Tuesday 21 December 2010 | 7 comments | By: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์

ภาพโครงการความร่วมมือการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยคานาซาว่า ประเทศญี่ปุ่นกับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ

ถ่ายภาพร่วมกับวิทยากร Prof. ซากาว่า จากมหาวิทยาลัย Kanasava และ อาจารย์ ชิโมดะ จากมหาวิทยาลัย Otsuma Woman และผู้ประสานงาน (แปล) คือ อาจารย์เก่าแก่ของพวกเรา ท่านอาจารย์สุทธิ พานิชเจริญนาม และนักศึกษาปริญญาเอกจากญี่ปุ่น (ลูกครึ่งไทย-ญ๊่ปุ่น) คุณ อาภากร อิโซ

คณาจารย์สพล. วิทยาเขตศรีสะเกษ ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังบรรยายด้วยหลายคน



อาจารย์ ชิโมดะ (ยืน) และคุณอาภากร อิโซ (ผู้แปล)



คณะครูจากโรงเรียนต้นแบบที่ใช้โปรแกรม HQC กำลังบรรยาย



รองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ สพล. วิทยาเขตมหาสารคาม และคณะฯ ร่วมประชุมวิชาการด้วย








ศาสตราจารย์ ซากาว่า และคุณอาภากร อิโซ กำลังบรรยายการใช้โปรแกรม HQC






นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สพล. วิทยาเขตศรีสะเกษ ถ่ายภาพกับคณะวิทยากรเมื่อครั้งเดินทางมาบรรยายครั้งที่ 1






































Monday 13 December 2010 | 3 comments | By: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์

รายงานการวิจัย เรื่อง สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ปีการศึกษา 2553

ชื่อเรื่อง : การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา
(A Study Problems Conditions of Internships Student Majoring Physical
Education in the Faculty of Education, Institute of Physical Education.)
ผู้วิจัย : นายเกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์
สังกัด : ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย : 2553
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ประจำปีการศึกษา 2553 ทั้ง 17 วิทยาเขต ทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ประจำปีการศึกษา 2553 จำนวน 4 วิทยาเขต โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster or Area Random Sampling)จากการแบ่งกลุ่มวิทยาเขตทั้ง 17 วิทยาเขตออกเป็น 4 กลุ่มตามเขตภูมิศาสตร์ แล้วสุ่มโดยการจับสลากภายในแต่ละกลุ่มให้เหลือเพียงกลุ่มละ 1 วิทยาเขต ดังนี้ วิทยาเขตกรุงเทพ วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาเขตศรีสะเกษ จำนวนนักศึกษา 189 คน อาจารย์นิเทศ จำนวน 74 คน และอาจารย์พี่เลี้ยงจำนวน 92 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้แบบสอบถามประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน จากนั้นนำไปทดลองใช้ ปรากฏว่าแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89, 0.88 และ 0.90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) คะแนนเฉลี่ย (x┴-) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ และด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา) มีสภาพปัญหาในระดับน้อย(x┴-= 2.80 ,S.D.=.667 ) และ (x┴-= 2.38 ,S.D.=.349 ) ตามลำดับ ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา) และด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา มีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (x┴-= 2.73 ,S.D.=.607 )และ (x┴-= 3.02 ,S.D.=.363 )ตามลำดับ ส่วนด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน มีสภาพปัญหาในระดับมาก (x┴-= 3.94 ,S.D.=.171 )
สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ มีสภาพปัญหาในระดับน้อย (x┴-= 2.45 ,S.D.=.318 ) ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา) และด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา) มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.20 ,S.D.=.289 )และ (x┴-=4.06 ,S.D.=.242 ) ตามลำดับ ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.37 ,S.D.=.229 ) ส่วนด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด(x┴-= 4.78 ,S.D.=.335 )
สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา) และด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา) มีสภาพปัญหาระดับมาก(x┴-= 3.96 ,S.D.=.474 ) และ (x┴-= 4.30 ,S.D.=.537)ตามลำดับ ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 2.96 ,S.D.=.377 ) ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.25 ,S.D.=.414 ) และด้านคุณลักษณะความเป็นครู มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 2.54 ,S.D.=.348 )










Title : A Study Problems Conditions of Internships Student Majoring Physical
Education in the Faculty of Education, Institute of Physical Education.
Author : Mr. Kiattiwat Watchayakarn
Address and Office : Faculty of Education, Institute of Physical Education : Sisaket
Campus.
Academic year : 2010
Abstract
This research which is a survey aimed at studying problems conditions of internships student majoring physical education in the Faculty of Education, Institute of Physical Education, according to students, supervisors and mentors’ opinion in 4 campus : orientation , seminar and final advice, physical and health education instructional, school health promotion program, classroom research, and characteristics of being teachers. The sample of the study consisted of 355 people : 189 students, 74 supervisors and 92 mentors from Bangkok, Krabi, Chiangmai and Sisaket campus. The research instruments used were questionnaires with five rating scales of 73 items for students and supervisors and 78 items for mentors, verify and approved by 0.89 reliability with 3 expert. The statistical analysis was done by employing the mean, and standard deviation.
The results of the study were as follows.
1. The Internships students’ opinion according to the low level of actual practice with little problems in area of the study except classroom research was most problems conditions.
2. The supervisors and mentors’ opinion according to the high level of actual practice with more problems in almost aspect except characteristics of being teachers was moderate problems conditions.






