภูมิภาค
                            2.4) มีอย่างน้อย 10 ชนิดกีฬาได้รับการพัฒนามาตรฐานการเก็บตัวฝึกซ้อมแข่งขันในรูปแบบศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติภายในปี 2564
                            2.5) นักกีฬาและบุคลากรการกีฬาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของตน
                            2.6) สัดส่วนนักกีฬาอาชีพที่เข้าร่วมการแข่งขันในรายการที่ระบุอยู่ในพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพมาลงทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ภายในปี 2564
                            2.7) มูลค่าทางเศรษฐกิจในการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ ไม่น้อยกว่า 8,000 ล้านบาท ภายในปี 2564
                   3) แนวทางการพัฒนา
                              3.1) เลือกสรรและพัฒนานักกีฬาที่มีความสามารถทางการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
                              3.2) พัฒนาบุคลากรการกีฬาอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานสากล เพื่อการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและการอาชีพอย่างยั่งยืน         
                              3.3) สร้างและพัฒนาศูนย์บริการการกีฬาและศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติที่เป็นมาตรฐาน
                             3.4) ส่งเสริมและจัดเตรียมการดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพของนักกีฬาและบุคลากรการกีฬา
                             3.5) การส่งเสริมและพัฒนากีฬาเพื่อการอาชีพอย่างเป็นระบบ
                    ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาแบบครบวงจร
                      1) เป้าประสงค์
                              1.1) อุตสาหกรรมการกีฬาได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังจากภาครัฐและได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินต่างๆ นอกเหนือจากภาครัฐ
                              1.2) การกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ (Sport Tourism) ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง และเมืองกีฬา (Sport City) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการกีฬา
                              1.3) อุตสาหกรรมการกีฬามีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทยอย่างมีเสถียรภาพ
                      2) ตัวชี้วัด
                            2.1) จำนวนผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับธุรกิจการกีฬา มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
                            2.2) การลงทุนจากภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการกีฬาไทย มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าอัตราการเติบโตของมูลค่า GDP
                            2.3) มูลค่าการส่งออกทางการกีฬาโดยรวม มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
                            2.4) จำนวนกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี
                            2.5) มีการจัดตั้งเมืองกีฬาแห่งแรกได้สำเร็จ
                      3) แนวทางการพัฒนา
                             3.1) ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการกีฬา
                             3.2) พัฒนาการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ (Sport Tourism)

                    ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
                        1) เป้าประสงค์
                               1.1) องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาได้รับการเผยแพร่และใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง
                               1.2) มีโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาที่สามารถให้บริการงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                               1.3) ขีดความสามารถของนักกีฬาและสุขภาพของประชาชน มีพัฒนาการที่ดีขึ้นจากการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
                               1.4) มีหน่วยงานหลักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาที่สามารถบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยปฏิบัติได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
                               1.5) มีการพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการกีฬาอย่างมีระบบ
                       2) ตัวชี้วัด
                               2.1) มีจังหวัดที่มีศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถดำเนินการได้และสามารถประสานงานกับส่วนกลางอย่างมีประสิทธิภาพ
                               2.2) มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพสำหรับบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาขึ้นและสามารถดำเนินการได้โดยสมบูรณ์
                               2.3) มีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาทั่วประเทศที่ได้รับการพัฒนาและรับรองมาตรฐานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
                               2.4) มีสื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการกีฬาประจำท้องถิ่นที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ชนิดต่อตำบล
                               2.5) มีการฝึกอบรมและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการกีฬาในระดับภูมิภาคไม่น้อยกว่าปีละ 4 ครั้ง
                               2.6) มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการค้นคว้าและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมการกีฬาโดยมีอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่าอัตราการเติบโตของมูลค่า GDP
                               2.7) นักกีฬาและบุคลากรการกีฬาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในคุณภาพและมาตรฐานของบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาที่ได้รับ
                      3) แนวทางการพัฒนา
                            3.1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาคและระดับท้องถิ่น
                            3.2) การพัฒนาและการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการกีฬา
                            3.3) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการกีฬา เพื่อนำไปพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาและสุขภาพของประชาชน
                    ยุทธศาสตร์ที่ 6 การยกระดับการบริหารจัดการด้านการกีฬาให้มีประสิทธิภาพ
                       1) เป้าประสงค์
                            1.1) มีการพัฒนาต่อยอดจากแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ผ่านมา รวมทั้งมีการบูรณาการการดำเนินงานตามแผนและยุทธศาสตร์ระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
                            1.2) มีความร่วมมือของส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการกีฬาของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
                            1.3) มีระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาที่ได้มาตรฐานเดียวกัน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
                            1.4) มีระบบธรรมาภิบาลเพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานให้มีความโปร่งใส
                       2) ตัวชี้วัด
                            2.1) มีการกำหนดยุทธศาสตร์การกีฬาในแผนปฏิบัติราชการประจำทุกจังหวัดทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2564
                            2.2) มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแล และตรวจสอบการดำเนินงานด้านการกีฬาของประเทศ
