Sunday 23 September 2018 | 0 comments | By: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์

แผนบริหารการเรียนการสอนประจำบทที่ 4 วิวัฒนาการการพลศึกษาประเทศไทย (ต่อ)


แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนประจำบทที่ 4
วิวัฒนาการการพลศึกษาประเทศไทย (ต่อ)

เนื้อหา
         1. การพลศึกษาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
         2. การพลศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษา
         3. การพลศึกษาในสมัยอุตสาหกรรมใหม่
                                                
จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. บอกการพลศึกษาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้
         2. บอกการพลศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษาได้
         3. บอกการพลศึกษาในสมัยอุตสาหกรรมใหม่ได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
          1. บรรยายประกอบสื่อ PowerPoint เกี่ยวกับเนื้อหาที่กำหนด
          2. แบ่งกลุ่มผู้เรียนศึกษาวิวัฒนาการของการพลศึกษาประเทศไทยในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
          3. อภิปรายวิวัฒนาการของการพลศึกษาประเทศไทยในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
          4. สรุปวิวัฒนาการของการพลศึกษาประเทศไทยในหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
          5. อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นและร่วมกันสรุปบทเรียน
          6. ทำแบบฝึกหัดท้ายแผนบริหารการการสอนประจำบท
          7. แนะนำเอกสารประกอบการสอนรายวิชา ตำราและแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมอื่นๆ

สื่อการเรียนการสอน
          1. เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาและหลักการพลศึกษา 
          2. PowerPoint เนื้อหาที่สอน
          3. เอกสาร ตำรา หนังสือที่เกี่ยวข้องกับประวัติ ปรัชญาและหลักการพลศึกษา 
          4. ทำแบบฝึกหัดท้ายแผนบริหารการสอนประจำบท
          5. ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ

การวัดและประเมินผล
           1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                  1.1 แบบประเมินพฤติกรรมตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม (สำหรับผู้เรียน)
                  1.2 แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรม (สำหรับผู้สอน)
           2. ด้านความรู้
                   - คะแนนจากแบบทดสอบท้ายแผนบริหารการสอนประจำบท
           3. ด้านทักษะทางปัญญา
                   - แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะทางปัญญา (การทำงานรายบุคคล)
           4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                   - แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (การทำงานกลุ่ม)                  
           5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                  - แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
           6. ด้านการจัดการเรียนรู้
                 - แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะการจัดการเรียนรู้

บทที่ 4
วิวัฒนาการการพลศึกษาประเทศไทย (ต่อ)

            การพลศึกษาในสมัยปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นการนำองค์ความรู้จากศาสตร์หลายสาขาวิชามาผสมผสานกันทางวิทยาศาสตร์และกลุ่มศิลปะศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น ชีวกลศาสตร์การกีฬา กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา จิตวิทยาการกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวัดและประเมินผล เป็นต้น จึงทำให้พลศึกษาเป็นศาสตร์ที่มีทฤษฎี หลักการ เหตุผลและพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ช่วยทำให้มีคุณภาพชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัยและน้ำใจนักกีฬา ในอนาคตอันใกล้นี้คำว่า พลศึกษาอาจจะไม่เหมาะสมและไม่คลอบคลุมองค์ความรู้ที่ขยายกว้างขวางออกไปเพราะความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทำให้สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเข้าร่วมในกิจกรรมพลศึกษาและการกีฬาต้องอาศัยหลักวิชาการต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์สังคมมาประกอบการอธิบายให้มากขึ้น ดังนั้นปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศได้เปลี่ยนชื่อภาควิชาพลศึกษา เป็น “Department or College of Kinesiolgy, Applied Life Science, Exercise Science, Biomechanics Sport, Physical Science, Sport Science, Human Performance” เป็นต้น  

1. การพลศึกษาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (2475-2515)
          ในช่วงระยะเวลาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีอิทธิพลต่อการศึกษาอย่างมากโดยเริ่มตั้งแต่ พ.. 2475-2501 การพลศึกษาเริ่มเข้าสู่วิชาการแผนใหม่ มีรูปแบบมากยิ่งขึ้นซึ่งงานส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของกรมพลศึกษา สังกัดกระทรวงธรรมการ เนื่องจากช่วงเวลายาวนานเกี่ยวข้องถึง 4 รัชกาล คือ ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและรัชกาลสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รวมทั้งเกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีที่เปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศถึง 29 คณะและมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศถึง 6 ฉบับ
        1.1 การพลศึกษาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
               1.1.1 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ..2475-2477) ถึงเหตุการณ์บ้านเมืองจะไม่สู้สงบแต่พระองค์ก็ยังทรงยินดีที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแข่งขันกีฬาตามคำกราบบังคมทูล ดังเช่นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างสโมสรกฤษฎาคมกับสโมสรอัสสัมชัญ ในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.. 2475 เวลา 16.00 . ณ สนามหลวงสวนดุสิต (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. 8/2) นอกจากนี้ยังมีพระราชวงค์ทรงนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย คือ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ใช้พระนามแฝงว่า . พีระ(B. Bira) ได้ทรงรถแข่งในการแข่งขันระหว่างชาติ ซึ่งพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเป็นผู้สนับสนุนโดยออกทุนทรัพย์และเป็นผู้อำนวยการ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ทรงชนะที่ 1 ทั้งที่เกาะอังกฤษ ไอร์แลนด์ และที่ประเทศต่างๆ ในภาคพื้นยุโรป เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับชัยชนะในต่างประเทศ ซึ่งนำความชื่นชมมาสู่คนไทยและรัฐบาลเป็นอย่างมาก ดังภาพ 4.1


ภาพ 4.1 พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ทรงเข้าร่วมและชนะเลิศการแข่งรถที่ประเทศอังกฤษ
ที่มา: (ถนอมวงษศ์ กฤษณ์เพชร. 2538: 120)

               จะเห็นได้ว่าในส่วนพระองค์และพระญาติพระวงศ์สนพระราชหฤทัยในการกีฬามาก ทั้งทรงร่วมออกพระกำลังกายด้วยกีฬาชนิดต่างๆ และทรงส่งเสริมให้การพลศึกษา และการกีฬาเจริญก้าวหน้าต่อไปอีกด้วย
              1.1.2 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พ.. 2477-2489) รัชกาลที่ 8 ทรงครองราชย์ 12 ปี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การพลศึกษาและการกีฬาได้รับการสนับสนุนมากขึ้น พระองค์ทรงส่งเสริมการพลศึกษาในด้านการเรียนการสอน การจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานอยู่เสมอ ในรัชกาลของพระองค์ กรมพลศึกษาเริ่มมีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านการผลิตครูพลศึกษา การอบรมครูพลศึกษาทั่วราชอาณาจักร ขยายหลักสูตรวิชาพลศึกษาให้กว้างยิ่งขึ้น (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. 2489: 25) ดังภาพ 4.2





ภาพ 4.2 รัชกาลที่ 8 และพระอนุชาทรงกีฬาต่างๆ
ที่มา: (ถนอมวงษศ์ กฤษณ์เพชร. 253: 123)

              1.1.3 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.. 2489-2559)
                            ในรัชกาลที่ 9 ถือว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน การพลศึกษาและการกีฬาก้าวไปสู่แผนใหม่ มีการค้นคว้า วิจัยอย่างกว้างขวางเป็นทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทรงเป็นนักกีฬาโดยแท้จริง ทรงชนะเลิศการแข่งขันเรือใบประเภท โอ เค ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 และยังโปรดกีฬาประเภทต่างๆ อีก เช่น สกีน้ำ แบดมินตัน เทนนิส ว่ายน้ำและการเดินทางไกล (กาฬวรรณ ดิสกุล. 2514: 21) ดังภาพ 4.3 และ 4.4






ภาพ 4.3 รัชกาลที่ 9 ทรงกีฬาเรือใบและชนะเลิศในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4

                                                                                 




                                                                        
                   









                      

             (ก)                                                                           (ข)
ภาพ 4.4 รัชกาลที่ 9 ทรงแบดมินตัน (ก) และทรงเทนนิส (ข)
ที่มา: (ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพชร. 2538: 126)