สภาพปัจจุบันและปัญหา
ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นมากจนเป็นเหตุให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การศึกษาจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสังคม ทั้งนี้เพราะการศึกษาและสังคมมีความสัมพันธ์ควบคู่กันอยู่เสมอ แต่ในการพัฒนาการศึกษาให้เกิดความก้าวหน้าและได้ผลดีจะต้องคำนึงถึงบุคคลซึ่งมีส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ครู ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีบทบาทอันเป็นตัวจักรในอันที่จะอบรมสั่งสอน ปลูกฝังความรู้ทางวิชาการ ค่านิยมตลอดจนแนวทางในการประพฤติที่ดีทั้งหลายแก่เยาวชนของชาติ การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าให้ทันกับวิทยาการสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชาชนเป็นหลัก ปัจจัยสําคัญที่จะช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพ คือ การศึกษา เพราะการศึกษาจะช่วยเสริมสร้างความรู้ ความคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ความสําเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการศึกษาขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายด้าน เช่น หลักสูตร ผู้บริหาร ผู้เรียน วิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ สถานที่และสภาพแวดล้อม แต่ยังมีสําคัญสิ่งหนึ่งได้แก่ ครู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการถ่ายทอดความรู้ สรรหากลวิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น ทําเป็น และแก้ปัญหาเป็น พร้อมทั้งสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดแก่ผู้เรียน ครูจึงควรได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้รอบ มีอุดมการณ์ในวิชาชีพครูซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) มาตรา 22 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545 : 13)
เนื่องจากโครงสร้างหลักสูตรการผลิตครูของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา พุทธศักราช 2548 (ปรับปรุง พ.ศ. 2550) ได้กําหนดให้การจัดการศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเพื่อออกไปเป็นครูพลศึกษา ได้จัดโครงสร้างหลักสูตรเป็น 3 หมวดวิชา คือ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มวิชาชีพครูและกลุ่มวิชาเฉพาะด้าน และหมวดวิชาเลือกเสรี โดยมีจุดเน้นที่หมวดวิชาการศึกษา มุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ให้กับผู้เรียน โดยจัดเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพครูและกลุ่มวิชาเฉพาะด้าน มุ่งให้ผู้เรียนมีความลุ่มลึกในศาสตร์ของตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนในด้านสมรรถภาพความเป็นครู การปลูกฝังจรรยาบรรณ คุณธรรมในวิชาชีพครู เพื่อที่จะออกไปประกอบอาชีพได้ ซึ่งกลุ่มวิชาดังกล่าวจะมีรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพครู หลักสูตรและการสอน จิตวิทยา เทคโนโลยีทางการศึกษา การวัดผลและประเมินผล วิชาภาคปฏิบัติทางกีฬาและพลศึกษา การทดลองสอน พร้อมทั้งออกฝึกประสบการณวิชาชีพครู (สถาบันการพลศึกษา, 2550 : 1-10) เป็นหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งหลักสูตรนี้เน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เป็นผลกระทบที่ทําให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาและการปฏิรูปครู ที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) ที่จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามมาตรา 6 , 22 , 23 , 24 , และ 28 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545 : 5 - 16) ระบุไว้แล้ว
จากหลักการดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูก็ควรมีการให้นักศึกษาได้ออกไปฝึกปฏิบัติงานของครูในระยะเวลาที่ยาวพอสมควรที่เรียกว่า “การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู” เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงและได้นำเอาความรู้ทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่จัดให้นักศึกษาครู ซึ่งพอสรุปได้เป็น 2 ภาค คือ
1. ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย
1.1 ความรู้พื้นฐานทางวิชาการ
1.2 วิชาการเฉพาะ
1.3 วิชาชีพครู
2. ภาคปฏิบัติ เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาภาคทฤษฎีครบตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ยังมีวิชาที่สำคัญที่สุดของการฝึกหัดครู นั่นคือ “การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู” ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้ เพราะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาครู ทั้งนี้เพื่อให้ได้มีโอกาสรับประสบการณ์ตรงในด้านการสอน รวมไปถึงการรู้จักรับผิดชอบหน้าที่การงาน อีกทั้งเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตัวไปพร้อมๆ กันด้วย
ในฐานะปัจจุบันที่ผู้วิจัยได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์นิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถาบันการพลศึกษา จากปัญหาที่ได้ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทำให้ทราบถึงสภาพและปัญหาต่างๆ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 5 สถาบันการพลศึกษา จึงสนใจที่จะวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ซึ่งคาดว่าผลของการวิจัยที่ได้รับจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตครูพลศึกษาที่ตรงตามนโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปการผลิตครูแนวใหม่ในอนาคตต่อไป


ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง
วิธีดําเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ประจำปีการศึกษา 2553 ทั้ง 17 วิทยาเขต ทั่วประเทศ โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster or Area Random Sampling) จากการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามเขตภูมิศาสตร์ แล้วสุ่มโดยการจับสลากภายในแต่ละกลุ่มให้เหลือเพียงกลุ่มละ 1 วิทยาเขต ดังนี้ วิทยาเขตกรุงเทพ วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตศรีสะเกษ และวิทยาเขตกระบี่(อรสา โกศลานันทกุล, 2549 : 146 – 147)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้แบบสอบถามสภาพปัญหากาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามการรับรู้ของนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง ซึ่งประกอบด้วย
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย
1) สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
2) วิทยาเขตที่สังกัด
ตอนที่ 2 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำแนกตามสถานภาพ ดังนี้
1) นักศึกษา สอบถามเพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับ
1.1 ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ
1.2 ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา)
1.3 ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา)
1.4 ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา
1.5 ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
2) อาจารย์นิเทศ สอบถามเพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับ
2.1 ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ
2.2 ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา)
2.3 ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา)
2.4 ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา
2.5 ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
3) อาจารย์พี่เลี้ยง สอบถามเพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับ
3.1 ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา)
3.2 ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา)
3.3 ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา
3.4 ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
3.5 ด้านคุณลักษณะความเป็นครู
ขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้ดําเนินการสร้างเครื่องมือตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ศึกษาทฤษฎีและองค์ประกอบต่างๆ จากตํารา รายงานการวิจัย และคู่มือต่างๆที่เกี่ยวข้อง
กับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและวิธีประเมินเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
2. สร้างแบบสอบถามโดยศึกษา อ้างอิง และปรับปรุงประยุกต์จากรายงานวิจัยต่างๆ เช่นของ ศิริพร ควรชม(2532 : 199 - 206) ชัชวาล รัตนพร (2538 : 98–101) ปราณี อมรรัตนศักดิ์ (2539 : 132-135) และเบญจวรรณ เกิดในมงคล (2546 : 226 – 230) แล้วนํามาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้ครอบคลุมขอบข่ายเนื้อหาที่ศึกษา
3. ลักษณะของแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 เป็นสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้เกณฑ์การแสดงความคิดเห็นเป็นมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของ ลิเคิร์ท (Likert) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 107) ซึ่งเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยกําหนดเกณฑ์การแสดงความคิดเห็น 5 ระดับ ดังนี้
5 หมายถึง เป็นปัญหามากที่สุด
4 หมายถึง เป็นปัญหามาก
3 หมายถึง เป็นปัญหาปานกลาง
2 หมายถึง เป็นปัญหาน้อย
1 หมายถึง เป็นปัญหาน้อยที่สุด
4. นําแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เพื่อตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องของภาษา
5. นําแบบสอบถามที่ปรับปรุงด้านภาษาแล้ว เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 คน ตรวจสอบความตรงของข้อคําถามด้านเนื้อหา (Content Validity) โดยหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับจุดประสงค์ (Item – Operational Definition Congruency Index, IOC) โดยใช้เกณฑ์การตัดสินของล้วน สายยศและอังคณา สายยศ (2539 : 249) ดังนี้ นําค่า IOC ที่คํานวณได้ในแต่ละข้อคำถามมาแปลผล ถ้าข้อคำถามใดมีค่า IOC มากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 ก็จะคงข้อคําถามนั้นไว้ แต่ถ้าข้อคําถามใดที่มีค่าน้อยกว่า 0.50 ข้อคําถามนั้นต้องถูกตัดออกไปหรือนําไปปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้น
6. นําแบบสอบถามที่ได้ไปทดลองใช้ (Try out) กับนักศึกษา 30 คน อาจารย์นิเทศ 30 คน และอาจารย์พี่เลี้ยง 30 คน ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ของ ครอนบัค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ปรากฏผลดังนี้ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามความคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี้เลี้ยง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.89, 0.88 และ 0.90 ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบสอบถามที่สามารถนําไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้

การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ขอหนังสือจากสํานักงานรองอธิการบดี สถาบันการพลศึกษา ประจำวิทยาเขตศรีสะเกษ ถึง รองอธิการบดี สถาบันการพลศึกษา ประจำวิทยาเขตกรุงเทพ เชียงใหม่ และกระบี่ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง
2. ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ เชียงใหม่ และกระบี่ พร้อมกับติดตามผลการรวบรวมข้อมูลทางโทรศัพท์และรับข้อมูลคืนทางไปรษณีย์ ส่วนนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง ของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษผู้วิจัยจัดส่งและเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง

การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. นําแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ในการตอบ คัดเลือกเฉพาะฉบับที่ถูกต้องและสมบูรณ์ไว้
2. นำตอนที่ 1 ไปแจกแจงความถี่ แสดงค่าร้อยละเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
3. นำตอนที่ 2 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ไปหาค่าเฉลี่ย (x┴-) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการแปรผลตามเกณฑ์ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด,2532 : 46)

ค่าคะแนนเฉลี่ยสภาพปัญหา

4.51 – 5.00 สภาพปัญหามากที่สุด
3.51 – 4.50 สภาพปัญหามาก
2.51 – 3.50 สภาพปัญหาปานกลาง
1.51 – 2.50 สภาพปัญหาน้อย
1.00 – 1.50 สภาพปัญหาน้ยอที่สุด