                            2.3) ฐานข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการกีฬาไทยได้รับการบูรณะและยกระดับให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
                            2.4) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในคุณภาพและมาตรฐานของการบริหารจัดการกีฬาในหน่วยงานที่ตนสังกัด
                      3) แนวทางการพัฒนา
                             3.1) สร้างความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
                             3.2) พัฒนาฐานข้อมูลด้านการออกกำลังกายและการกีฬาตั้งแต่ระดับชาติ ภูมิภาคและท้องถิ่นเพื่อการติดตามและประเมินผล
                             3.3) ยกระดับการบริหารจัดการกีฬาบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล  
         6.9 การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ              
               การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564) สู่การปฏิบัติ  ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการวางแผน ความชัดเจนของแผน การรับรู้ เข้าใจในการนำแผนไปปฏิบัติการดำเนินการตามขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
              6.9.1. แนวทางการขับเคลื่อน
                       1) หลักการ
                              1.1) ขับเคลื่อนการพัฒนาการกีฬาของประเทศ โดยยึดแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เป็นกรอบทิศทางหลักในการดำเนินงานและแปลงสู่การปฏิบัติในทุกระดับ
                              1.2) กระจายการพัฒนาลงสู่พื้นที่ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาการกีฬาในทุกระดับ
                              1.3) ใช้กลไกและเครื่องมือการพัฒนาของภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชนและสื่อมวลชนอย่างบูรณาการให้การขับเคลื่อนเกิดประสิทธิภาพ
                              1.4) ระบบการบริหารจัดการแผนสู่การปฏิบัติที่มีความเชื่อมโยงกันในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับแผนพัฒนาระดับชาติ แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนเฉพาะด้าน แผนปฏิบัติการและระบบการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ 
                      2) วัตถุประสงค์
                            2.1) เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ สู่การปฏิบัติด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง
                            2.2) เพื่อบูรณาการแผนงานจากส่วนกลาง พื้นที่ ท้องถิ่นและชุมชนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภายใต้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
                            2.3) เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาที่มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ภาพรวมของประเทศลงสู่ภูมิภาค พื้นที่ และชุมชน
                    3) แนวทางการขับเคลื่อน
                            3.1) ระดับนโยบาย คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ (ที่จะจัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัตินโยบายการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ....) เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณากำหนดนโยบายหรือให้ความเห็น กำกับดูแลนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการกีฬาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบและสั่งการต่อไป
                            3.2) ระดับการขับเคลื่อนแผน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการนำนโยบายและข้อสั่งการในระดับนโยบายแจ้งประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
                           3.3) ระดับปฏิบัติการ ประกอบด้วย ส่วนราชการต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการออกกำลังกายและการกีฬา โดยมีองค์กรประสานงานระดับปฏิบัติดังนี้
                                   (1) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                                  (2) ส่วนกลาง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประสานงานกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในฐานะหน่วยรับผิดชอบหลักและหน่วยสนับสนุน                                      
                                   (3) ระดับภูมิภาค กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พิจารณากระจายภารกิจและความรับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564) ไปสู่จังหวัด โดยดำเนินการดังนี้
                                        (3.1) กรมพลศึกษา ประสานงานกับจังหวัด (โดยผ่านความร่วมมือกับสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดและคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด)
                                          (3.2) การกีฬาแห่งประเทศไทย ประสานงานกับสมาคมกีฬาจังหวัด และหน่วยงานด้านการพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของจังหวัด       
                                          (3.3) สถาบันการพลศึกษา ประสานงานกับสถานศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบทุกระดับ
                                  (4) ระดับท้องถิ่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง
                                 (5) เครือข่ายภาคประชาชน โดยสนับสนุนให้ภาคประชาชน ซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและสถานศึกษา ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการกีฬาเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน
        6.10. แนวทางการประเมินผลการดำเนินงาน
                 การวัดความสำเร็จของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ควรมีการดำเนินการดังนี้4
                    6.10.1 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติเพื่อกำหนดแนวทางติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวม
                     6.10.2 ส่วนราชการและหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบจะต้องทำการประเมินผลตามตัวชี้วัดที่กำหนดตามยุทธศาสตร์ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการเพื่อทำการประเมินผลการดำเนินงาน
                    6.10.3 ส่วนราชการและหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบจะต้องทำการประเมินผลตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการได้กำหนดไว้
                   6.10.4 ส่วนราชการและหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบควรพัฒนาและใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงาน
                   6.10.5 คณะอนุกรรมการพิจารณานำเสนอผลการประเมินการดำเนินงาน (สภาการปฏิรูปประเทศ. 2559: 25-30)

          สรุป
                การกีฬานับได้ว่ามีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติดังนั้นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการกีฬา จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2560-2564) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปใช้เป็นกรอบทิศทางการดำเนินการและเป็นกลไกหลักในการพัฒนาการกีฬาของประเทศให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สถานการณ์การกีฬาโดยรวม การกีฬามีส่วนเกี่ยวข้องกับประชากรทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งประชาชนทั่วไป กลุ่มนักกีฬาและผู้เล่นเพื่อการอาชีพ กลุ่มคนพิการและกลุ่มนักท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเล่นกีฬาของแต่ละกลุ่มบุคคล ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มการออกกำลังกายและเล่นกีฬาลดลงในทุกกลุ่มอายุ ในรอบทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและได้ส่งนักกีฬาไทยเข้าร่วมมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติหลายรายการ แต่ผลงานในภาพรวมยังขาดความสม่ำเสมอ

 เอกสารอ้างอิง
กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี.  (2559).  ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579.
           สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, จาก
การกีฬาแห่งประเทศไทย.  (2559).  รายงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและเอเชียนเกมส์ ย้อนหลัง
           4 ครั้งล่าสุด.  กรุงเทพฯ: วิชาการกีฬา.
จักษวัชร  ศิริวรรณ.  (2559).  แนวคิด ความสำคัญ และกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์.
            สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/437659.
ธงชัย  สันติวงษ์.  (2548).  องค์การและการบริหาร.  (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
บวร เทศารินทร์.  (2559).  10 นโยบายศึกษาธิการไทยตอบโจทย์เทรนด์การศึกษาโลก . สืบค้นเมื่อ    
           4 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=15644. ประชุม  รอดประเสริฐ.  (2535).  การวางแผนโครงการ.  สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, จาก                                              
พิทธาจารย์  ลำพู.  (2559).  วิชาองค์การและการจัดการ.  สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, จาก    
ราชบัณฑิตยสถาน.  (2556).  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  
            กรุงเทพฯ: นานมีบุคสพับลิเคชั่นส.
วิจิตร  ศรีสอ้าน.  (2548). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหาร. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2559,  
            จาก http ://members.thai.net/intira/article theorymgr 01. Html.
วิโรจน์  สารรัตนะ.  (2539).  การวางแผนโครงการ.  สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2559, จาก
              .  (2548).  ความหมายและนโยบายของแผน.  สืบค้นเมื่อ
           4 พฤษภาคม 2559,  (http://prapaporn-b.blogspot.com/2010/01/blog-post.html.
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ.  (2559). รายงานสรุป วาระการปฏิรูปที่ 19 แผนปฏิรูปการกีฬา.  
           กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่
           สำนักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. 
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.  (2558).  ผลการศึกษาของกระทรวงการท่องเที่ยวและ
           กีฬา.  กรุงเทพฯ:  สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสมาคมจัดการ
           กีฬาแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.  (2559).  สืบค้นเมื่อ
           5 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.nesdb.go.th/download/plan12.

สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล.  (2559).  สืบค้นเมื่อ
           5 พฤษภาคม 2559, จาก
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.  แผนการศึกษาแห่งชาติ.
            ฉบับที่ 12.  สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559, จาก  www.bps.sueksa.go.th.
อมร  รักษาสัตย์.  (2522).  ความหมายและนโยบายของแผน.  สืบค้นเมื่อ
            6 พฤษภาคม 2559, จาก
อนันต์  เกตุวงศ์.  (2541).  การวางแผนโครงการ.  สืบค้นเมื่อ
           7 พฤษภาคม 2559, จาก https://sites.google.com/site/ispmizziijex/kar-  
อุทัย  บุญประเสริฐ.  (2538).  การวางแผนโครงการ.  สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2559, จาก     
Chang, Y. N. and Campo F.  (1980).  Business policy and strategy: text and cases.        
           California: Santa Monica.
Friedrich.  (1963).  The Philosophy of Nietzsche.  N.Y.: Modern Library.
Knezevich, S. J.  (1984).  Administration of Public Education.  4th ed.  New York:    
           Harper and Row.
Lasswell, H. D. & Kaplan, A.  (1970). Power and Society. New Haven: Yale Univ. Press.
Massie, J. L. and Douglas J.  (1981).  Managing : A Contemporary Introduction. 3rd  
           ed. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
McNichols, Thomas J .  (1977).  Policy-Making and Executive Action.  5th ed.
           New York: McGraw-Hill.
Mondy, R. W. & Noe, R. W.  (1996).  Human Resqurce Management.  New York:
           Prentice Hall.
Stecklein, E. J.  (1989).  Policy Research: Nature and Approaches.  Minnesota:  
           University Press.