           พระองค์สนพระราชหฤทัยเรื่องการกีฬามาก พระราชทานไฟพระฤกษ์ในการแข่งขันกีฬาเขตจนเปลี่ยนมาเป็นกีฬาแห่งชาติ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ สนามกีฬากลางจังหวัดที่รับเป็นเจ้าภาพเสมอมา สำหรับการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์และโอลิมปิกเกมส์ รวมทั้งการแข่งขันกีฬาสำคัญๆ เช่น มวย ฟุตบอล กรีฑา พระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อเป็นสิริมงคลแก่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่และนักกีฬาทุกคน
           นอกจากนี้พระองค์ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแข่งขันกีฬารายการสำคัญๆ อยู่เสมอ เช่น การแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปี การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ ฯลฯ (กรมพลศึกษา, 2499: 1)
          เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญและภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีความยุ่งยากในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งคณะรัฐบาลที่ผลัดกันเข้ามาปกครองประเทศมี 3 ลักษณะ คือ รัฐบาลคณะราษฎร์  รัฐบาลทหารและรัฐบาลของพลเรือน ดังนี้
        1.2 รัฐบาลคณะราษฎร์ (https://th.wikipedia.org/wiki/คณะรัฐมนตรีไทย)
                1.2.1 รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (รัฐบาลคณะที่ 1, 2 และ 3 บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2475-2476)
                        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินประเทศสยามในวันที่ 27 มิถุนายน พ.. 2475 หัวหน้าคณะราษฎร์ได้เสนอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากบุคคลสำคัญในวงการเมืองจากทุกฝ่าย มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีถึง 3 ชุด (รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 1. 2475: 2)                        
                        พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอนุมัติแผนการศึกษาชาติ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพลศึกษาในความมุ่งหมาย ข้อ 3 ความว่า “เพื่อความสมบูรณ์แห่งพสกนิกรสยามท่านได้จัดการศึกษาทั้งสามส่วนล้วนพอเหมาะกันคือ (1) จริยศึกษา อบรมให้มีศีลธรรมอันดีงาม (2) พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ (3) พลศึกษา ฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายบริบูรณ์” นับได้ว่าเป็นการเริ่มแรกในการบรรจุวิชาพลศึกษาเข้าเป็นองค์หนึ่งของการศึกษาอย่างเป็นทางการ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507: 30)                       
               1) วัตถุประสงค์ของพลศึกษา วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน
            1.1) เพื่อให้เกิดฝีมือ มีความรู้สำหรับจะได้รักษาตัวให้รอดพ้นจากอันตรายเเละความยากลำบากต่างๆ เมื่อถึงคราวเข้าที่กันดาร
            1.2) เพื่อให้เกิดวินัย
            1.3) เพื่อให้เป็นพลเมืองที่มีความแข็งแรง มีน้ำใจนักกีฬา เป็นนักสู้ มีไหวพริบว่องไวและมีความสามัคคีในหมู่คณะ
     2) วัตถุประสงค์ในการแข่งขันกีฬา
            2.1) เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีและความมีระเบียบวินัยในหมู่คณะ
            2.2) เพื่อฝึกความมีไหวพริบ ว่องไวในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ
            2.3) เพื่อให้ร่างการแข็งแรงมีน้ำใจนักกีฬาและเป็นนักสู้
            2.4) เพื่อบ่มเพาะคุณธรรม 4 ประการ คือ ใจนักเลง สามัคคี อาจหาญ และขันติ
     3) หลักสูตรวิชาพลศึกษาและการเรียนการสอน
                     3.1) หลักสูตรพลศึกษา ในปี พ.ศ. 2476 มีหลักสูตรวิชาพลศึกษาซึ่งต้องเรียนทุกชั้นปี สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
                            ในปี พ.ศ. 2477 มีหลักสูตรพลศึกษาสำหรับโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายการช่าง กำหนดให้เรียนพลศึกษาทุกชั้น ชั้นละ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
                     3.2) การเรียนการสอน หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้จัดวิชาพลศึกษา ไว้ในหลักสูตรระดับประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา ครูพลศึกษามีมากขึ้น การเรียนการสอนโดยครูผู้สอนพลศึกษาเป็นรูปแบบมากขึ้นตามลำดับ พลศึกษาที่จัดขึ้นตามโรงเรียน คือ การดัดตนท่ามือเปล่ากับใช้เครื่องมือ การดัดตนส่วนห้อยโหน มวยสากล (มวยฝรั่ง) มวยไทย ยูโด (ญูญิตสู) และกรีฑารวมทั้งกีฬาบางประเภทด้วย (กระทรวงศึกษาธิการ. 2475:40)
               4) การจัดพลศึกษาในระบบการศึกษา การเรียนการสอนในระบบการศึกษาให้มีการสอนพลศึกษาในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้เรียนลูกเสือ โดยนำกิจกรรมพลศึกษามาใช้ในการสอน คือ ระเบียบแถว ดัดกาย ยิมนาสติก แต่นักเรียนหญิงให้เรียนการเรือนแทน ชั้นประถมศึกษาเรียนสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ชั้นมัธยมศึกษาเรียนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ส่วนในชั้นมัธยมปลายให้เรียนวิชาพลศึกษาโดยตรงสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507: 41)
             5) การจัดการพลศึกษานอกระบบการศึกษา รัฐบาลชุดนี้ยังคงยึดแนวการจัดการกิจกรรมพลศึกษานอกระบบโรงเรียนเช่นปีก่อนๆ ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของสมาคมหรือสโมสรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งสิ้นในปีนี้ สมาคมวาย เอ็ม ซี เอ (Y M C A, Young Men’s Christian Association) ได้รับการรับรองให้ดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีหลักการและวิธีการของค่ายวาย เอ็ม ซี เอ จากประเทศอังกฤษซึ่งเข้ามายังประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2435
            6) การจัดการแข่งขันกีฬา การแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2476 คงดำเนินต่อไปตามปกติในปี พ.ศ. 2475 การแข่งขันกรีฑาของกระทรวงธรรมการเรื่องกำหนดรุ่นและประเภทการแข่งขันกรีฑาดังนี้ (สามัคยาจารย์สมาคม. 2475: 48)
                     6.1) กรีฑานักเรียนชาย แบ่งการแข่งขันออกเป็นรุ่นต่างๆ ดังนี้
                             6.1.1) รุ่นเล็กที่สุด นักเรียนมีความสูงไม่เกิน 1.40 เมตร
                             6.1.2) รุ่นเล็ก นักเรียนมีความสูงไม่เกิน  1.50 เมตร
                             6.1.3) รุ่นกลาง  นักเรียนมีความสูงไม่เกิน 1.60 เมตร
                              6.1.4 รุ่นใหญ่ ไม่จำกัดความสูง
                     6.2) กรีฑานักเรียนหญิง แบ่งการแข่งขันออกเป็นรุ่นต่างๆ ดังนี้
                             6.2.1) รุ่นเล็กที่สุด นักเรียนมีความสูงไม่เกิน 1.30 เมตร
                             6.2.2) รุ่นเล็ก นักเรียนมีความสูงไม่เกิน  1.40 เมตร
                             6.2.3) รุ่นกลาง  นักเรียนมีความสูงไม่เกิน 1.50 เมตร                    
                 ในปี พ.ศ. 2476 การแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปีที่สนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มีการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ เช่นปีก่อน รวมทั้งการแข่งขันฟุตบอลซึ่งได้งดชั่วคราว แต่ได้มีคำสั่งและคำแถลงการณ์ของกระทรวงธรรมการเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันฟุตบอลและการร่วมมือกันจัดกีฬาเพราะปรากฏว่าการแข่งขันกีฬาที่ผ่าน ๆ มา 3-4 ปีและการเล่นฉันท์มิตร เมื่อปี พ.ศ. 2475 ไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเกิดจากความบกพร่องในการฝึกอบรมของโรงเรียน การควบคุมของโรงเรียนและการตัดสินลงโทษไม่เฉียบขาดส่วนการแข่งขันกีฬาแผนกอื่นได้ผลเป็นที่พอใจ            ตามโรงเรียนยังไม่มีการเล่นอะไรที่จะช่วยอบรมเด็กให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬาได้ดีกว่าฟุตบอลจึงต้องเคร่งครัดการปฏิบัติให้มากขึ้น  จึงให้มีการแข่งขันชิงโล่ห์ตามเดิม ให้กรรมการสอดส่องกวดขันอย่างดีและให้โรงเรียนจัดฝึกหัดการเล่นฟุตบอลเพื่อบ่มเพาะคุณธรรม 4 ประการคือ ใจนักเลง สามัคคี อาจหาญและขันติ พร้อมทั้งให้โรงเรียนคัดเลือกตัวนักกีฬาเฉพาะผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
              7) หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพลศึกษา  
                      สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพลศึกษาและการกีฬาคงดำเนินการเช่นสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงคือกระทรวงธรรมการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรวิชาพลศึกษาในระดับโรงเรียนประถมศึกษา  มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โรงเรียนอาชีวศึกษา และสถาบันผลิตครูทั่วไปและครูพลศึกษา สมาคมกีฬาสมัครเล่นและสโมสรกีฬาจัดการแข่งขันกีฬาประชาชนและจัดสอนกีฬาเฉพาะประเภทแก่สมาชิก สามัคยาจารย์สมาคมจัดอบรมกีฬาบางประเภทให้แก่ผู้สนใจและครูรวมทั้งสมาชิกด้วย 
          1.3 รัฐบาลพลเอกพระยาพหลพยุหเสนา (รัฐบาลคณะที่ 4, 5, 6, 7 และ 8 บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2476-2481)
                    การบริหารประเทศของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีถึง 5 ชุด คือ รัฐมนตรีคณะที่ 4 มีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 มีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 มีพระสาวสาสน์ประพนธ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ และคณะรัฐมนตรีคณะที่ 7 มีนาวาเอกหลวงสินธุ์สงครามชัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ (ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. 2511: 15)
                 นโยบายการศึกษาของรัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุเสนาได้มุ่งถึงสาระสำคัญคือ การพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทางกายและปัญญาในขณะเดียวกันก็ต้องการให้คนในชาติมีวินัย เพื่อยังผลมาสู่การปกครองและความมั่งคงของชาติ เพื่อเป็นการสนองเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการที่จะให้การพลศึกษาเป็นสื่อนำทำให้เกิดวินัยในหมู่คณะรัฐบาลจึงได้ประกาศตั้งกรมพลศึกษา สังกัดกระทรวงธรรมการขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 โดยรัฐบาลได้แถลงนโยบายในการจัดตั้งกรมพลศึกษาไว้ว่า ...ในมาตรา 12... การที่รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษานี้ขึ้นก็เพราะต้องการให้นักเรียนและลูกเสือมีจิตเป็นนักกีฬา เพราะประเทศต่างๆ เขามีความประสงค์เช่นนั้นจึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศเราควรที่จะดำเนินตามด้วย ทั้งนี้เพื่อให้พลเมืองเรามีความแข็งแรง สำหรับนโยบายของกรมพลศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2477 ได้เขียนไว้ว่า“…บุคคลที่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาตินั้น ถึงแม้จะได้รับจริยศึกษาและพุทธิศึกษาเป็นอย่างดีแล้วก็ตามแต่ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงใจคอไม่หนักแน่น  ขาดการอนามัยและเป็นขี้โรคแล้วก็ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ของตนให้ได้ผลเต็มที่  พลศึกษาจึงเป็นหลักสำคัญของการศึกษาอย่างหนึ่ง แต่เดิมมายังไม่มีกรมพลศึกษา โรงเรียนขาดการเอาใจใส่ในการพลศึกษามุ่งเฉพาะที่จะอบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีความรู้ไปทางจริยศึกษาและพุทธิศึกษา ในการบริหารราชการของกระทรวงธรรมการนั้นเจ้าหน้าที่ไม่มีเวลาพอที่จะส่งเสริมการพลศึกษาให้เจริญยิ่งขึ้นและส่งเสริมวิชาพลศึกษาแพร่หลายกว่าที่แล้วมาจึงตั้งกรมพลศึกษาขึ้นเพื่อเป็นการแสดงว่าเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลยอมรับว่ากิจกรรมพลศึกษาก็สำคัญไม่น้อยกว่าจริยศึกษาและพุทธิศึกษา (กระทวงศึกษาธิการ. 2507: 34)
                 กรมพลศึกษาในสมัยนั้นทำหน้าที่ผลิตครูพลศึกษาออกไปสอนนักเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเรื่องการพลศึกษา การกีฬา การแข่งขันกีฬารวมทั้งรับผิดชอบกีฬานักเรียนและกีฬาประชาชนด้วย เมื่อตั้งกรมพลศึกษาขึ้นแล้ว รัฐบาลจึงตั้งให้นาวาเอกหลวงศุภชลาศัยเป็นอธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก  ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาขึ้นเพื่อขยายและส่งเสริมการพลศึกษาของชาติให้เจริญยิ่งขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ.  2487: 56)                 
                จากความประสงค์รัฐบาลที่ต้องการให้การกีฬาเข้าถึงประชาชน หน่วยงานเทศบาลให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2477 ได้กำหนดไว้ในข้อ 5 มาตรา 52 ว่าภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลนครมีอำนาจหน้าที่ที่จะต้องจัดให้มีและบำรุงสถานที่สาธารณะสำหรับกีฬาและพลศึกษา   จึงทำให้มีสนามกีฬาในโรงเรียนเทศบาลและมีสนามเด็กเล่นตามชุมชนทั่วไป เช่น สนามเด็กเล่นที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรีและในปี พ.ศ. 2476 กองกีฬา สังกัดกรมพลศึกษาจัดการแข่งขันกีฬาประจำปีเป็นครั้งแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2479 ได้มีการแข่งขันกีฬากรีฑานักเรียนและกีฬาประชาชนที่ท้องสนามหลวง (ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 51. 2477: 78)       
                  1.3.1 การจัดพลศึกษาในระบบการศึกษา
                            การจัดพลศึกษาในระบบการศึกษา ให้มีการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในชั้นเรียนตามแบบแผนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรมากยิ่งขึ้นเพราะมีกรมพลศึกษา แผนการศึกษาชาติ ฉบับ พ.ศ. 2475 กำหนดให้มีการเรียนการสอนครบองค์สาม (พุทธิศึกษา จริยศึกษาและพลศึกษา)
                            โรงเรียนพลศึกษากลางได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีกหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี พ.. 2477 เพราะรัฐบาลต้องการครูพลศึกษามากขึ้นเพื่อออกไปดำเนินการสอนในโรงเรียนให้สัมฤทธิผลการศึกษาชาติฉบับ พ.. 2477 นโยบายการผลิตครูพลศึกษาจึงมีจำนวนมากกว่าปีก่อนๆ มาก กล่าวคือในปี พ.. 2478 กรมพลศึกษาได้สร้างอาคารของโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาขึ้นใหม่ในกรีฑาสถานแห่งชาติ และในปี พ.. 2479 และ 2480 กองกายบริหารได้เปิดการอบรมวิชาพลศึกษาได้แก่นักเรียนทุนที่คัดเลือกมาจากแต่ละจังหวัด ๆ ละ 1 คนเป็นเวลา 9 เดือน แบ่งการอบรมเป็น 3 ตอนๆ ละ 3 เดือน นอกจากนี้ยังกำหนดหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลาง พ.. 2479 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อายุ 15 ปี ผู้ที่สอบวิชาบังคับได้ครบ 7 วิชา คือ กรีฑา กีฬา กายบริหาร วิชาจรรยาครู วิชาลูกเสือ สุขศึกษาและปฐมพยาบาล จะได้รับประกาศนียบัตรประโยคผู้สอนพลศึกษาตรี (พ..) สอบวิชาเลือกได้อีก 2 ใน 4 ชุด ได้รับประกาศนียบัตรประโยคผู้สอนพลศึกษาโท (พ..) ถ้าสอบวิชาเลือกได้ครบ 4 ชุด ได้รับประกาศนียบัตรประโยคผู้สอนพลศึกษาเอก (พ..) ใน 4 ชุด คือมี 6 วิชา ได้แก่ กระบี่กระบอง ยูโด ดัดตนส่วนห้อยโหน ดาบสากล (ฟันดาบ)  มวยไทย มวยสากล                        
                         .. 2481 กองกายบริหารมีแผนกโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ. . 2482 ได้ย้ายโรงเรียนพลศึกษากลางจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมายังกรีฑาสถานแห่งชาติโดยใช้ชั้นล่างเป็นห้องเรียน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507: 25)
             1.3.2 การจัดพลศึกษานอกระบบการศึกษา
                         รัฐบาลชุดนี้ได้จัดทำการพลศึกษานอกระบบการศึกษาอย่างเป็นรูปแบบและหน่วยงานของราชการทำหน้ารับผิดชอบอยู่ คือ กองพลศึกษาหรือกองกายบริหาร จัดทำตำราและกติกากีฬาต่างๆ เผยแพร่ความรู้ไปสู่นักเรียน นักศึกษาและประชนทั่วไป ตลอดจนเปิดการอบรมนักเรียน ครูและผู้สนใจทางการกีฬาอย่างกว้างขวาง (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507: 27)
                1.3.3 การจัดการแข่งขันกีฬา
                         .. 2477 มีการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์เป็นครั้งแรกและมีการจัดการแข่งขันกับเกือบทุกปี ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจต่อการแข่งขันรายการนี้มากและการแข่งขันทุกครั้งคณะกรรมการการจัดการแข่งขันจะนำเงินรายได้ไปช่วยงานกุศล  การแข่งขันฟุตบอลประเพณีนี้ได้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบันนี้ (จุฬา-ธรรมศาสตร์. 2515: 2)
                         .. 2478 การแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปีที่สนามโรงเรียนหอวัง (กรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน) ปีนี้เริ่มบรรจุประเภทกีฬาในโรงเรียนให้มากขึ้นและได้ใช้สนามกีฬาแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่น สนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สนามโรงเรียนสตรีวิทยาและสนามโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และได้วางระเบียบการให้รางวัลผู้มีฝีมือในการแข่งขันโดยมีรางวัลให้ตามลำดับดังนี้ คือ เสื้อสามารถ หมวกสามารถ  เข็มสามารถ ส่วนกรรมการที่มีความรู้ความสามารถในการตัดสินกรมพลศึกษาได้จัดแหนบให้เป็นรางวัลสมนาคุณด้วย ในการเริ่มแรกการให้รางวัลกรมพลศึกษาเริ่มกีฬาฟุตบอลก่อนเพราะเป็นกีฬาที่เล่นกันทั่วไปทุกระดับ (กรมพลศึกษา. 2513: 3)
                         .. 2479 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดล ได้ทำพิธีมอบธงกีฬาโรงเรียนและกีฬาประชาชนแก่กรมพลศึกษา ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาประชาชนและตะกร้อข้ามตาข่ายเป็นครั้งแรก ในรอบห้าปีที่ผ่านมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว (กระทรวงธรรมการ. 2479: 5)
                        .. 2480 กรมพลศึกษาได้ออกข้อบังคับการแข่งขันกีฬาโรงเรียนของกระทรวงธรรมการขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อควบคุมความประพฤตินักเรียนที่มาดูกีฬา การประท้วง การส่งนักกีฬาเข้ามาแข่งขัน การแบ่งรุ่นกีฬา เป็นต้น และได้แต่งตั้งกรรมการการแปลกติกาต่างประเทศและเรียบเรียงกติกากีฬาไทยขึ้นไว้ใช้ในราชการ
                        .. 2481 กรมพลศึกษาได้มีการจัดการแข่งขันกรีฑาประจำปีในกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นครั้งแรก ได้จัดลู่วิ่งและมีการจับเวลาให้เป็นไปตามการแข่งขันกรีฑาสากลนิยม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดการแข่งขันในกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นครั้งแรก (กรมพลศึกษา. 2513: 10)
             1.3.4 หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลศึกษา
                       กรมพลศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดพลศึกษาและการกีฬาในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา นอกจากนี้ยังได้กระจายอำนาจให้ศึกษาธิการอำเภอและจังหวัดได้ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการพลศึกษาและการกีฬา เพื่อให้เป็นการเผยแพร่การเล่นกีฬา การออกกำลังกายให้ทั่วราชอาณาจักร นอกจากนี้ก็ยังมีสมาคม สโมสร ห้างร้านและบริษัทให้การสนับสนุนส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬา
        1.4 รัฐบาลทหาร พันเอกหลวงพิบูลสงคราม ยุคแรก (รัฐบาลคณะที่ 9–10 บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2481-2487) มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี 2 ชุด คือ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 9 มีนาวาเอกหลวงสินธุ์สงครามชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการและคณะรัฐมนตรีคณะที่ 10 มีพันเอกประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
               พันเอกหลวงพิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายการศึกษาต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ข้อ 5 ความว่า “จะจัดให้การพลศึกษาแพร่หลายในโรงเรียนทั่วไปตลอดถึงประชาชนให้เป็นประโยชน์ทั้งร่างกายและจิตใจ” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2524: 55)
                พ.ศ. 2482 ได้ย้ายโรงเรียนพลศึกษากลางจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมาอยู่ที่อาคารทำการของกรมพลศึกษา กรีฑาสถานแห่งชาติ โดยใช้ชั้นล่างเป็นห้องเรียน
                 พ.ศ. 2484 ได้มีการอบรมครูพลศึกษา 104 คนเป็น เวลา 2 เดือน ณ โรงเรียนพลศึกษากลาง เพื่อให้ครูมีความเข้าใจและสามารถนำประมวลการสอนวิชาพลศึกษาไปใช้ได้ สามารถตัดสินกีฬาได้ นอกจากนี้ ก.พ. ได้ลงมติเทียบประกาศนียบัตรประโยคผู้สอนพลศึกษาเอก (พ.อ.) เทียบเท่าปริญญาตรี (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507: 58)
                 เนื่องจากประเทศกำลังอยู่ในช่วงภาวะสงคราม นโยบายส่วนใหญ่ของรัฐบาลจึงเน้นหนักทางด้านทหารและการป้องกันประเทศ แต่ในส่วนนโยบายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางพลศึกษา รัฐบาลชุดนี้ยังให้ความสำคัญมากเพราะเป็นการศึกษาส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนพลเมืองในชาติมีร่างกายแข็งแรง จิตใจดีมีระเบียบวินัยมีความสามัคคี ซึ่งภาวะสงครามเช่นนี้จะทำให้รัฐบาลปกครองประชาชนง่ายขึ้นและมีความพร้อมเพรียงที่จะช่วยเหลือประเทศชาติได้ ดังที่คณะรัฐมนตรีคณะที่ 10 ได้แถลงนโยบายการศึกษาต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 16 มีนาคม  พ.ศ. 2485 ข้อ 4 ความว่า “จะเร่งส่งเสริมการพลศึกษาโดยให้นักเรียนได้รับการฝึกอบรมการกีฬาให้มากยิ่งขึ้นเพื่อความสมบูรณ์ในร่างกายและพลานามัย มีจิตใจเป็นนักกีฬาและเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของชาติ ทั้งจะให้การพลศึกษาแพร่หลายเป็นประโยชน์ถึงประชาชนอีกด้วย” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2524: 56)   
        1.5. รัฐบาลพลเรือน พ.ศ. 2487–2490
                1.5.1 คณะรัฐบาลที่ปกครองและบริหารประเทศ ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพชร (2538: 147-149) ได้สรุปไว้ดังนี้
                          1) รัฐบาลคณะที่ 11 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2487-2488) นายทวี บุญเกตุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การบริหารประเทศในช่วงภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองไม่สงบประสบความยุ่งยากหลายประการ
                          2) รัฐบาลคณะที่ 12 นายทวี บุญยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี (บริหารประเทศ ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ถึงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488) รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้กล่าวถึงนโยบายการศึกษาเช่นกันเน้นแต่นโยบายต่างประเทศและภายในประเทศเพราะอยู่ในภาวะสงคราม
                          3) รัฐบาลคณะที่ 13 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี (บริหารประเทศ ระหว่างวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489)และพระตีรณสารวิศวกรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลชุดนี้กล่าวถึงการศึกษาแต่เพียงว่า จะพยายามปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาโดยทั่วไปให้ดีขึ้นและจะเพ่งเล็งถึงศีลธรรมและอนามัยนักเรียนเป็นสำคัญ 
                          4) รัฐบาลคณะที่ 14 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี (บริหารประเทศ ระหว่างวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 ถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489) และพระตีรณสารวิศวกรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลชุดนี้กล่าวถึงนโยบายการศึกษาอย่างกว้าง ๆ
                          5) รัฐบาลคณะที่ 15 และ 16 นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี (บริหารประเทศ ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 ถึงวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489) การบริหารประเทศในช่วงภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองไม่สงบประสบความยุ่งยากหลายประการ
                          6) รัฐบาลคณะที่ 17 และ 18 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี (บริหารประเทศ พ.ศ.  2489-2490) และนายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยังคงนโยบายตามรัฐบาลชุดที่ผ่านมา      
                          7) รัฐบาลคณะที่ 19 และ 20 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี (บริหารประเทศ พ.ศ.  2490-2491) ยังคงนโยบายตามรัฐบาลชุดที่ผ่านมา     
                1.5.2 หลักสูตรวิชาพลศึกษาและการเรียนการสอน
                       1) หลักสูตรวิชาพลศึกษา ในปี พ.. 2487 มีหลักสูตรวิชาพลศึกษาสำหรับโรงเรียนฝึกหัดครูประถมศึกษา กิจกรรมที่ต้องเรียน ได้แก่ วิชาพลศึกษา สำหรับนักเรียนชาย คือ
กายบริหาร การเดิน การฝึกท่ากายบริหารแบบราชนาวี การเดินแถวแบบแปรรูปขบวน การเดินแถวและการแปรขบวน การบริหารประกอบเครื่องมือ
                       2) การเรียนการสอน การเรียนการสอนในประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลายยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เรียนตามตารางสอนของโรงเรียน โดยจัดกิจกรรมพลศึกษาตามเพศวัย และอายุของนักเรียนด้วยส่วนใหญ่กิจกรรมพลศึกษา ได้แก่ กายบริหารแบบไม่มีเครื่องมือและแบบใช้เครื่องมือ ซึ่งใช้ทำแบบราชนาวีและกีฬาเพิ่มขึ้นหลายประเภท เทนนิส ห่วงข้ามตาข่ายและกีฬาพื้นเมือง เป็นต้น
                1.5.3 การจัดการพลศึกษานอกระบบการศึกษา
                       กิจกรรมการกีฬาต่าง ๆ งดทุกอย่างด้วยเหตุแห่งภัยของสงครามโลกระหว่างปี พ.ศ. 2487 ต่อมาปี พ.ศ. 2488 เริ่มมีการแข่งขันกีฬาประเพณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อชักจูงให้ประชาชนสนใจกีฬามากขึ้น นอกจากนี้ยังมอบหมายให้สมาคมกีฬาสมัครเล่นต่าง ๆ จัดการแข่งขันแทนกรมพลศึกษา สำหรับการแข่งขันกีฬานักเรียนประจำปีของกรมพลศึกษาต้องดไประหว่างสงครามโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2488 และเริ่มแข่งขันใหม่ปี พ.ศ. 2490 มีงบประมาณอุดหนุนจังหวัดเป็นปีแรกเพื่อส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬาในส่วนภูมิภาค (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507: 24)
                       พ.ศ. 2490 มีการก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยเพื่อใช้การกีฬาสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาชาติประเทศและได้รับการรับรองจากคณะการรมโอลิมปิกสากล เมื่อ พ.ศ.2493 แต่นักฟุตบอลไทยได้เดินทางออกไปแข่งขันต่างประเทศเป็นครั้งแรกที่ไซ่ง่อนตามคำเชิญของรัฐบาลประเทศเวียดนามใต้เมื่อปี พ.ศ.2489 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507: 35)
               1.5.4 การจัดการแข่งขันกีฬา
                        การส่งเสริมกีฬาของรัฐบาลชุดต่าง ๆ ในระหว่าง พ.ศ. 2487-2490 เป็นช่วงภาวะสงครามและเพิ่งเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ ๆ ปัญหาต่างๆ ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย รัฐบาลจำเป็นต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน แต่การส่งเสริมกีฬาก็ยังคงให้ความสำคัญอยู่มาก
                        พ.ศ. 2489 ได้จัดให้การแข่งขันกีฬา กรีฑานักเรียนทุกประเภทต่อไปตามเดิม และนักฟุตบอลไทยได้เดินทางออกไปแข่งขันต่างประเทศเป็นครั้งแรกที่ไซ่ง่อนตามคำเชิญของรัฐบาลประเทศเวียดนามใต้
                        พ.ศ. 2490 มีการจัดการแข่งขันกีฬาและกรีฑานักเรียนเช่นเคย ในปีนี้มีงบประมาณอุดหนุนจังหวัดเป็นปีแรกเพื่อส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬาในส่วนภูมิภาค มีการจัดตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยเพื่อใช้การกีฬาสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และได้รับการับรองเป็นทางการจากคณะกรรมการโอลิมปิคสากลเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 นับเป็นจุดเริ่มแรกของวงการกีฬาประเทศไทยที่ใช้กีฬาเป็นเครื่องมือในการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ (กระทรวงการศึกษาธิการ. 2507: 15)
                1.5.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลศึกษา
                          กรมพลศึกษาเป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงในการจัดการดำเนินการแข่งขันกีฬานักเรียนและประชาชน โดยร่วมกับโรงเรียนต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนเขตพระนครธนบุรีและนนทบุรีรวมทั้งสมาคมกีฬาสมัครเล่นที่ได้ตั้งขึ้นแล้ว ในการจัดการแข่งขันกีฬากระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ควบคุมดูแลรวมตลอดทั้งหลักสูตรวิชาพลศึกษาในระดับโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง กลาโหม กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น นอกจากนี้มีสมาคม สโมสรกีฬาสมัครเล่น ซึ่งเป็นของเอกชน ห้างร้านบริษัทและในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยราชการ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจและสามัคยาจารย์สมาคมที่รับผิดชอบงานพลศึกษาและการกีฬา
         1.6 รัฐบาลทหาร จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ยุคหลัง พ.ศ. 2491-2500
               จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลถึง 6 ชุดคือ รัฐบาลคณะที่ 21, 22, 23, 24, 25 และ 26 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2491-2500) การบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้มีเวลายาวนานมากประมาณ 9 ปี เป็นช่วงการพัฒนาและบูรณะประเทศ
               1.6.1 การจัดพลศึกษาในระบบศึกษา
                         ด้านนโยบายการศึกษา มีนโยบายที่จะจัดตั้งโรงเรียนต่างๆ ของรัฐบาลและประชาชนเพิ่มขึ้นดังนโยบายการศึกษาที่แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 ความว่า รัฐบาลนี้จะสนใจเป็นพิเศษในเรื่องการศึกษาของประชาชน ในปีนี้ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ครั้งที่ 3 ถึงแม้ว่ารัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม จะแถลงนโยบายการศึกษาอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับการพลศึกษาก็ตาม แต่การพลศึกษาก็ได้พัฒนาการไปมากในสมัยนี้ เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2517: 63)
                        .. 2493 กรมพลศึกษาได้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนฝึกหัดครู (พลศึกษากลาง) ให้เหมาะสมแก่กาลสมัย กิจกรรมบริหารกายและวิชาครูแต่หลักสูตรใหม่ได้แบ่งการเรียนอออกเป็น 5 หมวด ที่เป็นรากฐานของหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาชีพพลศึกษา ในปัจจุบัน ประกอบด้วย
                1. หมวดวิชาการศึกษาและสังคม
                2. หมวดวิชาภาษาอังกฤษ
                3. หมวดวิชาภาษาไทย
                           4. หมวดวิชาประกอบ ได้แก่ วิชาสุขศึกษา อนามัยส่วนบุคคล กายวิภาค สรีรวิทยา คิเนสิโอโลยี ชีววิทยาและจิตวิทยา
                           5. หมวดวิชาพลศึกษา ประกอบด้วย กีฬาไทยและกีฬาสากล รวม 13 วิชา
                       .. 2498 ได้เปลี่ยนชื่อกองส่งเสริมและตรวจการพลศึกษาเป็นกองส่งเสริมพลศึกษา กองนี้มีหน้าที่วางแนวโครงการเกี่ยวกับวิทยาลัยพลศึกษาและควบคุมการผลิตครูพลศึกษาจากวิทยาลัยพลศึกษา ทำตำราคู่มือสุขศึกษาและพลศึกษาแก้ไขทำกติกาให้ทันสมัยอยู่เสมอ จัดอบรมผู้สอนพลศึกษาและสุขศึกษาทั่วราชอาณาจักร  ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ให้มีสมรรถภาพอยู่เสมอ วางแผนและดำเนินการทดสอบสมรรถภาพทางกีฬาของนักเรียนและประชาชน ควบคุมและตรวจการพลศึกษาและสำนักศึกษาต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร  โดยมีศึกษานิเทศก์ออกไปแนะนำและส่งเสริมการสร้างสนามกีฬา สนามเด็กเล่น และสถานที่เล่นกีฬา ต่อมาได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 แทนโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาซึ่งโอนไปสังกัดอยู่ในแผนกฝึกหัดครูพลานามัย กองโรงเรียนฝึกหัดครู  กรมการฝึกหัดครู ทั้งนี้เพื่อรวบรวมการฝึกหัดครูซึ่งอยู่ในสังกัดต่างๆ มาอยู่ในสังกัดเดียว สำหรับวิทยาลัยพลศึกษามีหลักสูตรการเรียนการสอน 2 ปี และ 4 ปี หลักสูตร 2 ปี รับนักเรียนสำเร็จชั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าส่วนหลักสูตร 4 ปี รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสองหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษา ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (พลศึกษา) หรือ ป.กศ. สูง (พลศึกษา) (กรมพลศึกษา. 2523: 36)
                       .. 2499 และ พ.. 2500 กรมพลศึกษาได้ช่วยอบรมครูประชาบาลตามจังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัดพิษณุโลก เพรชบูรณ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร และบุรีรัมย์ เป็นต้น                        เนื่องจากจำนวนครูพลศึกษายังไม่เพียงพอกับความต้องการโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา ดังนั้นกรมการฝึกหัดครูจึงมีนโยบายผลิตครูในระดับนี้ แต่เนื่องจากขาดผู้ดำเนินการในด้านนี้จึงฝากให้กรมพลศึกษาดำเนินการแทน ดังนั้นโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัยจึงเกิดขึ้นในปี พ.. 2501 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตร 2 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (พลานามัย) ส่วนวิทยาลัยพลศึกษาคงผลิตเฉพาะหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (พลศึกษา) (กรมพลศึกษา. 2523: 37)
                       การกีฬาในช่วงนี้รัฐบาลให้การสนับสนุนมากทั้งในการแข่งขันภายในประเทศและภายนอกประเทศ มีสมาคมกีฬาสมัครเล่นเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 3 สมาคม คือ สมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2491 สมาคมมวยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และ สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 ซึ่งแต่เดิมนั้นมีสมาคมกีฬาสมัครเล่นอยู่เพียง 3 สมาคม คือ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2459 ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2496 และ สมาคมรักบี้แห่งประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2480 
             1.6.2 หลักสูตรวิชาพลศึกษาและการเรียนการสอน
                        1) หลักสูตรวิชาพลศึกษา
                              พ.ศ. 2491 มีหลักสูตรวิชาพลศึกษา ในโรงเรียนระดับต่างๆ ได้แก่ หลักสูตรวิชาพลศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา
                             พ.ศ. 2493 มีหลักสูตรวิชาพลศึกษาสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น                               ในปีเดียวกัน มีหลักสูตรวิชาพลศึกษาสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและมีหลักสูตรวิชาพลศึกษาสำหรับโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาของกรมพลศึกษา โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนพลศึกษากลางเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา ใช้หลักสูตรใหม่ กำหนดเวลาเรียน 5 ปีวิชาที่เรียนมี 5 หมวดคือ
                                 1. หมวดวิชาครู และสังคมศึกษา
                                 2. หมวดวิชาภาษาอังกฤษ
                                 3. หมวดวิชาภาษาไทย
                                 4. หมวดวิชาพลศึกษา (กรีฑา กีฬาประเภทชุดและประเภทบุคคล)
                                 5.หมวดวิชาประกอบ มีสุขศึกษา อนามัย สรีรกายวิภาคศาสตร์ ชีววิทยา การเต้นเข้าจังหวะ (กรมพลศึกษา. 2523: 50)
                             .. 2495 มีหลักสูตรวิชาพลศึกษาสำหรับโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาเป็นการปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้มาตรฐานการสอนวิชาพลศึกษาสูงยิ่งขึ้น ประมวลวิชาแบ่งออกเป็นดังนี้ (กรมพลศึกษา. 2495: 49)
                               ชั้นปีที่ 1
                                     วิชาพื้นฐาน (1) สังคมศึกษา (2) วิชาครู (3) วิชาลูกเสือ (4) กายวิภาคและสรีรวิทยา (5) สุขศึกษาและพลศึกษา (ประวัติและทฤษฎีเบื้องต้น) (6) ภาษาไทย (7) ภาษาอังกฤษ (8) ชีววิทยาเบื้องต้น
                                     วิชากีฬา (1) การเล่นเบ็ดเตล็ด (2) กรีฑา (3) เนตบอล (4) บาสเกตบอล (5) ฟุตบอล (6) ยิมนาสติก (7) ว่ายน้ำ (8) ห่วงข้ามตาข่าย และ (9) การเล่นที่ใช้จังหวะ
                                 ชั้นปีที่ 2
                                     วิชาพื้นฐาน (1) สังคมศึกษา (2) วิชาครู (หลักการศึกษา) (3) สุขศึกษา (อาหารวิทยาและอนามัยส่วนบุคคล) (4) ประวัติพลศึกษาและทฤษฎีพลศึกษา (5) ภาษาไทย (6) ภาษาอังกฤษ
                                      วิชากีฬา (1) การเล่นเบ็ดเตล็ดและกายบริหาร (2) กีฬาเบ็ดเตล็ด (3) กรีฑา (4) กระบี่กระบอง (5) ตะกร้อ (6) แบดมินตัน (7) ฟุตบอล (8) ยิมนาสติก (9) วอลเลย์วอล (10) การเล่นที่ใช้จังหวะ
                                  ชั้นปีที่ 3
                                    วิชาพื้นฐาน (1) สังคมศึกษา (2) วิชาครู (3) สุขศึกษา (อนามัยส่วนรวม) (4) คิเนสิโอโลยี (5) ภาษาไทย (6)  ภาษาอังกฤษ (7) วิชาลูกเสือชั้นสูงและวิชาผู้กำกับ
                                    วิชากีฬา (1) การต่อสู้ป้องกันตัว ได้แก่ กระบี่กระบอง ฟันดาบ มวย (ไทย-ฝรั่ง) ยูโด (2) ซอฟท์บอล (3) ทัชฟุตบอล (4) รักบี้ (5) ว่ายน้ำ ช่วยคนตกน้ำ (6) การเล่นที่ใช้จังหวะ
                                  ชั้นปีที่ 4
                                       1. วิชาครู (ภาคฝึกสอน)
                                       2. สุขศึกษา ได้แก่ บริการสุขาภิบาลโรงเรียนและปฐมพยาบาล
                                       3. การศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยและการป้องกันอันตรายกีฬา                                  
                                       4. ภาษาอังกฤษ
                                       5. การจัดหลักสูตรวิชาพลศึกษา
                                       6. การจัดการบันเทิง
                       7. เทคนิคของกีฬา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
                                            7.1 ประเภททีม (1) บาสเกตบอล (2) ซอฟท์บอล (3) ฟุตบอล (4) รักบี้ (5) วอลเลย์บอล
                                            7.2 ประเภทบุคคล (1) กรีฑา (2) ตะกร้อ (3) เทนนิส (4) แบดมินตัน (5) เทเบิลเทนนิส (6) ยิมนาสติก (7) ยกน้ำหนัก (8) ว่ายน้ำ
                                           7.3 ประเภทต่อสู้และป้องกันตัว (1) กระบี่กระบอง (2) ฟันดาบ
(3) มวย (ไทย-ฝรั่ง) (4) มวยปล้ำ (5) ยูโด
                                  ชั้นปีที่ 5
                                       1. วิชาชีพครู (ฝึกหัดสอนนอกสถานที่)
                                       2. การสุขศึกษาในโรงเรียน
                                       3. ภาษาอังกฤษ
                                       4. สัมมนาว่าด้วยการอนามัยและการพลศึกษา
                                       5. การทดสอบสมรรถภาพ
                                       6. การจัดการพลศึกษาและการกีฬา
                                       7. การตรวจการพลศึกษา
                                       8. หน้าที่กรรมการกีฬา
                                       9. เทคนิคของการกีฬา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
                                            9.1 ประเภทชุด (1) บาสเกตบอล (2) ซอฟท์บอล (3) ฟุตบอล (4) รักบี้ (5) วอลเลย์บอล
                                            9.2 ประเภทรายบุคคล (1) กรีฑา (2) ตะกร้อ (3) เทนนิส (4) แบดมินตันและปิงปอง (5) ยิมนาสติก (6) ยกน้ำหนัก (7) ว่ายน้ำ
                                            9.3 ประเภทต่อสู้และป้องกันตัว (1) กระบี่กระบอง (2) ฟันดาบ
(3) มวย (ไทย - ฝรั่ง) (4) มวยปล้ำ (5) ยูโด                                 
                        2) การเรียนการสอน
                            การเรียนการสอนวิชาพลศึกษามีในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลายและให้เรียนวิชาลูกเสือหรืออนุกาชาดด้วยและมีวิชาพลศึกษาบังคับเรียนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา (วิทยาลัยพลศึกษา) กำหนดวิชาการเรียนเพิ่มขึ้นรวมเป็น 5 หมวด คือ หมวดวิชาครูและสังคมศึกษา หมวดวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาพลศึกษาและหมวดวิชาประกอบ มีการปรับปรุงประมวลการสอนและหลักเกณฑ์การให้คะแนนวิชาพลศึกษาให้เหมาะสม
               1.6.3 การจัดพลศึกษาในระบบการศึกษา
                        การพลศึกษาในระบบโรงเรียนโดยมีหลักสูตรวิชาพลศึกษากำหนดให้เรียนกิจกรรมต่างๆ ตามระดับความสามารถและความพร้อมของนักเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายคล้ายกับประถมศึกษาแต่เพิ่มความหนักและความชำนาญมากขึ้น
                1.6.4 การจัดพลศึกษานอกระบบการการศึกษา
                    กรมสามัญศึกษา กรมการฝึกหัดครู ราชกรีฑาสโมสร สามัคยาจารย์สมาคม ได้จัดแข่งขันกีฬาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการส่งเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติชาติ เช่น กีฬาโอลิมปิกเกมส์และกีฬาเอเชียนเกมส์ เป็นต้น   
                 1.6.5 การจัดการแข่งขันกีฬา
                     .. 2492 กรมพลศึกษาได้ปรับปรุงกติกาการแข่งขันกีฬาต่างๆ ให้ทันสมัยและมอบให้คุรุสภาจัดพิมพ์จำหน่าย
                     .. 2494 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 1 ณ กรุงนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย
                        .. 2495 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกในคราวการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 15 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬากรีฑารวมแข่งขัน 8 คนและเจ้าหน้าที่ 5 คน รวม 13 คน
                        .. 2496 มีการก่อตั้งสมาคมบาสเกตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยมีการเผยแพร่ด้านระเบียบกติกา การตัดสิน การฝึกและการจัดการแข่งขัน เมื่อความนิยมของประชาชนมีมากขึ้นและแพร่หลายไปในจังหวัดต่างๆ
                    .. 2496 สมาคมกีฬาไทยจัดการแข่งขันกีฬาว่าว ประจำปีพุทธศักราช 2496 ณ บริเวณท้องสนามหลวง
                    .. 2497 สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้เริ่มจัดการแข่งขันรักบี้ประเพณีระหว่างทีมชาติไทยกับทีมชาติมาเลเซีย ชิงถ้วยวชิราลงกรณ์ โดยแข่งขัน 2 ปีต่อครั้ง โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ในปีเดียวกันนี้คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ 8 คน นักกรีฑา 7 คน บาสเกตบอล ชาย 10 คน มวย 4 คน รวม 29 คน ไปแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 2 ณ กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
                    .. 2499 ได้เริ่มการแข่งขันกีฬาประจำปีของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเดิมเป็นวันที่ 1-2 ธันวาคมของทุกปี มาเป็นวันที่ 28-29 พฤศจิกาขน ของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาก่อนปิดภาคเรียนของโรงเรียนและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ 10 คน นักกีฬา 40 คน รวม 50 คน ไปแข่งขันกรีฑา บาสเกตบอล ฟุตบอล มวย แข่งเรือ รวม 5 ประเภท ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 16 ณ กรุงเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย  
                    .. 2500 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาไปแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507: 58-66)                          
                1.6.6 หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพลศึกษา
                        หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพลศึกษาเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้มีโอกาสต้อนรับผู้เชี่ยวชาญทางพลศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกามาช่วยปรับปรุงหลักสูตรพลศึกษาในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาให้ดียิ่งขึ้นและมีสมาคมกีฬาสมัครเล่นเพิ่มขึ้นอีก 3 สมาคม คือ สมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย สมาคมมวยแห่งประเทศไทยและสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย
        1.7 รัฐบาลนายพจน์ สารสิน
                นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 27 (บริหารประเทศระหว่างวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2501) และหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นับเป็นรัฐบาลคณะที่ 27 ซึ่งได้แถลงนโยบายการศึกษาไว้ว่าจะเน้นถึงปริมาณและคุณภาพของการศึกษารวมทั้งการศึกษาเพื่ออาชีพด้วย
          1.8 รัฐบาลทหาร พลโทถนอม กิตติขจร ยุคที่ 1 พ.ศ. 2501
                  พลโทถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 28 (บริหารประเทศระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2501) และหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนับ ซึ่งได้แถลงนโยบายการศึกษาต่อสภาผู้แทนราษฎรว่า “…จะได้เร่งผลิตครูและปรับปรุงหลักสูตร วิธีการวัดผลการศึกษา แบบเรียนและอุปกรณ์ ให้เหมาะสมกับทั้งจะได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับเยาวชนโดยส่งเสริมพลศึกษาและกิจกรรมพิเศษอื่นๆ…” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2524: 67)
                         ในปี พ.. 2500 มูลนิธิฟูลไบร์ท (Fullbright Foundation) ของประเทศสหรัฐอมริกา ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญทางพลศึกษาและกีฬามาช่วยเหลือประเทศไทยเป็นปีแรก โดยส่งศาสตราจารย์ ชาลส์ เอช เดลลี่ (Professor Charles H. Dailey) จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน เป็นผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธิฟูลไบร์ทคนแรก ทำงานอยู่ประเทศไทย 2 ปี
                1.8.1 หลักสูตรวิชาพลศึกษาและการเรียนการสอน
                         1) หลักสูตรวิชาพลศึกษา
                               ในปี พ.. 2501 มีหลักสูตรวิชาพลศึกษาสำหรับใช้ในโรงเรียนประถมศึกษา ปรับปรุงใหม่ชั้นประถมปีที่ 1-2 กำหนดให้เรียนวิชาพลานามัยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง (สุขศึกษาและพลศึกษา)
                         2) การเรียนการสอน
                        วิชาพลศึกษาได้ผลดีขึ้นเพราะกรมพลศึกษาได้จัดทำคู่มือครูประมวลการสอนวิชาพลศึกษาและกติกากีฬาประเภทต่างๆ ที่ปรับปรุงให้ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอเพิ่มมากขึ้น ครูพลศึกษาได้รับการอบรมสั่งสอนจากสถาบันผลิตครูพลศึกษาโดยตรง ซึ่งมีการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นสากลและได้มาตรฐาน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2501)
                 1.8.2 การจัดการแข่งขันกีฬา
                         การส่งเสริมการกีฬาในช่วงเวลา 1 ปี ของคณะรัฐบาล 2 คณะ ได้พยายามจัดการแข่งขันกีฬาให้มากประเภทยิ่งขึ้นและร่วมมือกับกรมกองต่างๆ ในการจัดแข่งขันกีฬาเพื่อให้การกีฬาแพร่กระจายไปสู่ประชาชนมากขึ้น
                           .. 2501 ประเทศไทยได้ส่งคณะนักกีฬาไปร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์
ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียว
                 1.8.3 หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลศึกษา        
                         กรมพลศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการพลศึกษาและการกีฬาทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา การพลศึกษาและการกีฬาได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนมากขึ้นเมื่อกรมพลศึกษาส่งเสริมให้มีสมาคมกีฬาสมัครเล่นจัดการแข่งขันกีฬานั้นๆ มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้มีสมาคมกีฬาเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้นด้วย จึงกล่าวได้ว่าการพลศึกษาและการกีฬาได้แพร่หลายทั้งในระดับนักเรียน นิสิตนักศึกษา ข้าราชการและประชาชน นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมและสโมสรต่างๆ จัดการสอนฝึกอมรม ฝึกซ้อมกีฬาแก่สมาชิกและมีการจัดการแข่งขันกีฬาหลายประเภทด้วย