ผลการวิจัย ครั้งนี้ มีดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.1 จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพทั้ง 4 วิทยาเขต พบว่าจำนวนแบบสอบถามที่ส่งให้นักศึกษาทั้ง 4 วิทยาเขต จำนวน 192 ฉบับ ได้รับคืน 189 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 98.43 ส่งให้อาจารย์นิเทศทั้ง 4 วิทยาเขต จำนวน 78 ฉบับ ได้รับคืน 74 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.87 และส่งให้อาจารย์พี่เลี้ยงทั้ง 4 วิทยาเขต จำนวน 97 ฉบับ ได้รับคืน 92 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.85
1.2 เพศผู้ตอบแบบสอบถามจาก 4 วิทยาเขต จำแนกตามสถานภาพ คือ นักศึกษาที่ เป็นเพศชาย จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 87.31 เป็นเพศหญิง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 12.69 อาจารย์นิเทศที่เป็นเพศชาย จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 83.78 เป็นเพศหญิง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.22 อาจารย์พี่เลี้ยงที่เป็นเพศชาย จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 91.30 และเป็นเพศหญิง จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8.70
1.3 อายุผู้ตอบแบบสอบถามจาก 4 วิทยาเขต จำแนกตามสถานภาพ คือ นักศึกษามีอายุ 23 ปี จำนวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 97.88 อายุ 24 ปี จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 2.12 อาจารย์นิเทศมีอายุ 36 - 45 ปี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.22 อายุสูงกว่า 45 ปี จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 83.78 และอาจารย์พี่เลี้ยงมีอายุ 36 - 45 ปี จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 9.78 และมีอายุสูงกว่า 45 ปี จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 90.22
1.4 ประสบการณ์การเป็นอาจารย์นิเทศและอาจารย์พี่เลี้ยงของผู้ตอบแบบสอบถามจาก 4 วิทยาเขต จำแนกตามประสบการณ์ คือ ประสบการณ์การเป็นอาจารย์นิเทศอยู่ระหว่าง 15 - 20 ปี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.22 มากกว่า 20 ปีขึ้นไป จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 83.78 และประสบการณ์การเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงอยู่ระหว่าง 15 - 20 ปี จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 90.22 และมากกว่า 20 ปีขึ้นไป จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 9.78
ตอนที่ 2 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
2.1 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ในด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.38 ,S.D.=.349 ) เมื่อพิจารณาในด้านการรายงานตัวและการตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้ การอยู่ร่วมกิจกรรมตลอดเวลา ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม และการร่วมปฏิบัติกิจกรรมได้ถูกต้องและเหมาะสม มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 1.98 ,S.D.=.282 ), (x┴-= 1.98 ,S.D.=.205 ), (x┴-= 1.98 ,S.D.=.144 ), และ (x┴-= 2.02 ,S.D.=.252 ) ตามลำดับ ส่วนการร่วมแสดงความคิดเห็นที่มีประโยชน์และตรงประเด็นและการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.31 ,S.D.=.974 )และ (x┴-= 3.00 ,S.D.=.791) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ มณี เกษผกา (2532 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสุขศึกษา นักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษา พบว่า นักศึกษามีปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และปัจฉิมนิเทศ
2.2 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ในด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา) สรุปได้ว่า
การเตรียมจัดการเรียนการสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับน้อย (x┴-= 2.31 ,S.D.=.315 ) เมื่อพิจารณาในด้านการเตรียมจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน การเตรียมสถานที่ สื่อ ให้เหมาะสมกับสาระที่สอนและจำนวนผู้เรียน และการเตรียมสาระการเรียนรู้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 1.96 ,S.D.=.202), (x┴-= 1.98 ,S.D.=.144 ), และ (x┴-= 1.98 ,S.D.=.252 ) ตามลำดับ ส่วนการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและส่งตรวจตามกำหนดเวลา มีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (x┴-= 3.32 ,S.D.=.976 )
กระบวนการและขั้นตอนการสอน
ขั้นเตรียม ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับน้อย (x┴-= 1.97 ,S.D.=.160 ) เมื่อพิจารณาในด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนได้เหมาะสมและอบอุ่นร่างกายได้เหมาะสมและสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระที่สอน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 1.96 ,S.D.=.202 ), และ (x┴-= 1.98 ,S.D.=.202 ) ตามลำดับ
ขั้นการอธิบายและสาธิต ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับน้อย (x┴-= 1.98 ,S.D.=.177 ) เมื่อพิจารณาในด้านการอธิบายและสาธิตตรงตามเนื้อหาสาระที่สอน จัดรูปแบบในการอธิบายสาธิตได้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่สอน ใช้ภาษาได้ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปตามลำดับและการอธิบายและสาธิตได้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 1.98 ,S.D.=.144 ),(x┴-= 1.96 ,S.D.=.252 ), (x┴-= 1.98 ,S.D.=.202 ) , และ (x┴-= 2.00 ,S.D.=.206 ) ตามลำดับ
ขั้นฝึกหัด ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (x┴-= 2.74 ,S.D.=.589) เมื่อพิจารณาในด้านแบบฝึกสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน และจำนวนแบบฝึกเหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่สอนมีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.03 ,S.D.=.325 ), และ (x┴-= 2.00 ,S.D.=.206 ) ตามลำดับ ส่วนผู้เรียนดำเนินการฝึกได้อย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัย ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะได้อย่างทั่วถึงและผู้สอนค้นพบและแก้ไขการฝึกทักษะได้รวดเร็วและตรงจุด มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.30 ,S.D.=.971 ), (x┴-= 3.00 ,S.D.=.857 ) , และ (x┴-= 3.35 ,S.D.=.987) ตามลำดับ
ขั้นนำไปใช้ ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับน้อย (x┴-= 2.35 ,S.D.=.388 ) เมื่อพิจารณาในด้านกิจกรรมสอดคล้องกับขั้นอธิบายและสาธิตและขั้นฝึกหัด และกิจกรรมสนุกสนานและคำนึงถึงความปลอดภัย มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.05 ,S.D.=.346 )และ (x┴-= 2.00 ,S.D.=.206 ) ตามลำดับ ส่วนผู้เรียนสามารถนำทักษะที่ฝึกหัดไปใช้ได้อย่างถูกต้อง มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.00 ,S.D.=.857 )
ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (x┴-= 2.80 ,S.D.=.667 ) เมื่อพิจารณาในด้านการสรุปสาระสำคัญได้อย่างถูกต้อง และการประเมินผลผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.08 ,S.D.=.453 ) และ(x┴-= 2.04 ,S.D.=.410 ) ตามลำดับ ส่วนการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสซักถาม เน้นความสำคัญของสุขนิสัยทั้งก่อนและหลังการสอน และการจัดทำบันทึกหลังการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.30 ,S.D.=.978 ), (x┴-= 3.28 ,S.D.=.990 ) และ (x┴-= 3.31 ,S.D.=.985 ) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เบญจวรรณ เกิดในมงคล (2546 : 213) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 4 สถาบัน พบว่า สถานภาพของนักศึกษามีความแตกต่างจากอาจารย์นิเทศและอาจารย์พี่เลี้ยงทางด้านประสบการณ์ คุณวุฒิ วัยวุฒิ และจุดมุ่งหมายในการประเมินซึ่งนักศึกษามองตนเองว่าเป็นผู้ปฏิบัติ จึงมีความคิดว่า ตนเองได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความรู้และความสามารถแล้ว
2.3 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา) สรุปได้ว่า
การเตรียมจัดการเรียนการสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (x┴-= 2.73 ,S.D.=.584 ) เมื่อพิจารณาในด้านการเตรียมจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน การเตรียมสาระการเรียนรู้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.00 ,S.D.=.206) และ (x┴-= 2.31 ,S.D.=.485 ) ตามลำดับ ส่วนการเตรียมสถานที่ สื่อ ให้เหมาะสมกับสาระที่สอนและจำนวนผู้เรียน และการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและส่งตรวจตามกำหนดเวลา มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.30 ,S.D.=.978) และ (x┴-=3.30 ,S.D.=.978 ) ตามลำดับ
กระบวนการและขั้นตอนการสอน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับน้อย (x┴-= 2.41 ,S.D.=.338 ) เมื่อพิจารณาในด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนได้เหมาะสม และบอกจุดประสงค์การเรียนรู้ได้ชัดเจน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 1.96 ,S.D.=.289 ) และ (x┴-= 2.02 ,S.D.=.325 ) ตามลำดับ ส่วนการเร้าความสนใจผู้เรียนมีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.25 ,S.D.=.601)
ขั้นสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (x┴-= 2.54 ,S.D.=.490) เมื่อพิจาณาในด้านการอธิบายและบรรยายตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้ภาษาได้ถูกต้องและชัดเจน การยกย่อง ชมเชย และเสริมแรงที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.00 ,S.D.=.292 ), (x┴-= 2.02 ,S.D.=.325 ) และ (x┴-= 2.02 ,S.D.=.325 )ตามลำดับ ส่วนการจูงใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและร่วมแสดงความคิดเห็น และการถ่ายโยงความรู้ในสาระที่สอนให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.33 ,S.D.=.016) และ (x┴-= 3.30 ,S.D.=.973 ) ตามลำดับ
ขั้นสรุป ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (x┴-= 2.73 ,S.D.=.607) เมื่อพิจาณาในด้านการสรุปสาระสำคัญได้อย่างถูกต้อง ประเมินผลผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เน้นความสำคัญของการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.08 ,S.D.=.577 ), (x┴-= 2.22 ,S.D.=.671), และ (x┴-= 2.08 ,S.D.=.498 ) ตามลำดับ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสซักถาม การจัดทำบันทึกหลังการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.29 ,S.D.=.980 )และ (x┴-= 3.18 ,S.D.=.200 ) ตามลำดับส่วนการกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.54 ,S.D.=.775 )
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อุดมศักดิ์ นิกรพิทยา (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การประเมินโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม พบว่า เมื่อเริ่มฝึกสอน อาจารย์นิเทศและอาจารย์พี่เลี้ยง เห็นว่านักศึกษามีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อใกล้จะสิ้นสุดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์นิเทศและอาจารย์พี่เลี้ยง เห็นว่านักศึกษามีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับมาก
2.4 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ในด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (x┴-= 3.02 ,S.D.=.363) เมื่อพิจาณาในด้านการเขียนและการเสนอโครงการ และระยะเวลาในการจัดโครงการ มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.02 ,S.D.=.437)และ (x┴-= 2.34 ,S.D.=.557) ตามลำดับ ลักษณะของกิจกรรม ความร่วมมือในการเข้าร่วมดำเนินงาน ความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม การติดตามผลโครงการ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคระหว่างดำเนินการ การพัฒนาและปรับปรุงการจัดกิจกรรม การรวบรวมผลการดำเนินงานตามโครงการ การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ และการเขียนรายงานและประเมินผลโครงการ มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง 〖(x〗┴-= 2.92 ,S.D.=.404), (x┴-= 2.94,S.D.=.313),(x┴-= 2.98 ,S.D.=.325), (x┴-= 3.02 ,S.D.=.291), (x┴-= 3.04 ,S.D.=.410), (x┴-= 3.34 ,S.D.=.620) , (x┴-=3.04 ,S.D.=.355), (x┴-= 3.26,S.D.=.022), (x┴-= 3.02 ,S.D.=.291) ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและการประชุมและการมอบหมายงาน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.61 ,S.D.=.578) และ (x┴-= 2.35 ,S.D.=.388 ) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับ เบญจวรรณ เกิดในมงคล (2546 : 215) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 4 สถาบัน พบว่า ทุกสถาบันมีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างเป็นระบบ มีคณะกรรมการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษาที่เป็นหน่วยฝึกและสถาบันที่จัดส่งนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือด้านต่างๆ ตลอดเวลา ทำให้เกิดความคุ้นเคยและมีความสัมพันธ์อันดีกับบุคลากรประจำการ จึงสามารถจัดดำเนินการโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษาได้เป็นอย่างดี
2.5 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษาในด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับมาก (x┴-= 3.94 ,S.D.=.171) เมื่อพิจาณาในด้านการกำหนดกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.39 ,S.D.=.531) ส่วนการค้นหาปัญหา การเสนอชื่อเรื่องเพื่อวิจัย การเขียนเค้าโครง การสืบค้นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย การเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ การทดลอง (Try – out) เครื่องมือ การเลือกใช้สถิติในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ และการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.02 ,S.D.=.144), (x┴-= 4.01 ,S.D.=.206), (x┴-= 4.00 ,S.D.= .206), (x┴-= 4.02 ,S.D.=.144), (x┴-= 4.00 ,S.D.= .206), ), (x┴-= 4.02 ,S.D.= .144), ), (x┴-= 4.02 ,S.D.= .144), ), (x┴-= 3.70 ,S.D.= .491), ), (x┴-= 4.02 ,S.D.= .144), ), (x┴-= 4.02 ,S.D.= .144), (x┴-= 4.02 ,S.D.= .144), และ (x┴-= 4.02 ,S.D.= .144), ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมบัติ คชสิทธิ์ (2534 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู ของสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พบว่า ทุกสถาบันได้จัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามกระบวนการทุกประการ แต่นักศึกษามีสมรรถภาพการสอนส่วนใหญ่ต่ำกว่าเกณฑ์ประเมิน เพราะนักศึกษายังไม่สามารถนำปัญหาในการเรียนการสอนในชั้นเรียนมาศึกษาหรือวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้และนักศึกษายังขาดความรู้ความสามารถในการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนระดับมาก
2.6 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ ภาพรวมมีสภาพปัญหาในระดับน้อย (x┴-= 2.45 ,S.D.= .318) เมื่อพิจาณาในด้านการรายงานตัวตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้ การอยู่ร่วมกิจกรรมตลอดเวลา ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม และการร่วมปฏิบัติกิจกรรมได้ถูกต้องและเหมาะสม มีสภาพปัญหาระดับน้อย(x┴-= 2.04 ,S.D.= .199), (x┴-= 1.95 ,S.D.= .228), (x┴-= 2.00 ,S.D.= .331), และ(x┴-= 2.11 ,S.D.= .313) ตามลำดับ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.01 ,S.D.= .652), ส่วนการร่วมแสดงความคิดเห็นที่มีประโยชน์และตรงประเด็น มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.59 ,S.D.= .775) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เบญจวรรณ เกิดในมงคล (2546 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 4 สถาบัน พบว่า ผลการเปรียบเทียบปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของ 4 สถาบันไม่แตกต่างกัน โดยทุกสถาบันมีปัญหาน้อยทางด้านการเตรียมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเนื่องด้วยทุกสถาบันมีกระบวนการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศเป็นแนวปฏิบัติอันเดียวกัน
2.7 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา) ในด้าน
การเตรียมจัดการเรียนการสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก(x┴-= 3.52 ,S.D.= .237), เมื่อพิจารณาในด้านการเตรียมสถานที่ สื่อ ให้เหมาะสมกับสาระที่สอนและจำนวนผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.11 ,S.D.= .313) แต่การเตรียมจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน การเตรียมสาระการเรียนรู้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน และการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและส่งตรวจตามกำหนดเวลา มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.86 ,S.D.= .478), (x┴-= 3.89 ,S.D.= .313), และ(x┴-= 4.05 ,S.D.= .228) ตามลำดับ
กระบวนการและขั้นตอนการสอน
ขั้นเตรียม ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.55 ,S.D.= .445), การบริหารจัดการชั้นเรียนได้เหมาะสมและอบอุ่นร่างกายได้เหมาะสมและสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระที่สอน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.51 ,S.D.= .315) และ (x┴-= 3.84 ,S.D.= .892) ตามลำดับ
ขั้นการอธิบายและสาธิต ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.70 ,S.D.= .703) เมื่อพิจารณาในด้านการอธิบายและสาธิตได้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 2.92 ,S.D.= .568) แต่การอธิบายและสาธิตตรงตามเนื้อหาสาระที่สอน การจัดรูปแบบในการอธิบายสาธิตได้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่สอน ใช้ภาษาได้ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปตามลำดับ มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.58 ,S.D.= .993) , (x┴-= 3.62 ,S.D.= .932), และ (x┴-= 3.54 ,S.D.= .468) ตามลำดับ
ขั้นฝึกหัด ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.52 ,S.D.= .575) เมื่อพิจารณาในด้านผู้เรียนดำเนินการฝึกได้อย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัย มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 1.92 ,S.D.= .275) แต่แบบฝึกสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน จำนวนแบบฝึกเหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่สอน ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะได้อย่างทั่วถึง ผู้สอนค้นพบและแก้ไขการฝึกทักษะได้รวดเร็วและตรงจุด มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.05 ,S.D.= .402), (x┴-= 3.58 ,S.D.= .517), (x┴-= 3.56 ,S.D.= .126), และ (x┴-= 3.72 ,S.D.= .929) ตามลำดับ
ขั้นนำไปใช้ ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.68 ,S.D.= .258) กิจกรรมสอดคล้องกับขั้นอธิบายและสาธิตและขั้นฝึกหัด กิจกรรมสนุกสนานและคำนึงถึงความปลอดภัย และผู้เรียนสามารถนำทักษะที่ฝึกหัดไปใช้ได้อย่างถูกต้อง มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.89 ,S.D.= .313), (x┴-= 3.51 ,S.D.= .455), และ (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228) ตามลำดับ
ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.20 ,S.D.= .289) สรุปสาระสำคัญได้อย่างถูกต้อง ประเมินผลผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสซักถาม เน้นความสำคัญของสุขนิสัยทั้งก่อนและหลังการสอนและการจัดทำบันทึกหลังการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.11 ,S.D.= .313), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), (x┴-= 3.95 ,S.D.= .402), (x┴-= 4.00 ,S.D.= .486)และ(x┴-= 4.81 ,S.D.= .313) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม (2539 : 10) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเต็มรูป (ฝึกสอน) ของนักศึกษาสายครู สถาบันราชภัฏนครปฐม พบว่า นักศึกษามีปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เกี่ยวกับการเตรียมการสอนและด้านการสอน ความแม่นยำของเนื้อหา ขาดทักษะการตั้งคำถาม การนำเข้าสู่บทเรียน การผลิตและการใช้สื่อ ทักษะการจูงใจ การสรุปบทเรียน การวัดและประเมินผล การพูดและการใช้ภาษา การปกครองชั้นเรียน กำหนดกิจกรรมไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุดธิดา จันทร์มณี (2540 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถาบันราชภัฏเชียงราย สรุปได้ว่า นักศึกษามีปัญหาระดับมากเรื่อง การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอน ขั้นตอนในการสอน การสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดความสนใจ การใช้สื่อการสอน
2.8 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา) ในด้าน
การเตรียมจัดการเรียนการการสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.55 ,S.D.= .264) เมื่อพิจารณาในด้านการเตรียมสาระการเรียนรู้ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.01 ,S.D.= .309) แต่การเตรียมจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน การเตรียมสถานที่ สื่อ ให้เหมาะสมกับสาระที่สอนและจำนวนผู้เรียน การเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและส่งตรวจตามกำหนดเวลา มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.05 ,S.D.= .402), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228) และ (x┴-= 4.07 ,S.D.= .253), ตามลำดับ
กระบวนการและขั้นตอนการสอน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.56 ,S.D.= .352) เมื่อพิจารณาในด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนได้เหมาะสม มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.34 ,S.D.= .668) แต่การเร้าความสนใจผู้เรียนและการบอกจุดประสงค์การเรียนรู้ได้ชัดเจน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.00 ,S.D.= .331) และ (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228) ตามลำดับ
ขั้นสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.57 ,S.D.= .297) เมื่อพิจารณาในด้านการอธิบายและบรรยายตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้ภาษาได้ถูกต้องและชัดเจน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.16 ,S.D.= .497) และ (x┴-= 2.36 ,S.D.= .485) ตามลำดับ แต่การจูงใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและร่วมแสดงความคิดเห็น การถ่ายโยงความรู้ในสาระที่สอนให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การยกย่อง ชมเชย และเสริมแรงที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับมาก(x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), (x┴-= 3.89 ,S.D.= .313) และ (x┴-= 3.89 ,S.D.= .455), ตามลำดับ
ขั้นสรุป ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.06 ,S.D.= .242) การสรุปสาระสำคัญได้อย่างถูกต้อง การประเมินผลผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสซักถาม การเน้นความสำคัญของการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และการจัดทำบันทึกหลังการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.11 ,S.D.= .313), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), (x┴-= 4.00 ,S.D.= .331), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), (x┴-= 4.11 ,S.D.= .313) และ (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชัชวาล รัตนพร (2538 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (การฝึกและการจัดการกีฬา) วิทยาลัยพลศึกษาภาคตะวันออกแยงเหนือ พบว่า นักศึกษามีปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการเตรียมการสอนและสมรรถภาพทางความรู้
2.9 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.37 ,S.D.= .229) เมื่อพิจารณาในด้านลักษณะของกิจกรรม ระยะเวลาในการจัดโครงการ ความร่วมมือในการเข้าร่วมดำเนินงาน และความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.16 ,S.D.= .371), (x┴-= 2.09 ,S.D.= .338), (x┴-= 1.95 ,S.D.= .228) และ (x┴-= 2.05 ,S.D.= .228) ตามลำดับ การเขียนและการเสนอโครงการ มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.05 ,S.D.= .402) แต่การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน การประชุมและมอบหมายงาน การติดตามผลโครงการ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคระหว่างดำเนินการ การพัฒนาและปรับปรุงการจัดกิจกรรม การรวบรวมผลการดำเนินงานตามโครงการ การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ และการเขียนรายงานและประเมินผลโครงการ มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.11 ,S.D.= .313), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), (x┴-= 4.11 ,S.D.= .313), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228), (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228) และ (x┴-= 4.05 ,S.D.= .228) ตามลำดับ
2.10 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด (x┴-= 4.78 ,S.D.= .335) เมื่อพิจารณาในด้านการค้นหาปัญหาและการเสนอชื่อเรื่องเพื่อวิจัย มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.28 ,S.D.= .483) และ (x┴-= 4.36 ,S.D.= .485) ตามลำดับ ส่วนการเขียนเค้าโครง การกำหนดกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสืบค้นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย การเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ การทดลอง (Try – out) เครื่องมือ การเลือกใช้สถิติในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะและการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด (x┴-= 4.95 ,S.D.= .228), (x┴-= 4.84 ,S.D.= .497), (x┴-= 4.80 ,S.D.= .523), (x┴-= 4.84 ,S.D.= .497), (x┴-= 4.84 ,S.D.= .371), (x┴-= 4.89 ,S.D.= .313), (x┴-= 4.73 ,S.D.= .556), (x┴-= 4.89 ,S.D.= .313), ), (x┴-= 4.95 ,S.D.= .228), (x┴-= 4.84 ,S.D.= .497) และ (x┴-= 4.95 ,S.D.= .228) ตามลำดับ
2.11 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา) สรุปได้ว่า
การเตรียมจัดการเรียนการสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.98 ,S.D.= .362) เมื่อพิจารณาในด้านการเตรียมจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน การเตรียมสถานที่ สื่อ ให้เหมาะสมกับสาระที่สอนและจำนวนผู้เรียนการเตรียมสาระการเรียนรู้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับชั้นเรียนมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.96 ,S.D.= .360), (x┴-= 3.43,S.D.= .539) และ (x┴-= 4.00 ,S.D.= .296) ตามลำดับ ส่วนการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และส่งตรวจตามกำหนดเวลา มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด (x┴-= 4.83 ,S.D.= .483)
กระบวนการและขั้นตอนการสอน
ขั้นเตรียม ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.54 ,S.D.= .464) การบริหารจัดการชั้นเรียนและอบอุ่นร่างกายได้เหมาะสมและสัมพันธ์กับสาระที่สอน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.50,S.D.= .579) และ (x┴-= 4.00 ,S.D.= .419) ตามลำดับ
ขั้นการอธิบายและสาธิต ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.64 ,S.D.= .553) เมื่อพิจารณาในด้านการอธิบายและสาธิตตรงตามเนื้อหาสาระที่สอนมีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.22 ,S.D.= .660) ส่วนการจัดรูปแบบในการอธิบายสาธิตได้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่สอน ใช้ภาษาได้ถูกต้อง ชัดเจนและเป็นไปตามลำดับ อธิบายและสาธิตได้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน มีสภาพปัญหาระดับมาก(x┴-= 3.87 ,S.D.= .615), (x┴-= 3.88,S.D.= .531)และ (x┴-= 3.61 ,S.D.= .710) ตามลำดับ
ขั้นฝึกหัด ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.88 ,S.D.= .592) เมื่อพิจารณาในด้านผู้เรียนดำเนินการฝึกได้อย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัย มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.21 ,S.D.= .655) ส่วนแบบฝึกสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน จำนวนแบบฝึกเหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่สอน และผู้สอนค้นพบและแก้ไขการฝึกทักษะได้รวดเร็วและตรงจุดมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.00 ,S.D.= .514), (x┴-= 3.78,S.D.= .660) และ (x┴-= 3.91 ,S.D.= .587) ตามลำดับ ส่วนผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะได้อย่างทั่วถึง มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด〖 (x〗┴-= 4.52 ,S.D.= .883)
ขั้นนำไปใช้ ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.10 ,S.D.= .503) เมื่อพิจารณาในด้านกิจกรรมสอดคล้องกับขั้นอธิบายและสาธิตและขั้นฝึกหัด มีสภาพปัญหาระดับน้อย(x┴-= 2.22 ,S.D.= .510) กิจกรรมสนุกสนานและคำนึงถึงความปลอดภัยมีสภาพปัญหาระดับปานกลาง ( x┴-= 3.21 ,S.D.= .672) ผู้เรียนสามารถนำทักษะที่ฝึกหัดไปใช้ได้อย่างถูกต้อง มีสภาพปัญหาระดับมาก ( x┴-= 3.87 ,S.D.= .539)
ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก ( x┴-= 3.96 ,S.D.= .474) เมื่อพิจารณาในด้านการประเมินผลผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.09 ,S.D.= .657) สรุปสาระสำคัญได้อย่างถูกต้อง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสซักถาม เน้นความสำคัญของสุขนิสัยทั้งก่อนและหลังการสอน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.91 ,S.D.= .587), (x┴-= 3.91,S.D.= .410) และ (x┴-= 4.00 ,S.D.= .514) ตามลำดับส่วนการจัดทำบันทึกหลังการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด (x┴-= 4.87 ,S.D.= .450) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เบญจวรรณ เกิดในมงคล (2546 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 4 สถาบัน สรุปได้ว่า ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของ 4 สถาบันมีปัญหาทางด้านการเตรียมการสอนและการสอนมากกว่าด้านอื่น สาเหตุมาจากการเตรียมตัวก่อนจะสอนจริงจะต้องเขียนแผนการสอนล่วงหน้า ซึ่งทุกสถาบันได้ฝึกนักศึกษาตามหลักสูตรมาแล้ว แต่การนำมาใช้จริงต้องคิดและเขียนให้ทันตามกำหนดและต้องปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจก่อนซึ่งเป็นความวิตกกังวลของนักศึกษาแต่เป็นหัวใจสำคัญของการสอน
2.12 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา) สรุปได้ว่า
การเตรียมจัดการเรียนการการสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.20 ,S.D.= .443) เมื่อพิจารณาในด้านการการเตรียมจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน การเตรียมสาระการเรียนรู้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 1.90 ,S.D.= .394) และ (x┴-= 2.09 ,S.D.= .587) ตามลำดับ การเตรียมสถานที่ สื่อ ให้เหมาะสมกับสาระที่สอนและจำนวนผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.00 ,S.D.= .514) ส่วนการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและส่งตรวจตามกำหนดเวลา มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด (x┴-= 4.83 ,S.D.= .483)
กระบวนการและขั้นตอนการสอน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.54 ,S.D.= .466) เมื่อพิจารณาในด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 2.57 ,S.D.= .953) แต่การเร้าความสนใจผู้เรียนและบอกจุดประสงค์การเรียนรู้ได้ชัดเจน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.04 ,S.D.= .360) และ (x┴-= 4.00 ,S.D.= .296) ตามลำดับ
ขั้นสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.80 ,S.D.= .314) เมื่อพิจารณาในด้านการใช้ภาษาได้ถูกต้องและชัดเจน มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 2.91 ,S.D.= .587) แต่การอธิบายและบรรยายตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้ การจูงใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและร่วมแสดงความคิดเห็น การถ่ายโยงความรู้ในสาระที่สอนให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการยกย่อง ชมเชย และเสริมแรงที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.00 ,S.D.= .419), (x┴-= 4.13 ,S.D.= .339), (x┴-= 4.00 ,S.D.= .296) และ (x┴-= 3.96 ,S.D.= .205) ตามลำดับ
ขั้นสรุป ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.30 ,S.D.= .537) เมื่อพิจารณาในด้านการสรุปสาระสำคัญได้อย่างถูกต้อง ประเมินผลผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสซักถาม มีสภาพปัญหาระดับมาก (3.78 ,S.D.= .510), (x┴-= 4.00 ,S.D.= .514) และ (x┴-= 4.03 ,S.D.= .377) ตามลำดับ แต่การเน้นความสำคัญของการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม การจัดทำบันทึกหลังการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด (x┴-= 4.57 ,S.D.= .829), (x┴-= 4.61 ,S.D.= .825) และ (x┴-= 4.83 ,S.D.= .483) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิชิต สุรัตน์เรืองชัยและชลันดา พันธุ์พานิช (2546: 90) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการฝึกสอนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า นิสิตฝึกสอนไม่สามารถเขียนแผนการสอนได้ถูกต้อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใช้เวลามาก ทำให้เวลาที่กำหนดให้ไม่เพียงพอ ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อ ไม่สามารถวัดและประเมินผลการเรียนการสอนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ และยังสอดคล้องกับ กอบกิจ ธรรมานุชิต (2540 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษา พบว่า การปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน เช่น การส่งแผนการจัดการเรียนรู้ให้อาจารย์นิเทศและอาจารย์พี่เลี้ยงมีปัญหาระดับมาก จึงทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีเท่าที่ควร
2.13 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 2.96 ,S.D.= .377) เมื่อพิจารณาในด้านการเขียน การเสนอโครงการ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ลักษณะของกิจกรรม ระยะเวลาในการจัดโครงการ ความร่วมมือในการเข้าร่วมดำเนินงาน และความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 2.09 ,S.D.= .410), (x┴-= 2.09 ,S.D.= .506), (x┴-= 2.00 ,S.D.= .296) , (x┴-= 1.87 ,S.D.= .339) , (x┴-= 2.00 ,S.D.= .296)และ(x┴-= 1.91 ,S.D.= .283) ตามลำดับ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคระหว่างดำเนินการ มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 2.53 ,S.D.= .718) การประชุมและมอบหมายงาน การติดตามผลโครงการ การพัฒนาและปรับปรุงการจัดกิจกรรม การรวบรวมผลการดำเนินงานตามโครงการ การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 3.87 ,S.D.= .615), (x┴-= 4.04 ,S.D.= .360), (x┴-= 3.61 ,S.D.= .710) , (x┴-= 3.83 ,S.D.= .381) และ (x┴-= 3.83 ,S.D.= .483) ตามลำดับ ส่วนการเขียนรายงานและประเมินผลโครงการ มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด (x┴-= 4.78 ,S.D.= .510)

2.14 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.25 ,S.D.= .414) เมื่อพิจารณาในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.00 ,S.D.= .593) การค้นหาปัญหา การเสนอชื่อเรื่องเพื่อวิจัย การเขียนเค้าโครง การกำหนดกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.02 ,S.D.= .419), (x┴-= 3.92 ,S.D.= .497), (x┴-= 4.17 ,S.D.= .483), (x┴-= 4.04 ,S.D.= .360), (x┴-= 4.17 ,S.D.= .483), (x┴-= 3.96 ,S.D.= .467) และ (x┴-= 4.09 ,S.D.= .410) ส่วนการสืบค้นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย การเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ การทดลอง (Try – out) เครื่องมือ และการเลือกใช้สถิติในการวิจัย มีสภาพปัญหาระดับมากที่สุด (x┴-= 4.78 ,S.D.= .510) , (x┴-= 4.74 ,S.D.= .739) , (x┴-= 4.65 ,S.D.= .637) , (x┴-= 4.70 ,S.D.= .624) และ (x┴-= 4.96 ,S.D.= .205) ตามลำดับ
2.15 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ด้านคุณลักษณะความเป็นครู ภาพรวมมีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 2.54 ,S.D.= .348) เมื่อพิจารณาในด้านบุคลิกภาพน่าเลื่อมใสเหมาะสมกับความเป็นครู อุทิศเวลาในการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ มีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู มีกิริยาวาจาสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่ มีสภาพปัญหาระดับน้อย (x┴-= 1.96 ,S.D.= .360), (x┴-= 2.00 ,S.D.= .296) , (x┴-= 1.96 ,S.D.= .360), (x┴-= 2.04 ,S.D.= .205) , (x┴-= 2.00 ,S.D.= .419) , (x┴-= 2.00 ,S.D.= .296)และ(x┴-= 1.98 ,S.D.= .513) ตามลำดับ มีการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้เรียน มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสภาพปัญหาระดับปานกลาง (x┴-= 3.01 ,S.D.= .564) และ (x┴-= 2.97 ,S.D.= .637)ตามลำดับ ส่วนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและการมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีสภาพปัญหาระดับมาก (x┴-= 4.00 ,S.D.= .296) และ (x┴-= 4.00 ,S.D.= .514)ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับ เบญจวรรณ เกิดในมงคล (2546 : 215) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 4 สถาบัน พบว่า นักศึกษาที่มาเรียนวิชาชีพครูเป็นผู้ที่สนใจจะประกอบวิชาชีพครูอย่างแท้จริง จึงมีความศรัทธาและมีคุณลักษณะความเป็นครูสูง มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความรับผิดชอบและรู้จักหน้าที่เป็นอย่างดี