                 1.8.4 ตำราทางพลศึกษา มีดังนี้
                           1) หนังสือกรีฑา เล่ม 1 และเล่ม 2” พร้อมภาพประกอบ 200 กว่าภาพของนายกอง กันภัย ป.. (Diploma in Physical Training Leeds) ราคาเล่มละ 65 สตางค์
                           2)หนังสือกายบริหารและการเล่น ของนายกอง กันภัย ใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ราคาเล่มละ 1.25 บาท
                           3)คู่มืออบรมพลศึกษาเบื้องต้น(สำหรับชั้นประถมศึกษา) แปลและเรียบเรียงจาก “Methods of Materials in Elementary Physical Education” สำนักข่าวสารอเมริกา (ยูซีส) ราคาเล่มละ 15 บาท
                  1.8.5 บทความในหนังสือพิมพ์รายเดือน วิทยาจารย์ของสามัคยาจารย์สมาคมมีดังนี้ คือ
                          1) คำแนะนำการฝึกหัดเนตบอล... เรียบ เลาหจินดา
                          2)ปาฐกถาเรื่องกีฬากระบี่กระบองนายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา
                          3)การว่ายน้ำนายกอง กันภัย
                          4)ปาฐกถาเรื่องยูโดนายทิม อติเปรมานนท์
                          5) ปาฐกถาเรื่องมวยฝรั่ง นายนิยม ทองชิต
              1.9 รัฐบาลทหาร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
                     จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 29 (บริหารระหว่าง พ.ศ. 2502–2506) ในช่วงการบริหารประเทศได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อๆ มาจนปัจจุบัน
             1.10 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ยุคที่ 2                                            
                      ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพชร (2538: 188-190) ได้สรุปการพลศึกษาในระยะนี้ไว้ว่า
จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ยุคที่ 2 รัฐบาลคณะที่ 30, 31 และ 32 (บริหารระหว่าง พ.ศ. 2506 – 2516) ในช่วงบริหารประเทศ ได้มีผลงานที่สำคัญดังนี้
                         1.10.1 ด้านการศึกษา ได้พัฒนาคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาออกไปทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียน เสนาธิการทหาร โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นต้น
                        1.10.2 ด้านการเศรษฐกิจและสังคม จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ยึดหลักการพัฒนาตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ทำการพัฒนาประเทศ ดำเนินการตามโครงการสนับสนุนการพัฒนาส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นต่างๆ                     
          สรุปได้ว่า การพลศึกษาและการกีฬาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้รับการส่งเสริมอย่างกว้างขวาง โดยมีนโยบายของรัฐบาลแต่ละคณะแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป รัฐบาลเห็นความสำคัญของการพลศึกษาและการกีฬาจึงกำหนดวิชาพลศึกษาเป็นองค์หนึ่งของการศึกษาอย่างเป็นทางการ ในแผนการศึกษาชาติฉบับ พ.. 2475 ได้มุ่งส่งเสริมกิจกรรมการพลศึกษาและการกีฬาเพื่อพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย ต้องการให้มีระเบียบวินัยซึ่งรัฐบาลเชื่อแน่ว่าการพลศึกษาเป็นสื่อทำให้เกิดวินัยในหมู่คณะได้ รัฐบาลจึงประกาศตั้งกรมพลศึกษาเพื่อให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศที่มีการเล่นกีฬากันอย่างกว้างขวางเพื่อทำหน้าที่ผลิตครูพลศึกษา รับผิดชอบในเรื่องการพลศึกษาและการกีฬาทั้งหมด ต่อมารัฐบาลยึดการส่งเสริมพลศึกษาให้ทั่วถึงในโรงเรียนทั่วไปและประชาชน จึงเน้นการผลิตครูพลศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและได้ย้ายโรงเรียนพลศึกษากลาง จากโรงเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมาอยู่ที่อาคารทำการของกรมพลศึกษา กรีฑาสถานแห่งชาติ ระหว่าง พ.. 2487-2498 มีคณะรัฐมนตรีเปลี่ยนแปลงกันเข้ามาปกครองประเทศถึง 11 คณะ ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนทำหน้าที่เป็นผู้บริหารประเทศ รัฐบาลต้องปกครองในระหว่างที่ประเทศต้องประสบกับภาวะความผันผวนทางการเมืองนานาประการ ภาวะสงครามโลกก่อนจะเสร็จสิ้นรัฐบาลต้องประสบปัญหาในเรื่องเอกราชและความมั่นคงระหว่างประเทศที่จะให้ทุกชาติยอมรับว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นผู้แพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่นและยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคมอย่างมากอันเนื่องจากสงคราม ด้วยเหตุแห่งสงครามและความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้กิจกรรมการพลศึกษาและการกีฬาซบเซาลงในระยะแรกแต่เนื่องจากความต้องการของรัฐบาลในการที่จะสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศเพื่อฐานะของประเทศไทย รัฐบาลจึงได้ส่งเสริมการกีฬาเพื่อมิตรภาพระหว่างประเทศจึงมีการแข่งขันกีฬาระหว่างทหารสัมพันธมิตรกับทีมทหารไทยและมีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการกีฬาสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ยุคหลังสภาพบ้านเมืองเรียบร้อยขึ้น ฐานะของประเทศดีขึ้น ปัญหาต่างๆ ค่อยคลี่คลายไปในทางดีขึ้น รัฐบาลได้ปรับปรุงหลักสูตรวิชาพลศึกษาในสถาบันผลิตครูพลศึกษาให้ทันสมัยได้มีการตั้งวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นแทนโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา ซึ่งโอนไปสังกัดกรมการฝึกหัดครูเพื่อผลิตครูพลศึกษาออกไปในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างเพียงพอ รัฐบาลมีนโยบายที่จะเป็นมิตรกับนานาประเทศตามรัฐบาลชุดก่อนๆ ได้ดำเนินการไว้เพื่อความมั่นคงของประเทศ การเข้าร่วมแข่งขันกีฬาระหว่างชาติได้มีอยู่เสมอ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ เป็นต้น 

2. การพลศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.2516-2525)
         การบริหารประเทศในช่วงเวลาตั้งแต่หลังการเรียกร้องประชาธิปไตยหลังวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้มีการเปลี่ยนคณะรัฐบาลเข้าบริหารประเทศถึง 10 คณะ ถ้าแบ่งตามลักษณะผู้นำคณะรัฐบาลจะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ รัฐบาลชุดพลเรือนและรัฐบาลจากการปฏิวัติและรัฐประหาร
           2.1 รัฐบาลชุดพลเรือน
                  2.1.1 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 33 และ 34 (บริหารประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2518) นายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                  2.1.2 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลที่ 35 (บริหารประเทศ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ถึงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518) และนายก่อ สวัสดิพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทรวงศึกษาธิการ
                  2.1.3 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 36 (บริหารประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2518 - 2519) นายนิพนธ์ ศศิธรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                  2.1.4 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 37 และ 38 (บริหารประเทศ ระหว่างวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) พลตรีศิริ ศิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                  2.1.5 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 39 (บริหารประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2519 - 2520) นายภิญโญ สาธร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
             2.2 รัฐบาลจากการปฏิวัติและรัฐประหาร
                   2.2.1 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 40 และ 41 (บริหารประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2520 - 2523) นายแพทย์บุญสม มาร์ติน และนายก่อ สวัสดิพาณิชย์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                   2.2.2 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 42 และ 43  (บริหารประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2526) นายสิปปนนท์ เกตุทัต และนายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ         
          2.3 การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศไทย
                    เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้นคือเกิดเหตุการณ์วันที่ 14-16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นเหตุการณ์ที่ผนึกแน่นอยู่ในความทรงจำของคนไทยไปอีกนานจากเหตุการณ์วันนั้น สิ่งต่างๆ ในเมืองไทยก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายเมื่อรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีตอนกลางคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2516 และได้แต่งตั้งคณะรัฐบาลขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 คณะรัฐบาลชุดนี้ได้แถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2516 คำแถลงนโยบายมีอยู่ทั้งหมด 14 ข้อ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีดังนี้
                   “…ข้อ 10 จะส่งเสริมการศึกษาทั้งด้านวิชาความรู้และจิตใจเพื่อให้ยึดมั่นในหลักธรรมแห่งศาสนา บำเพ็ญตนให้มีประโยชน์ จงรักษ์ภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดจนให้ช่วยกันบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันเป็นสัญลักษณ์และสมบัติของชาติไทย
                  “…ข้อ 13 จะส่งเสริมให้มหาลัยมีความเป็นอิสระทั้งในการเงินและการบริหารงานบุคคลให้เกิดความร่วมมือระหว่างนิสิต นักศึกษากับรัฐบาลสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย…’’(วรวิทย์ วศินสรากร. 2519: 15)
            2.4 การปฏิรูปการศึกษา
                   รัฐบาลนี้ต้องการให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษาขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2517 โดยมีหน้าที่พิจารณาเสนอแนวทางการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนนอกโรงเรียนและลักษณะอื่นๆ ให้เหมาะสมตามกาลสมัยเพื่อสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระบอบประชาธิปไตย กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรโดยกำหนดให้มีการเรียนการสอนหมวดวิชาพลานามัยในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นวิชาบังคับ ให้เริ่มเรียนในปีการศึกษา 2518 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการศึกษาไทยในอนาคตตามคณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษาได้วางแนวทางไว้
            2.5 ประชาธิปไตยเฟื่องฟู
                    รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ระหว่าง พ.2518-2519 เป็นช่วงเวลาของประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มที่ มีการเรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรมของหน่วยงานของรัฐและเอกชนมากมาย รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปก่อนปัญหาอื่นๆ ส่วนรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เน้นการสร้างระบบการศึกษาให้เป็นธรรมและมีความเสมอภาคในด้านโอกาสที่จะศึกษา ดังนโยบายการศึกษาที่ได้แถลงไว้ใน ข้อ 4 ความว่า “....ให้อำนาจการบริหารการศึกษาแก่ท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ให้จัดรูปแบบการบริหารการศึกษาของท้องถิ่นเสียใหม่มิให้มีความซ้ำซ้อนกันและวิธีการเรียนรู้บางประการที่จำเป็นให้สอดคล้องกับความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละท้องถิ่น..” ทำให้การเรียนการสอนวิชาพลศึกษาทั้งในระดับผลิตครูพลศึกษาของสถาบันวิทยาลัยครูและการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นไปได้อย่างกว้างและเหมาะสมยิ่งขึ้น เพราะสามารถดัดแปลงวิชาที่สอน เนื้อหาวิชาและวิธีการสอนให้เหมาะสมแก่ท้องถิ่น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2524: 89)
                  รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เน้นความสำคัญระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ จึงให้นักเรียนร้องเพลงชาติและฝึกกายบริหารในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนทุกวันเพื่อฝึกความมีระเบียบวินัย ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะโดยพร้อมเพรียง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงจิตใจผ่องใสพร้อมที่จะเรียนวิชาต่อไป การฝึกกายบริหารและระเบียบแถวกำหนดให้นักเรียนทุกระดับกระทำอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งนักศึกษาวิทยาลัยครูและวิทยาลัยพลศึกษาด้วย นอกจากนี้ยังจัดรายการฝึกหัดกายบริหารในตอนเช้าเวลา 06.00 นาฬิกาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยอีกด้วย ดังภาพ 4.5