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
1. ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ
1.1 นักศึกษาไม่ตรงต่อเวลาและไม่มีความพร้อมเพรียง
1.2 อาจารย์นิเทศเข้าร่วมและให้คำแนะนำน้อยมาก
1.3 กำหนดการสัมมนาไม่แน่นอน บางครั้งได้รับแจ้งกระชั้นชิด จึงเข้าร่วมไม่ได้เพราะตรงกับกิจกรรม/โครงการที่โรงเรียน
1.4 กิจกรรมล้าสมัย ไม่น่าสนใจ นักศึกษามีส่วนร่วมน้อยมาก
1.5 ควรเพิ่มการสัมมนาเป็นภาคเรียนละ 3 – 4 ครั้งแต่เปลี่ยนหัวข้อ/เนื้อหาการสัมมนา
1.6 ควรนำนักเรียน/ผู้บริหาร/อาจารย์พี่เลี้ยง/ผู้ปกครอง มาแสดงความต้องการและความคิดเห็น
2. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา)
2.1 ควรมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาทักษะการสอนใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียนรุ่นใหม่
2.2 ควรมีการให้ข้อแนะนำและให้คำปรึกษาการเรียนการสอนมากกว่านี้
2.3 จัดทำและส่งแผนการสอนให้ตรวจไม่ทัน กิจกรรมของโรงเรียนมีมาก
2.4 ขาดสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์
2.5 เวลาเรียน 1 คาบเท่ากับ 50 นาที ไม่เพียงพอ เปลี่ยนกิจกรรมไม่ทันตามแผนการสอน
2.6 สถานที่ไม่เอื้ออำนวยในการเรียนการสอน โดยเฉพาะฤดูฝน
2.7 ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมหลักสูตรทางด้านการเคลื่อนไหว เกมและนันทนาการ
3. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา)
3.1 ควรมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาทักษะการสอนใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียนรุ่นใหม่
3.2 ควรมีการให้ข้อแนะนำการเรียนการสอนมากกว่านี้
3.3 จัดทำและส่งแผนการสอนให้ตรวจไม่ทัน กิจกรรมของโรงเรียนมีมาก
3.4ขาดสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์
3.5 หนังสือประกอบการเรียนไม่เพียงพอ
4. ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา
4.1 บางโรงเรียนเน้นวิชาการ ไม่ส่งเสริมโครงการทางด้านสุขภาพและกีฬา
4.2 นักศึกษามีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการจัดทำโครงการน้อยมาก
4.3 ควรจัดสรรงบประมาณบางส่วนให้นักศึกษาจัดทำโครงการด้วย
5. ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
5.1 ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะการวิจัยยังมีน้อยมาก
5.2 สถาบันควรให้คำปรึกษาให้มากกว่านี้
5.3 แหล่งศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา ข้อมูลสารสนเทศ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ
5.4 ที่ปรึกษางานวิจัยและผู้เชี่ยวชาญมีน้อยและติดต่อประสานงานยาก
5.5 กิจกรรมที่โรงเรียนมีมากจึงเสนอเค้าโครงงานวิจัยไม่ทัน

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์นิเทศ
1. ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ
1.1 นักศึกษาไม่ตรงต่อเวลาและไม่มีความพร้อมเพรียง
1.2 อาจารย์นิเทศมีส่วนร่วมน้อยมาก
1.3 กำหนดการสัมมนาไม่แน่นอน
1.4 กิจกรรมล้าสมัย ไม่น่าสนใจ
1.5 ควรมีความพร้อมและเนื้อหาที่ชัดเจน
1.6 ควรจัดสรรงบประมาณให้มากกว่านี้
2. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา)
2.1 มีสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์น้อยและล้าสมัย
2.2 ไม่มีรูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลาย
2.3 นักศึกษาไม่สอนตามแผนการสอน
2.4 นักศึกษาติดต่อสื่อสารและแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับอาจารย์นิเทศน้อยมาก
2.5 ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมหลักสูตรทางด้านการเคลื่อนไหว เกมและนันทนาการ
3. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา)
3.1 มีสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์น้อยและล้าสมัย
3.2 ไม่มีรูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลาย
3.3 นักศึกษาไม่สอนตามแผนการสอน
3.4 นักศึกษาติดต่อสื่อสารและแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับอาจารย์นิเทศน้อยมาก
3.5 ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมหลักสูตรทางด้านการใช้ชีวิต สุขอนามัยและสุขนิสัยที่ดี
4. ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา
4.1โครงการไม่มีกิจกรรมใหม่ๆ ส่วนมากเหมือนและคล้ายคลึงกับนักศึกษารุ่นพี่
4.2 ควรจัดทำภาคเรียนละ 1 โครงการ
4.3 นักศึกษาไม่ดำเนินการตามกระบวนการจัดทำโครงการ
4.4 นักศึกษาไม่ประเมินผล สรุปและรายงานผลโครงการ
5. ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
5.1 ควรเน้นปัญหาและกระบวนการวิจัย ที่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียนและสามารถนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้
5.2 นักศึกษาไม่ดำเนินการตามแบบแผนการวิจัย
5.3 ความรู้ความสามารถและทักษะการวิจัยมีน้อยมาก
5.4 ควรกำกับ ติดตาม ดูแลและให้คำปรึกษาทางด้านจรรยาบรรณการวิจัยให้มากกว่านี้
5.5 นักศึกษาต้องมีความพยายามที่จะอุทิศเวลาในการทำการวิจัย