ภาพ 4.5  กิจกรรมทางพลศึกษาและกีฬาของศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร
ที่มา: ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร. 2559: ออนไลน์

                รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทร์ ได้แถลงนโยบายการบริหารประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษา ความว่า “….ในด้านคุณภาพของการเรียนการสอนจะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นและพยายามให้มีคุณภาพทัดเทียมกันทั้งในเมืองและชนบท จะจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งเยาวชนนอกโรงเรียนได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ มีคุณธรรม มีพลานามัยอันสมบูรณ์ มีระเบียบวินัย มีความรักความสามัคคีระหว่างชนในชาติ ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ตลอดจนการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจที่กล้าแข็งในอันที่จะเป็นกำลังป้องกันประเทศชาติที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต มีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข....
                รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐบาลได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาต่อสภาผู้แทนราษฎรกล่าวคือ “….รัฐมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษาให้เป็นรากฐานการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การประกอบอาชีพ การพัฒนาชนบท การให้เยาวชนไทยมีความเพียบพร้อมด้วยความรู้ ความคิด มีคุณธรรม จริยธรรมและพลานามัยสมบูรณ์....’’ (สำนักงานกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2524: 70)      
             2.6 หลักสูตรวิชาพลศึกษาและการเรียนการสอน
                    2.6.1 หลักสูตรวิชาพลศึกษา หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.. 2516 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาพลศึกษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และมีการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพตลอดจนระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูประบบการศึกษาความต้องการของสังคม และแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.. 2520 ด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                            .. 2517 หลักสูตรผลิตครูพลศึกษาระดับปริญญาโท ของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ได้เปิดสอนเมื่อเดือนมิถุนายน พ.. 2517 เรียกว่า หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกพลศึกษา (หลักสูตร 2 ปี ระบบทวิภาค) ต้องเรียนไม่ต่ำกว่า 48 หน่วยกิต (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา. 2518: 3)
                            .. 2518 หลักสูตรผลิตครูพลศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา (เดิมคือ วิทยาลัยวิชาการศึกษา พลศึกษา ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ พลศึกษาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.. 2517) เรียกว่า หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)  สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี ระบบทวิภาค นิสิตผู้เข้าศึกษาต้องศึกษาให้ได้อย่างน้อย 136 หน่วยกิต
                           .. 2518 หลักสูตรวิชาพลานามัยสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรใหม่นี้กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชาพลานามัยเป็นวิชาบังคับจำนวน 4 หน่วยกิต และเลือกวิชาในหมวดวิชาพลานามัยอีกไม่เกิน 12 หน่วยกิต (กระทรวงศึกษาธิการ, 2518: 34)
                           .. 2519 หลักสูตรผลิตครูพลศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูงและระดับปริญญาตรีของสภาการฝึกหัดครู กรมการฝึกหัดครูเรียกว่า หลักสูตรการฝึกหัดครู สภาการฝึกหัดครู พ.. 2519 กำหนดให้มีหลักสูตรวิชาเอกพลศึกษา หลักสูตรกำหนดให้แบ่งการเรียนเป็น 2 ระดับ คือ
                           1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ต้องเรียนไม่ต่ำกว่า 70 หน่วยกิต
                           2. ระดับปริญญาตรี ต้องเรียนไม่ต่ำกว่า 65 หน่วยกิต                        
                          .. 2520 การปรับปรุงหลักสูตรครูพลศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะ
ครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า หลักสูตรปริญญาครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี วิชาเอกพลศึกษา ต้องเรียนไม่ต่ำกว่า 135 หน่วยกิต
                         ในปีเดียวกันนี้ หลักสูตรผลิตครูพลศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษาหลักสูตร 2 ปี วิชาเอกพลศึกษา สุขศึกษา และวิชาโทอื่นๆ ทั้งภาคปกติและภาคสมทบ สำหรับวิชาเอกพลศึกษา นิสิตที่เรียนตามหลักสูตร 2 ปี ต้องเรียนวิชาต่างๆ ไม่น้อยกว่า 70 หน่วยกิต
                         .. 2521 ได้มีประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกำหนดการเปลี่ยนแปลงชั้นเรียน และการใช้หลักสูตรใหม่ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2521 เป็นต้นไป แบ่งระบบการสอนเป็น 6 : 3 : 3 ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-2 เรียนการเคลื่อนไหวการพื้นฐาน การเล่นสมมติ เกมเบ็ดเตล็ด กิจกรรมเข้าจังหวะ การเล่นแบบผลัด การเล่นโลดโผน ประถมศึกษาปีที่ 3-4 เรียนเกมเบ็ดเตล็ด กิจกรรมเข้าจังหวะยิมนาสติกขั้นพื้นฐาน กีฬา  และกิจกรรมนันทนาการประเภทต่างๆ  ประถมศึกษา 5-6  เรียนกิจกรรมเข้าจังหวะ  ยิมนาสติก  กีฬา  กรีฑา  กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกายและการฝึกทักษะเฉพาะกิจกรรมวิ่งผลัดที่ยากขึ้นและกิจกรรมนันทนาการประเภทต่างๆ  (กระทรวงศึกษาธิการ. 2520: 56)
                           ในปีเดียวกันมีหลักสูตรวิชาพลศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มสร้างเสริมบุคลิกภาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  หลักสูตรได้กำหนดวิชาพลศึกษาบังคับไว้ดังนี้  มัธยมศึกษาปีที่ 1 เรียนวิชายืดหยุ่น  เทเบิลเทนนิสเป็นวิชาบังคับ  มัธยมศึกษาปีที่ 2  เรียนกรีฑา  กระบี่  เป็นวิชาบังคับ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรียน  บาสเกตบอล  ตะกร้อเป็นวิชาบังคับ  และกำหนดให้เลือกรายวิชาไว้อย่างแน่นอนและกว้างขวาง  ได้แก่  แบดบินตัน 1-2  ดาบสองมือ 1-2  ฟุตบอล 1–2-3  พลอง 1-2  วอลเลย์บอล 1–2-3  กิจกรรมเข้าจังหวะ 1–2-3  ยูโด ว่ายน้ำ 1-2 ศิลปะป้องกันตัว  ฮอกกี้สนาม  ซอฟท์บอล  รักบี้ฟุตบอล  มวยปล้ำ  ยกน้ำหนัก  มวยไทย  มวยสากล  ง้าว โปโลน้ำ  ฟลอร์เอกเซอร์ไซด์  ราวทรงตัว  กระโดดน้ำ  ราวต่างระดับ  ห่วง  จักรยาน  เซปักตะกร้อ  เนตบอล ราวคู่ราวเดี่ยว การบริหารกายและกายบริหารประกอบดนตรี  กำหนดอัตราเวลาเรียนวิชาพลศึกษาบังคับ 2  คาบต่อสัปดาห์ต่อปี  ส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เลือกเรียนวิชาพลศึกษาได้อีก 4  คาบต่อสัปดาห์ต่อปี (กระทรวงศึกษาธิการ. 2521: 60)
                          ใน พ.ศ. 2523  มีการปรับปรุงหลักสูตรการผลิตครูพลศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาพลศึกษา คณะบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดชื่อหลักสูตรว่า หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพลศึกษา พ.ศ. 2523  ต้องเรียนไม่ต่ำกว่า 48  หน่วยกิต
                          ในปีเดียวกันมีการปรับปรุงหลักสูตรพลศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา เรียกว่า หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงสร้างหลักสูตร 4  ปี วิชาเอกพลศึกษา วิชาโทอื่นๆ พ.ศ. 2523  โดยกำหนดให้นิสิตที่เรียนหลักสูตร 4 ปี ต้องเรียนวิชาต่างๆ เป็นจำหน่วยไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิตและไม่เกิน 150 หน่วยกิต
                           ในปีเดียวกัน มีหลักสูตรผลิตครูพลศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียกว่า หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ต้องเรียนไม่ต่ำกว่า 78 หน่วยกิต วิชาเอกพลศึกษา วิชาโทสุขศึกษา
                           ในปี พ.. 2524  มีหลักสูตรพลศึกษาสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรได้กำหนดวิชาพลศึกษา บังคับไว้ดังนี้ กลุ่มวิชาเลือกบังคับให้เลือกจัดภาคเรียนละ 1 วิชาจากรายวิชาต่อไปนี้ ห่วงข้ามตาข่าย แฮนด์บอล วอลเลย์บอล เนตบอล แบตมินตัน ดาบสองมือ พลอง ศิลปะป้องกันตัว ฟุตบอล การบริหารกายประกอบดนตรี ยูโด ซอฟท์บอล กิจกรรมเข้าจังหวะ ฮอกกี้สนาม ยิมนาสติก เซปักตระกร้อ เทนนิส ว่ายน้ำ และกิจกรรมสำรวจทางพลศึกษา สำหรับกลุ่มวิชาเลือกได้แก่ กรีฑา มวยปล้ำ ยกน้ำหนัก มวยไทย มวยสากล ง้าว โปโลน้ำ  ฟลอร์เอกเซอร์ไซส์ กระโดดน้ำ จักรยาน บาสเกตบอล ตะกร้อ รักบี้ฟุตบอลและยิงธนู                         
                    2.6.2 การเรียนการสอน
                              การเรียนการสอนวิชาพลศึกษาต้องการให้นักเรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรมพลศึกษาอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึงทุกคนตามความสามารถ  ความสนใจและความต้องการ  การสอน สำหรับการเรียนการสอนในสถาบันผลิตครูพลศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง พลศึกษา) และปริญญาตรี จะเน้นให้นิสิตนักศึกษาคิดค้นคำตอบด้วยตนเองหรือส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาพร้อมทั้งต้องการผลิตให้เป็นครูพลศึกษาในโรงเรียน  หรือสถาบันชั้นสูงได้มีคุณลักษณะของครูพลศึกษาที่ดีด้วย มีการวัดและประเมินผลดีขึ้นกล่าวคือ มีแบบทดสอบมาตรฐานทางทักษะกีฬา สมรรถภาพทางกายและทักษะกลไก เป็นต้น
                    2.6.3 การจัดพลศึกษาในระบบการศึกษา
                              กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา ดูแลปรับปรุงหลักสูตรวิชาต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจและสังคม วิชาพลศึกษาแยกจากวิชาสุขศึกษาและมีการจัดพลศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา พยายามส่งเสริมให้ทุกโรงเรียนให้ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักการต่อไปนี้ คือ การจัดโครงการสอนพลศึกษาในโรงเรียนเป็นการสอนวิชาพลศึกษาในชั่วโมงเรียนตามหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้ เพื่อความมุ่งหมายให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ให้มีทักษะพื้นฐานในการเล่นกีฬา มีน้ำใจนักกีฬาและรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การจัดโครงการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน เพื่อความมุ่งหมายให้นักเรียนได้มีโอกาสนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้เรียนมาใช้ในการออกกำลังกายและความสนุกสนานในสภาพการณ์จริงๆ เพื่อทดสอบความสามารถของตนเองกับเพื่อนๆ การจัดโครงการแข่งขันระหว่างโรงเรียนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถทางการกีฬาสูงขึ้นตามความสามารถของตนเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
                        ทบวงมหาวิทยาลัยดูแลหลักสูตรวิชาต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา การจัดพลศึกษาในมหาวิทยาลัยปัจจุบันมีการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเลือก มีบางมหาวิทยาลัยให้เป็นวิชาบังคับทุกคณะ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น