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์พี่เลี้ยง
1. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาพลศึกษา)
1.1 ควรปรับลดขั้นตอนการสอนลงบ้างเพื่อนักเรียนจะได้มีเวลาปฏิบัติกิจกรรมมากขึ้น
1.2 ไม่มีรูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลาย
1.3 นักศึกษาไม่ส่งแผนการสอนให้ตรวจก่อนสอนตามกำหนด
1.4 นักศึกษาขอคำปรึกษาและแจ้งปัญหาให้กับอาจารย์พี่เลี้ยงน้อยมาก
2. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (วิชาสุขศึกษา
2.1 ควรเน้นและอธิบายนอกเหนือจากหนังสือประกอบการเรียนบ้าง นักเรียนจะได้เข้าใจได้เร็วและมีความรู้มากยิ่งขึ้น
2.2 สถาบันควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์
2.2 ไม่มีรูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลาย
2.3 นักศึกษาไม่สอนตามแผนการสอน
2.4 นักศึกษาไม่ค่อยขอคำปรึกษากับอาจารย์พี่เลี้ยง
2.5 ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมหลักสูตรทางด้านการใช้ชีวิต สุขอนามัยและสุขนิสัยที่ดี
3. ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา
3.1 ควรเพิ่มเวลาและจัดกิจกรรมในโครงการให้มากขึ้นกว่านี้
3.2 นักศึกษาขาดประสบการณ์ในการจัดทำโครงการ
4. ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
4.1 ควรจัดทำวิจัยในชั้นเรียนที่เกิดจากปัญหาของผู้เรียน
4.2 นักศึกษาไม่ดำเนินการตามแบบแผนการวิจัย
5. ด้านคุณลักษณะความเป็นครู
5.1 นักศึกษายังมีความรู้ความเข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการของผู้เรียนน้อยมาก
5.2 การควบคุมชั้นเรียนเป็นไปด้วยความลำบาก
5.3 ควรมีความมุ่งมั่นและรับผิดชอบงานให้มากกว่านี้

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้
จากข้อค้นพบจากการวิจัย สถาบันผลิตครูและสถานศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ควรนำข้อสรุป การอภิปรายผลและข้อคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง ไปพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถาบันการพลศึกษา ในรูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และรูปแบบที่เหมาะสมอื่นๆ ต่อไป

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการเปรียบเทียบความคิดเห็นทางด้านสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
2. ควรศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา
3. ควรศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
4. ควรศึกษาความคิดเห็นทางด้านสภาพความต้องการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของผู้บริหาร ผู้ปกครอง และนักเรียน



บรรณานุกรม

กอบกิจ ธรรมานุชิต. (2540). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ของนักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ชัชวาล รัตนพร. (2538). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2532). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
เบญจวรรณ เกิดในมงคล. (2546). ศึกษาสภาพและปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของ
สถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ปราณี อมรรัตนศักดิ์. (2539). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์นิเทศตามการรับรู้ของ
อาจารย์พี่เลี้ยงและนักศึกษาฝึกสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณี เกษผกา. (2532). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสุขศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยพล
ศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย..
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :
สุวิริยาสาส์น.
วิชิต สุรัตน์เรืองชัยและชลันดา พันธ์พานิช. (2546). ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการ
ฝึกสอนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพร ควรชม. (2538). ความรู้ความสามารถในการนิเทศการฝึกสอนของอาจารย์นิเทศ :
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงตามการรับรู้ของตนเองและนักศึกษา
ฝึกสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันการพลศึกษา. (2550). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (5ปี) สาขาวิชาพลศึกษา
(ปรับปรุง พ.ศ. 2550). กรุงเทพฯ ; สถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สถาบันราชภัฏนครปฐม. คณะครุศาสตร์. (2539). รายงานการวิจัย ปัญหาการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพครูเต็มรูป (ฝึกสอน) ของนักศึกษาสายครู สถาบันราชภัฎนครปฐม ปี
การศึกษา 2539. นครปฐม : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎนครปฐม .
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2524). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สมบัติ คชสิทธิ์. (2534). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูของสหวิทยาลัย
รัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
สุดธิดา จันทร์มณี. (2540). การจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถาบันราชภัฏเชียงราย.
เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรสา โกศลานันทกุล. (2549). เอกสารคำสอนรายวิชาวิทยาการวิจัย (Research
Methodology). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม
ราชูปถัมภ์.
อุดมศักดิ์ นิกรพิทยา. (2534). การประเมินโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา
วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

******************
Thursday 9 December 2010 | 17 comments | By: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์

ขอเชิญร่วมประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการนานาชาติ

คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ ขอเชิญเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ งานวิจัย โครงงาน และหรือโครงการทางพลศึกษา สุขศึกษา ในโครงการสร้างเครือข่ายสุขภาพในสถานศึกษาภูมิภาคเอเซีย เพื่อสร้างนักวิจัยใหม่อย่างยั่งยืน

ระหว่างวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 18 - 19 ธันวาคม 2553 นี้ ณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ

งานนี้มีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยโกเบ (Kobe University) ประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาบรรยายในหัวข้อเรื่อง "การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนโดยใช้โปรแกรม HQC" (Health Quality Control)

นอกจากนั้น ยังมีการนำเสนองานวิจัย ผลงานทางวิชาการ เอกสาร ตำรา เอกสารประกอบการสอน งานแปล และโครงการสุขภาพต่าง ๆ มากมาย

ลงทะเบียนคนละ 300.- บาท ตลอดงาน