                       สถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูพลศึกษาในปัจจุบันมีดังนี้
                          1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาเอกพลศึกษา
                2. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิชาเอกพลศึกษา
                          3. มหาวิทยาลัยบูรพา วิชาเอกพลศึกษา
                          4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิชาเอกพลศึกษา                               
                          5. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิชาเอกพลศึกษา                           
                          6. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิชาเอกพลศึกษา                           
                          7. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิยาเขตปัตตานี วิชาเอกพลศึกษา
                          8 .คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิชาเอกพลศึกษา                         
                          9. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาพลศึกษา
                          10. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาพลศึกษา                      
                2.6.4 การจัดพลศึกษานอกระบบศึกษา
                           การจัดพลศึกษาและกีฬานอกระบบการศึกษา เพื่อใช้กิจกรรมพลศึกษาหรือการกีฬาเป็นสื่อในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและจิตใจ รวมทั้งประโยชน์ในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเป็นการพักผ่อนหย่อนใจไปด้วย ปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจ โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้าน ศูนย์สุขภาพ และกีฬา ศูนย์เยาวชนต่างจัดกิจกรรมการออกกำลังและกีฬาให้แก่สมาชิกของตนเอง ดังหน่วยงานที่ส่งเสริมการพลศึกษาและการกีฬานอกระบบการศึกษา
                          1. หน่วยงานของรัฐ ได้แก่
                                1.1 การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ในปี พ.ศ. 2507 ความพยายามที่จะก่อตั้งองค์การกีฬาระดับประเทศก็เป็นผลสำเร็จ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐ พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2507 (อ.ส.ก.ท.) ขึ้น เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2507 ในระยะแรกองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี บริหารงานโดยคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง มีผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้บริหารสูงสุดเพื่อจัดการบริหารและดำเนินงาน ในวาระแรกรัฐบาลได้แต่งตั้งหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงาน ก.พ. เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในยุคแรกเริ่มยังไม่มีสำนักงานหรือที่ทำการของตนเอง ได้อาศัยสระว่ายน้ำโอลิมปิกของกรมพลศึกษาในบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติเป็นที่ทำการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 25079 มีนาคม 2511 เป็นเวลานานถึง 4 ปี ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่สำนักงานแห่งใหม่ที่สนามกีฬาหัวหมากเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2511  แม้ว่าจะยังไม่มีอาคารที่ทำการถาวรแต่ไม่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสนองนโยบายของรัฐในด้านการกีฬา โดยได้รับผิดชอบกิจการกีฬาของชาติตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ทั้งระดับในประเทศและระหว่างประเทศ ในส่วนกีฬาระหว่างประเทศภารกิจแรกที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในสมัยนั้น คือ เป็นสำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2509 ภายหลังการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 สิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 ได้รับทราบสรุปรายงานการแข่งขันแล้วจึงมีมติมอบสนามกีฬาและที่ดินในบริเวณสนามกีฬาหัวหมากทั้งหมดซึ่งมีพื้นที่รวม 265 ไร่ ให้องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลรักษาต่อไป
                         ต่อมาองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย มีความจำเป็นต้องซ่อมแซมอาคารอินดอร์สเตเดียม จึงได้ย้ายที่ทำการจากอาคารอินดอร์สเตเดียม ไปอยู่ที่อาคารศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม ในสนามกีฬาหัวหมาก ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2519 ต่อมาในปี 2520 ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการถาวรขึ้นใหม่ที่บริเวณด้านหน้าของสนามกีฬาหัวหมาก และเป็นที่ทำการสำนักงานถาวรตลอดมา แม้ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐที่รับผิดชอบการกีฬาของประเทศแล้วก็ตาม แต่โดยฐานะก็เป็นเพียงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งยังเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานกีฬาของชาติเป็นส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านงบประมาณที่ได้รับจากรัฐบาลไม่เพียงพอกับการขยายตัวของการกีฬาในชาติและปัญหาการสอดส่องการดำเนินกิจกรรมกีฬาของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ประกอบกับได้มีบุคคลในวงการกีฬาหลายฝ่ายเห็นว่าการบริหารกีฬาของไทยยังไม่มีแบบแผนที่ดี ขาดประสิทธิภาพต่อการส่งเสริมกีฬาอย่างแท้จริง รวมทั้งปรากฎว่ามีกลุ่มบุคคลนำกีฬาไปสร้างความไม่ดีไม่งามอันกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศโดยที่ไม่มีหน่วยงานใดสามารถควบคุมหรือสอดส่องเพื่อระงับและป้องกันการกระทำดังกล่าวได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ขึ้น ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2528 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อจัดตั้ง การกีฬาแห่งประเทศไทย” (กกท.) แทน “องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยและให้การกีฬาแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการกีฬาและควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาได้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การกีฬาแห่งประเทศไทยจึงได้รับการสถาปนาขึ้นแทน องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2528 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

                         1. ส่งเสริมกีฬา
                         2. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา
                         3. ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล
                         4. จัด ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินการกีฬา
                         5. สำรวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา
                         6. ติดต่อ ร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร
                         7. สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการทางการกีฬา
                         8. ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่ หรือประโยชน์ของการกีฬา
                      ต่อมา ในปี พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ขึ้น โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยนัยแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ มีผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและการกีฬาแห่งประเทศไทยได้โอนไปสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จากเดิมที่เคยสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ต่อมารัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการและต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ให้มีจำนวนคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยไว้ในการบริหารจัดการกีฬาของชาติ จำนวน 15 คน (https://th.wikipedia.org/wiki/การกีฬาแห่งประเทศไทย: ออนไลน์)
                                1.2 กรมพลศึกษา ได้รับการสถาปนา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 ให้เป็นกรมหนึ่งในกระทรวงธรรมการตามพระราชบัญญัติการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยมีหน้าที่จัดการพลศึกษาของชาติ ซึ่งตั้งอยู่ในกระทรวงธรรมการ รัฐบาลในสมัยนั้นมีนโยบายที่จะให้บุคคลแม้ว่าได้รับจริยศึกษาและพุทธศึกษามาแล้วให้ได้รับการพลศึกษาด้วย ซึ่งจะทำให้เรามีร่างกายแข็งแรง ใจคอหนักแน่น อันจะเป็นประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้สมบูรณ์เต็มที่ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพลศึกษาจึงกลายเป็นหลักสำคัญของการศึกษาของชาติจวบจนกระทั่ง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการไทย มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยให้กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนเป็นสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนากีฬาและนันทนาการ เพื่อเสริมสร้างพลานามัยของประชาชน จากกระแสความต้องการของชาวพลศึกษา จึงได้มีการเคลื่อนไหวในการขอใช้ชื่อส่วนราชการ “กรมพลศึกษา” และเมื่อวันที่ 9 และ 16 กุมภาพันธ์ 2553 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา การเปลี่ยนชื่อ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการเป็น กรมพลศึกษาซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อที่มีมนต์ขลัง ได้รับความเชื่อถือและศรัทธา สร้างให้ประชาชนมีร่างกายแข็งแรง จิตใจดีและเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการเป็นกรมพลศึกษา พุทธศักราช 2553 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 52 ก หน้า 4 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 28 สิงหาคม 2553 จึงได้มีชื่อส่วนราชการว่า กรมพลศึกษา
                      กรมพลศึกษายุคใหม่ มีนโยบายและแนวทางส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ การกีฬา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬาและการพัฒนาบุคลากรสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยงานในสังกัดกรมพลศึกษา ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกรม สำนักการกีฬา สำนักนันทนาการ สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ศูนย์ฝึกกรมพลศึกษา สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ และสถาบันศิลปะมวยไทย
                               1.3 เทศบาลนครกรุงเทพ แผนกส่งเสริมการกีฬา กองบริการชุมชน และเยาวชน จัดหาสนามฝึกการกีฬาและอุปกรณ์การเล่น จัดการแข่งขันกีฬานักเรียน เยาวชนและประชาชนกีฬาที่จัดได้แก่ ฟุตบอล บาสเกตบอล ปิงปอง แบดมินตัน หมากรุกไทย และสกา ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันประจำปีและส่วนที่เกี่ยวข้อง กับนันทนาการและการกีฬาด้วย สังกัดงานศูนย์เยาวชนและสนามเด็กเล่นกองนันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม มีสนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง  ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนศูนย์เยาวชนเริ่มตั้งขึ้น พ.ศ. 2503 เพื่อให้นักเรียนและเยาวชน มีที่พักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในทางที่ถูก ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเยาวชนไปด้วยปัจจุบันศูนย์เยาวชนในกรุงเทพมหานครเปิดทำการเวลาราชการและหลังเวลาราชการ รับสมาชิกอายุ 8 - 25 ปี กิจกรรมที่จัดเป็นประจำได้แก่ กีฬากลางแจ้ง กีฬาในร่ม ศิลปะป้องกันตัว ฯลฯ ปัญหาและอุปสรรคของศูนย์คือ อาคารสถานที่ไม่เพียงพอ บุคลากรไม่เพียงพอและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร และมีงบประมานไม่เพียงพอ ขาดความเข้าใจใส่จากกรุงเทพมหานคร (สำนักนายกรัฐมนตรี. 2524: 56)  
                      2. บริการของสมาคมและสโมสร
                           2.1 สมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย  ปัจจุบันมีอยู่ 76 สมาคมและได้รับเงินอุดหนุนจาก กกท. ทำหน้าที่ส่งเสริมกีฬาที่สมาคมรับผิดชอบอยู่ ทั้งการฝึกซ้อมและการแข่งขัน จัดหานักกีฬาและส่งทีมเข้าแข่งขัน
                          2.2 สโมสรกีฬาสมัครเล่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์การ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และธนาคารอันเป็นที่รวมของสมาชิกในหน่วยงานนั้นหรือลูกหลานสมาชิกที่จะเล่นกีฬาต่างๆ เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและความสามัคคีของมวลชนสมาชิก และสโมสรส่วนใหญ่ได้รับเงินจากสมาชิกและหน่วยงานอุดหนุน บางสโมสรก็ลงทุนจ้างโค้ชมาฝึกสอนอย่างจริงจัง                                                                
                          2.3 สมาคมวิชาการที่ช่วยส่งเสริม และสนับสนุนการพลศึกษาและกีฬาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นและทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปปัจจุบัน มีดังนี้
                                2.3.1 สมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและนันทนาการแห่งประเทศไทย                       
                                2.3.2 สมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย
                                2.3.3 สมาคมจิตวิทยาการกีฬาแห่งประเทศไทย
                      3. บริการที่จัดโดยบริษัทเอกชน การดำเนินการเหมือนสโมสรกีฬาสมัครเล่น แต่จัดโดยบริษัทเอกชน เป็นการส่งเสริมและจัดกีฬาภายในให้แก่พนักงานหรือกีฬาเพื่อนันทนาการและส่งไปแข่งขันเชื่อมความสามัคคีนอกบริษัทและเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของบริษัทไปด้วย บริการเอกชนที่เสนอให้บริการในรูปแบบของการสอนกีฬาต่างๆ หรือเปิดให้บริการสถานที่ เช่น กีฬาว่ายน้ำ กีฬาเทนนิสและศิลปะป้องกันตัวประเภทต่างๆ ได้แก่ ยูโด ส่วนบริการของเอกชนให้บริการในด้านการส่งเสริมสุขภาพการบริหารร่างกายและรักษาทรวดทรงให้งดงาม  ได้แก่ เวิร์ดคลับ สยามเฮลท์คลับ สุนีย์โยคะ โจแอนดรู เป็นต้น
                       4. สถานบริการด้านนันทนาการ  ในรูปแบบการออกกำลังกายและการพักผ่อนหย่อนใจ มีสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง ได้แก่ สวนลุมพินี สนามหลวง สวนธนบุรี สวนสาธารณะลาดกระบังและสวนจตุจักรรวมทั้งมีสวนสนุก 3 แห่งได้แก่ สวนสนุกแฮปปี้แลนด์ สวนสนุกแดนเนรมิตและสวนสยาม ส่วนสวนสัตว์ดุสิตมีผู้นิยมไปพักผ่อนและเที่ยวชมกันมากรวมทั้งสมาคมวาย เอ็ม ซี เอ และสมาคมวาย ดับเบิลยู ซี เอ    
              2.6.5 การจัดการแข่งขันกีฬา
                          ในปี พ.ศ. 2517 คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยชุดแรกนี้ได้จัดการสัมมนาเรื่องกีฬามหาวิทยาลัย ณ สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้มีการเสนอแนวคิดให้มีการส่งเสริมการกีฬาในมหาวิทยาลัยให้กว้างขวางมากขึ้น โดยเสนอให้มหาวิทยาลัยกำหนดให้เรียนวิชาพลศึกษาเป็นวิชาบังคับ 2-4 หน่วยกิต และเสนอผ่านรัฐมนตรี ซึ่งมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไป ต่อมาได้ส่งนักกีฬาไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่อิสราเอล 1 ครั้งและส่งผู้สังเกตการณ์ไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่มอสโคว์ ประเทศสหภาพโซเวียต 
                          พ.ศ. 2518 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ซีเกมส์) ครั้งที่ 8
                          พ.ศ. 2519 ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิก ครั้งที่ 21 ณ ประเทศแคนาดา ปรากฏว่านักกีฬาไทยคนแรกคือ นายพะเยาว์ พูนธรัตน์ ได้รับเหรียญทองแดงจากการชกมวยสมัครเล่นรุ่นไลท์ฟลายเวท ดังภาพ 4.6




ภาพ 4.6 พะเยาว์ พูนธรัตน์ นักกีฬาประเทศไทยคนแรกที่ได้รับเหรียญรางวัลกีฬาโอลิมปิก
ที่มา: (http://www.munjeed.com/news_detail.php?id=1343594296. 2559: ออนไลน์)

                         พ.ศ. 2521 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีการแข่งขันกีฬา 19 ประเภท  นักกีฬาไทยชนะเลิศได้เหรียญทอง 11 เหรียญ  เหรียญเงิน 12 เหรียญ และเหรียญทองแดง 19 เหรียญ
                         พ.ศ. 2522 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬา จำนวน 209 คน ชาย 139 คน หญิง 70 คนไปแข่งกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ ประเทศอินโดนีเซีย (เปลี่ยนชื่อจากกีฬาแหลมทองเป็นกีฬาซีเกมส์ครั้งแรก) มีการแข่งขันกีฬา 17 ชนิด ประเทศไทยได้เหรียญทอง 50 เหรียญ เหรียญเงิน 77 เหรียญ และเหรียญทองแดง 58 เหรียญ
                         พ.ศ. 2524 ได้มีการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรกและในปีนี้มีการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 11 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ มีการแข่งขันกีฬา 21 ประเภท นักกีฬาไทยชนะเลิศได้เหรียญทอง 62 เหรียญ เหรียญเงิน 73 เหรียญ และเหรียญทองแดง 75 เหรียญ
                         พ.ศ. 2525 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 ณ กรุงนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย มีการแข่งขันกีฬา 21 ประเภท นักกีฬาไทยได้เหรียญทอง 1 เหรียญ เหรียญเงิน 5 เหรียญ และเหรียญทองแดง 4 เหรียญ
            2.6.6 หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลศึกษา
                          กระทรวงศึกษาธิการ มีส่วนเกี่ยวข้องกับพลศึกษาทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาจัดเกี่ยวกับการพลศึกษาและการกีฬาให้ทั่วถึงกันทั้งระดับนักเรียนเยาวชนและประชาชน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการกีฬาแห่งประเทศไทยรับผิดชอบจัดการแข่งขันกีฬาประชาชนและเผยแพร่ อบรมความรู้และทักษะทางกีฬาและมีงานของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาช่วยทำให้การกีฬามีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นและสถาบันการพลศึกษา ผลิตผู้สอนและครูพลศึกษา นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ทบวงมหาวิทยาลัย มีสภามหาวิทยาลัยหลายแห่งได้อนุมัติให้มีการเปิดสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตและครุศาสตรบัณฑิตทำหน้าที่ผลิตครูพลศึกษากันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก กระทรวงมหาดไทยมีเทศบาลส่งเสริมการกีฬาของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลเยาวชนและประชาชนด้วย รวมทั้งสนามเด็กเล่นและศูนย์เยาวชน กระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น มีโรงเรียน วิทยาลัย ศูนย์เยาวชนส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาและการแข่งขันกีฬา
               สมาคมวิชาการ ได้แก่ สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี สมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งระเทศไทย และสโมสรกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย  ซึ่งสมาคมกีฬาจะได้รับเงินอุดหนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทยและสโมสรกีฬาสมัครเล่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน จัดการกีฬาเพื่อสมาชิกและจัดการแข่งขันระหว่างสโมสรด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนดำเนินการสอน อบรม ฝึกซ้อมและบริหารร่างกาย เช่น สระว่ายน้ำเอกชน สนามเทนนิสเอกชน และสถานบริหารกายเอกชน เป็นต้น
               สรุปได้ว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย มีการเรียกร้องความยุติธรรม ความเสมอภาคและสิทธิต่างๆ ควรจะได้ทำให้ยากแก่การปกครองและรัฐบาลจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อน คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการเดินขบวนนัดหยุดงาน เปิดไฮปาร์ค ฯลฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการปกครองของคณะปฏิวัติของรัฐบาลจอมพลถนอม กิติขจร เป็นระยะเวลายาวนานทำให้นิสิตนักศึกษาและประชาชนไม่สามารถเรียกร้องสิทธิอะไรได้ในช่วงนั้นต่างมาระบายออกกับรัฐบาลชุดพลเรือนแต่เหตุการณ์หลังจากนั้นได้เกิดผลดีต่อการพลศึกษานั่นคือมีการปฏิรูปการศึกษาให้เหมาะสมกับกาลสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น ความมุ่งหมายของการศึกษาไทยในอนาคตควรจะต้องเสริมสร้างให้บุคคลมีสุขภาพดีทั้งร่างกายจิตใจ ให้มีศีลธรรม จึงทำให้วิชาพลศึกษาได้กำหนดไว้ในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอีกครั้ง มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษามากขึ้น ทำให้การเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเป็นไปได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นเพราะปัญหาในการสอนวิชาพลศึกษาอย่างหนึ่งก็คือกิจกรรมพลศึกษาบางอย่างก็กำหนดให้เรียนไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร  สำหรับวิชาพลศึกษา กรมวิชาการได้แต่งตั้งกรรมการร่างและจัดหาหลักสูตรวิชาพลศึกษาและปีเดียวกันรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของพลศึกษาและการกีฬาที่จะเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาประเทศที่สำคัญอย่างหนึ่ง  รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการร่างแผนกีฬาแห่งชาติขึ้นโดยมีกรรมการ 27 คน มีศาสตราจารย์นายแพทย์บุญสม มาร์ติน เป็นประธาน โดยมีหน้าที่สำคัญคือ ร่างแผนการกีฬาแห่งชาติให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการกีฬาแห่งชาติและกำหนดแผนการพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
                รัฐบาลทั้งชุดพลเรือนและชุดทหาร ได้มีการกำหนดความหมายของคำว่าพลศึกษาและกีฬา ไว้หลายประการ แต่เมื่อสรุปแล้วจะมีจุดมุ่งหมายปลายทางอย่างเดียวกัน คือ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามและมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยอาศัยกิจกรรมที่พลศึกษาได้เลือกเฟ้นแล้วเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้ ส่วนกีฬาหมายถึงการแข่งขันหรือการเล่นเพื่อความสนุกสนานโดยมากเพื่อบำรุงกำลัง ส่วนวัตถุประสงค์ของพลศึกษาในการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายหลายประการ เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก หัวใจ ปอด ฯลฯ พัฒนาทางสังคม จิตใจ และอารมณ์ ส่วนวัตถุประสงค์ในการแข่งขันกีฬาเพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้เรียนมาใช้เพื่อการออกกำลังกาย และสนุกสนานในสถานการณ์จริง และเพื่อส่งเสริมความสามารถของตนเองกับเพื่อนร่วมชั้นเพื่อนร่วมโรงเรียนและสถาบันภายนอก           
                การจัดพลศึกษานอกระบบการศึกษา มีหน่วยงานสนับสนุนโดยตรง คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา เทศบาลนครกรุงเทพ สมาคมและสโมสรนักกีฬาสมัครเล่น สมาคมวิชาชีพและมีส่วนบริการมากขึ้นในปัจจุบันโดยเป็นบริษัทเอกชนดำเนินการเหมือนสโมสรกีฬาสมัครเล่น            สำหรับการแข่งขันกีฬามีการดำเนินการจัดการแข่งขันของมหาวิทยาลัยอย่างจริงจังและมีแนวคิดที่ได้จากประชุมว่าควรมีการสนับสนุนกีฬาในมหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวาง และเสนอให้ทุกมหาวิทยาลัยกำหนดให้เรียนวิชาพลศึกษา เป็นวิชาบังคับ 2-4 หน่วยกิต และมีการส่งนักกีฬาไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน ในการแข่งขันกีฬาภายในประเทศคงมีการแข่งขันตามปกติ เช่น การแข่งขันกีฬานักเรียน เยาวนและประชาชน การแข่งขันกีฬาเนื่องในพิเศษต่างๆ การแข่งขันกีฬาคนพิการ การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศโดยเฉพาะการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 21 นักกีฬามวยสากลของไทยก็สามารถคว้าเหรียญทองแดงมาครองได้เป็นเหรียญแรก ส่วนการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมและกีฬาซีเกมส์ ประเทศไทยได้ร่วมเป็นเจ้าภาพและร่วมแข่งขันอยู่เสมอจนทำให้มาตรฐานการกีฬาของไทยดีขึ้นโดยเฉพาะกรีฑาประเภทลู่สามารถปรับปรุงจนประสบผลสำเร็จในการแข่งขันกีฬาระดับชาติหลายครั้ง

3. การพลศึกษาในสมัยอุตสาหกรรมใหม่ (พ.. 2526-ปัจจุบัน)
          ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพชร (2538: 246-250) ได้สรุปไว้ว่า การพลศึกษาในสมัยนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นการนำองค์ความรู้จากศาสตร์หลายสาขาวิชามาผสมผสานกันทางวิทยาศาสตร์และกลุ่มศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น กายวิภาค สรีรวิทยา ชีวกลศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา สังคมวิทยา เวชศาสตร์การกีฬา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวัดและประเมินผล เป็นต้น จึงทำให้วิชาพลศึกษาเป็นศาสตร์ที่มีทฤษฎี หลักการ เหตุผลและพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ช่วยทำให้มีคุณภาพชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัยและน้ำใจนักกีฬา เนื่องจากวิทยาศาสตร์และและเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาจากประเทศเกษตรกรรมไปสู่ประเทศกึ่งอุตสาหกรรมหรือประเทศอุสาหกรรมใหม่ มีการเน้นที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์มากขึ้นในทุกสาขา การพลศึกษาจะต้องพัฒนาไปสู่เชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและอนาคตโดยเน้นการช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตและการอนามัยแก่ประชาชน เช่น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การเล่นกีฬาเพื่อการแข่งขันหรือเพื่อความเป็นเลิศ โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการพลศึกษามากขึ้น
         3.1 คณะรัฐบาลบริหารประเทศ
                3.1.1 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 44 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2526-2531) นายชวน หลีกภัย และนายมารุต บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                        ด้วยเหตุที่ประเทศชาติต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา อีกทั้งต้องมีความฉลาดและตระหนักในคุณค่าของชีวิตที่ปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดสาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาชาติระยะที่ 5 (.. 2525-2529) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพลศึกษาที่ข้อ 3 และข้อ 11 ดังนี้ “....จัดและส่งเสริมให้สถาบันศึกษาเป็นแหล่งบริการการศึกษาศิลปวัฒนธรรมและกีฬาพลามัยแก่ชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา....” และ “....จัดและส่งเสริมนันทนาการการกีฬาทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนและประชาชนมีสุขภาพพลามัยที่สมบูรณ์ และน้าใจนักกีฬา....” และนโนบายนี้จะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่5 (.. 2525-2529)
               3.1.2 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรับมนตรี รัฐบาลคณะที่ 45 และ 46 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2531-2534)
                       รัฐบาลชุดนี้ได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี 2 ครั้ง พลเอกมานะ รัตนโกเศศ และพลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลได้กำหนดแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมระยะที่ 6 (.. 2530-2534) กล่าวถึงนโยบายการศึกษาเพื่อพัฒนาพลานามัยดังนี้ “….พัฒนาและจัดการศึกษาด้านพลานามัยทุกระดับทุกประเภทการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนให้เยาวชน และประชาชนตระหนักในความสำคัญของพลานามัยและโภชนาการ พร้อมทั้งการดำเนินประพฤติปฏิบัติและร่วมให้การสนับสนุนให้เป็นไปตามหลักวิชาการในด้านพลานามัยและโภชนาการเพื่อเยาวชนและประชาชนมีมาตรฐานสุขภาพพลานามัยทั้งกายและจิตสูงขึ้น….”
               3.1.3 นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 47 (บริหารประเทศระหว่าง วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535) นายก่อ สวัสดิพานิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีระยะเวลาการทำงาน 1 ปี เพราะเป็นรัฐบาลชั่วคราว            
               3.1.4 พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 48 (บริหารประเทศระหว่าง วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535) โดยมีพลอากาศเอกสมบูรณ์ ระหงส์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีอายุการทำงานสั้นมากเพียงเดือนเศษๆ เท่านั้น ก็ต้องลาออกเพราะนักการเมืองและประชาชนไม่เห็นด้วยเนื่องจากขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งจึงเกิดเหตุการณ์นองเลือดและมีประชาชนเสียชีวิตมากมาย    
               3.1.5 นายอานนท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวอีกวาระหนึ่ง รัฐบาลคณะที่ 49 (บริหารประเทศระหว่าง วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535) เพื่อจัดดำเนินการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในเวลา 6 เดือน
               3.1.6 นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีชุดที่ 50 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2535-2538) นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
                        สำหรับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 25352539) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการด้านการส่งเสริมการศึกษาข้อ 2 มีดังนี้ สนับสนุนและส่งเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นความมีวินัย ความสามัคคี ความซิอสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ ความขยัน ความประหยัด ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมีจิตสำนึกที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอนุรักษ์ รักษาฟื้นฟูศิลปะ วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสุขพลานามัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2535: 43) พร้อมทั้งกำหนดมาตรการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลศึกษา คือ “...4) ให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องสุขภาพพลานามัยและพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับโภชนาการ การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การพักผ่อน  การใช้เวลาว่างไห้เป็นประโยชน์ มีความเหมาะสมตามเพศตามวัยและสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นมีสุขนิสัยที่ถูกต้องรวมทั้งจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและบุคลิกที่ดี.....” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2535: 54)
               3.1.7 นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 51 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2538-2539) ใช้นโยบายการพลศึกษาและกีฬาต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
               3.1.8 พลเอกชวลิตยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 52 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2598-2540) ใช้นโยบายการพลศึกษาและกีฬาต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
               3.1.9 นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 รัฐบาลคณะที่ 53 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2540-2544) ใช้นโยบายการพลศึกษาและกีฬาต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
               3.1.10 พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 54 และ 55 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2544-2549) รัฐบาลได้ก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ในการปฏิรูประบบราชการ โดยรับโอนภารกิจด้านการกีฬาและการท่องเที่ยวจากกระทรวงต่างๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรก คือ นายสนธยา คุณปลื้ม มีนายจเด็จ อินสว่าง เป็นปลัดกระทรวงคนแรก ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งย้ายนายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวง ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรี และตั้งนายขจร วีระใจ รักษาการปลัดกระทรวง โดยก่อนหน้านี้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ผู้ที่รักษาการในตำแหน่งราชการมีอำนาจเต็มเพื่อความสะดวกในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
               3.1.11  พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 56 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2549-2551) ใช้นโยบายการพลศึกษาและกีฬาต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
               3.1.12  นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 57 (บริหารประเทศระหว่าง วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551) ใช้นโยบายการพลศึกษาและกีฬาต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
               3.1.13  นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 58 (บริหารประเทศระหว่าง วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551) ใช้นโยบายการพลศึกษาและกีฬาต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
               3.1.14  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 59 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2551-2554) ใช้นโยบายการพลศึกษาและกีฬาต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
               3.1.15 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 60 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2554-2557) ใช้นโยบายการพลศึกษาและกีฬาต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
               3.1.16 รัฐบาลชุดปัจจุบัน คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะที่ 61 (บริหารประเทศระหว่าง พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)          
          3.2 หลักสูตรวิชาพลศึกษาและการเรียนการสอน
                  3.2.1 หลักสูตรวิชาพลศึกษา
                           จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจและวิยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นโยบายการศึกษาและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 6 ที่ 7 มีเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้า ซึ่งทำให้มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาพลศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและวิทยาการที่เจริญก้าวหน้า 
                           ในปี พ.. 2529 สถาบันผลิตครูพลศึกษาหลายสถาบันได้มีการปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษาดังนี้
                           1) คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะพลศึกษาและคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ในมหาวิทยาลัยต่างๆได้มีการปรับปรุงหลักสูตร สาขาพลศึกษา หลักสูตร 2 ปีมีลักษณะโครงสร้างหลักสูตรที่ใกล้เคียงกันโดยให้มีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 78 หน่วยกิต                          
                           2) กรมการฝึกหัดครูได้พิจารณาแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกหัดครูให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงใช้หลักสูตรวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2530 สาขาการศึกษามีโครงสร้างหลักสูตรรวมหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตรปริญญาตรี 143147 หน่วยกิต อนุปริญญา 81 หน่วยกิตและปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) 68 หน่วยกิต
                           3) กรมพลศึกษาได้ปรับปรุงหลักสูตรผลิตครูพลศึกษา เรียกว่า หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง พ.ศ. 2529ใช้เวลาเรียน 2 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต
                           4) พ.ศ. 2530 มีหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาเอกในประเทศ รับนิสิตที่มีประสบการณ์ในการทำงานหลังจบปริญญาโทมาแล้ว 1 ปี พร้อมมีโครงการวิจัยหรือผลงานวิจัยมาเสนอด้วย                                     
                            5) พ.. 2531 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัยได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2525 โดยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรและสาขาวิชารวมทั้งขยายจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรเป็น 145-149  หน่วยกิต
                            6) พ.. 2532 คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ปรับปรุงปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (ปริญญาโท) วิชาเอกพลศึกษา ซึ่งมีโครงสร้างหลักสูตรรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
                            7) ในปีเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษาละหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมกับสภาพกาลเวลาและความเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 6 และ 7 ดังนี้
                                  7.1) หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)  วิชาพลศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย กำหนดเวลาเรียนคาบละ 20 นาที
                                  7.2) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรพลศึกษาไห้วิชาพลศึกษารวมกับวิชาสุขศึกษาเรียกว่า  พลานามัยและอยู่ในกลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพร่วมกับวิชาศิลปศึกษา                                   
                                  7.3) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง  พ.ศ. 2533) กำหนดรายวิชาพลศึกษารวมอยู่กับวิชาสุขศึกษาเรียกว่า พลานามัย เป็นวิชาบังคับแกน  3 หน่วยการเรียน บังคับเลือก 3 หน่วยการเรียน  และสามารถเรียนวิชาเลือกเสรีร่วมกับวิชาอื่นๆ  อีกรวมกันอย่างน้อย 45 หน่วยการเรียน 
                           8) พ.ศ. 2535 กรมพลศึกษาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง พ.ศ. 2529 เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น  จึงมีการเพิ่มหน่วยกิตจาก 80 หน่วยกิต เป็น 92 หน่วยกิต 
                           9) ในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2535) กรมพลศึกษาได้จัดโครงการความร่วมมือกับกรมการฝึกหัดครูก่อตั้งโครงการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับปริญญาตรี  ในหลักสูตรโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (การฝึกและการจัดการกีฬา) ระดับปริญญาตรี มีหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 144 หน่วยกิต
                          10) และในปีนี้ (พ.ศ. 2535) มีการปรับปรุงหลักสูตรผลิตครูพลศึกษาตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงถึงระดับปริญญาเอกเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยกล่าวคือ  มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี  แล้วปิดหลักสูตร 2 ปี ส่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาพลศึกษา หลักสูตร 4 ปี และ 2 ปี โดยปรับจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรเป็น 144 หน่วยกิตและ 86 หน่วยกิตตามลำดับแต่วิชาเอกพลศึกษาทั้งสองหลักสูตรคงเดิมคือ 60 หน่วยกิต ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต และครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตให้มีจำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตรน้อยลงจาก 48 เหลือ 40 หน่วยกิต แต่วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท หน่วยกิตเท่าเดิมคือ 12 หน่วยกิต ส่วนระดับปริญญาเอกจาก 96 หน่วยกิต เหลือ 76 หน่วยกิต แต่เพิ่มหน่วยกิตวิทยานิพนธ์จาก 24 หน่วยกิต เป็น 48 หน่วยกิต เนื่องจากทบวงมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการวิจัยที่มีคุณภาพและต้องการให้มีเวลาว่างในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้นและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเปิดหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาพลศึกษา ภาคนอกเวลาราชการขึ้นอีก
                 3.2.2 การเรียนการสอน  
                           ในระดับโรงเรียนมีการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาทุกระดับ จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการและนำเอาหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพพลานามัยอย่างมีเป้าหมายและมีเหตุผล แต่ยังพบปัญหาบางประการในการจัดการเรียนการสอนคือ การสอนพลศึกษาเน้นทักษะกีฬามากเกินไป โรงเรียนบังคับให้เรียนเหมือนกันหมดเพราะขาดอุปกรณ์และสถานที่ ส่วนการวัดประเมินผลของครูพลศึกษามักจะตั้งเกณฑ์การผ่านหรือไม่ผ่านสูงเกินไป                                                                                                                         
                          ในสถาบันอุดมศึกษามีการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเป็นวิชาบังคับและเลือกเสรีมากขึ้น ส่วนสถาบันผลิตครูพลศึกษามีการปรับปรุงหลักสูตรทางพลศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่พัฒนาปรับปรุงไปจากหลักสูตรเดิม มีกีฬาแฟชั่นหรือกีฬาที่เป็นที่นิยมของสังคมมากขึ้นและเน้นรายวิชาเนื้อหาไปสู่วิทยาศาสตร์การกีฬามากขึ้น
           3.3 การจัดพลศึกษาในระบบการศึกษา
                  กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดวิชาพลศึกษาในหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษาไว้มากมายทั้งที่เป็นวิชาบังคับ วิชาบังคับเลือกและวิชาเลือกเสรีเพื่อตอบสนองความต้องการและการพัฒนาตามศักยภาพของนักเรียนโดยเน้นการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                   กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความร่วมมือและตอบสนองแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (.2531-2539) ได้กำหนดแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาและตั้งศูนย์กีฬาโรงเรียนและโรงเรียนกีฬาขึ้น
                   กรมสามัญศึกษา ได้จัดให้มีการประชุมเลือกตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์กีฬาโรงเรียนของกรมสามัญศึกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.. 2533  โดยแบ่งเป็นศูนย์กีฬาโรงเรียนในส่วนกลางปีงบประมาณ 2534 จำนวน 15 ศูนย์และส่วนภูมิภาคปี 2535 จำนวน 41 จังหวัด ส่วนที่เหลืออีก 31 จังหวัดจะจัดตั้งในปี พ.. 2536 กองแผนงานจึงได้ร่วมกับสำนักงานโครงการพิเศษจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์กีฬาของกรมสามัญศึกษาขึ้นเพื่อสอดคล้องกับการจัดการงบประมาณ ตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 7 (2535-2539) กองแผนงานจึงได้บรรจุกิจกรรม  ตามโครงการจัดตั้งศูนย์กีฬาโรงเรียนในโครงการพัฒนากีฬาและสุขภาพอนามัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาที่มีคุณลักษณะพิเศษหรือมีความสามารถด้านกีฬาอยู่แล้วให้ได้รับการพัฒนาทักษะกีฬาอย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง มีความพร้อมที่สนับสนุนรัฐบาลในการเตรียมทีมนักกีฬาเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ซึ่งประเทศไทยจะขอเป็นเจ้าในปี พ.. 2541 และ 2547 ตามลำดับ (กรมสามัญศึกษา. 2533: 75)
                  กรมพลศึกษา ได้เปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาในโรงเรียนกีฬาในปี พ.. 2534 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2533 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2533                  
                ทบวงมหาวิทยาลัยมีบทบาทและส่งเสริมการพัฒนากีฬาแห่งชาติมากยิ่งขึ้นเมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยริเริ่มโครงการพัฒนากีฬาแห่งชาติ ซึ่งสืบเนื่องมาจากในปี พ.. 2528 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13 และในครั้งนี้ประเทศไทยได้รับเหรียญทองมากที่สุดซึ่งนำความภาคภูมิใจและความยินดีมาสู่พี่น้องชาวไทยโดยทั่วหน้ากันในการแข่งขันดังกล่าว  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีบุคลากรอันประกอบด้วยอาจารย์ ข้าราชการและนิสิตมีส่วนเกี่ยวข้องในการแข่งขันด้วย  ดังนั้นอธิการบดีในสมัยนั้น คือ ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล จึงได้เห็นชอบและมีนโยบายให้การสนับสนุนการกีฬาแห่งชาติ ประกอบกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งวิชาการและมีศักยภาพเพียงพอในด้านการศึกษาจึงได้เสนอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติจัดตั้งโครงการพัฒนากีฬาชาติขึ้นเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่นักกีฬาระดับชาติที่ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศและนักกีฬาที่มีโอกาสพัฒนาความสามารถไปสู่ระดับชาติได้เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยวิธีพิเศษซึ่งนักกีฬาเหล่านี้จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จทั้งทางด้านกีฬาและการศึกษาไปพร้อมๆกัน  ดังนั้น  โครงการพัฒนากีฬาชาติจึงได้เริ่มดำเนินการรับนิสิตเข้าศึกษาในรุ่นที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ  ก็เริ่มรับนิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถดีเด่นทางด้านกีฬาด้วยวิธีพิเศษกันมากขึ้นปัจจุบันรวมตลอดทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนก็มีโครงการรับนักกีฬาเข้าศึกษาโดยมอบทุนการศึกษาจนจบการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยมีแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติด้วยกล่าวคือ
                  พ.ศ. 2530 คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬาขึ้นในโรงเรียนกีฬาเวชศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด  ผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์การกีฬารุ่นแรกจำนวน 30 คนและพบว่าบัณฑิตส่วนใหญ่  90 เปอร์เซ็นต์มีความพอใจในศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา งานเสนอขายอุปกรณ์ทางการกีฬาและอุปกรณ์ทางการแพทย์  งานอาจารย์พลศึกษาและงานอาจารย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและงานผู้ช่วยวิจัย นอกจากนี้ยังมีบัณฑิตบางคนสามารถปฏิบัติงานในแวดวงตำรวจและทหารได้อีกด้วย  ในปีเดียวกัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดสอนวิชาสรีรวิทยาออกกำลังกาย (Work Physiology) โดยได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท ทำให้สามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาได้โดยตรง (วิชัย วนดุรงค์วรรณ,  ศิริรัญ หิรัญรันต์และประณมพร โภชนสมบูรณ์. 2533: 11)
               พ.ศ. 2531 ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาพลศึกษา และได้เน้นให้มีการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์การกีฬาในเนื้อหาของหลักสูตรมากขึ้นและจะได้ก่อตั้งเป็นคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยตรงโดยคาดว่าจะสามารถการผลิตบุคลากรได้ภายในแผนการศึกษาแห่งชาติระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)
               พ.ศ. 2533-2534 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดตั้งศูนย์กีฬาเวชศาสตร์ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์วิชาการและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในส่วนภูมิภาค
                 พ.ศ. 2535 คณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาขึ้น            
                 พ.ศ. 2548 รัฐบาลประกาศพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2548 โดยโอนวิทยาลัยพลศึกษาจากกรมพลศึกษา เป็นสถาบันการพลศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 3 คณะ คือ คณะศึกษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ในระยะแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2552 สถาบันการพลศึกษาใช้สถานที่อาคารสนามเทนนิสและอาคารสระว่ายน้ำวิสุทธารมณ์ของกรมพลศึกษาเป็นสำนักงานอธิการบดี ต่อมาปี พ.ศ. 2555 ย้ายไปตั้งสำนักงานอธิการบดีที่จังหวัดชลบุรีจนถึงปัจจุบัน ดังภาพ 4.7




ภาพ 4.7 สถาบันการพลศึกษา 
ที่มา: (สถาบันการพลศึกษา. 2550: 5)

          3.4 การจัดพลศึกษานอกระบบการศึกษา
                 การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านกีฬาของชาติโดยตรงได้มีหน่วยงานด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬาซึ่งมีสาขาศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับภูมิภาค  จำนวน 9 แห่ง คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา  สาขาภูมิภาคจังหวัดจันทบุรี  อุบลราชธานี  ขอนแก่น  เชียงใหม่  พิษณุโลก  ราชบุรี  ภูเก็ต สงขลาและสุราษฏร์ธานี
                  คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (National Olympic Committee of Thailand Under the Royal Patronage of His Majesty of The King, NOCT)
ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2491 ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ตราเครื่องหมายคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2492 คณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Olympic Committee) ให้การรับรองเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2493 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยเป็นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (National Olympic Committee, NOC) ที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยการรับรองของคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (Olympic Charer) ฉะนั้นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (NOC) เป็นองค์กรการกีฬาของชาติที่มีอิสระ (Autonomy) ตามกฎบัตรโอลิมปิกระหว่างประเทศ (OIC) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรโอลิมปิกมีอยู่ว่า คณะกรรมการโอลิมปิกเกมส์และการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่คณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างรับอุปถัมภ์ไว้ เช่น กีฬาเอเชี่ยนเกมส์และกีฬาซีเกมส์ เป็นต้น นอกจากนั้นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (NOC) จะต้องตั้งความมุ่งหมายในการพัฒนาและปกปักรักษาขบวนการโอลิมปิกและกีฬาทั่วไป ซึ่งหมายถึงกีฬาระหว่างประเทศหรือกีฬาสากลนิยม คณะกรรมการโอลิมปิกสากลในปัจจุบันที่เป็นองค์กรกลางทางกีฬา (Olympic Movement) มีโครงสร้างประกอบด้วย (https://th.wikipedia.org/wiki/คณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ. 2559: ออนไลน์)
                   1. คณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Olympic Committee, IOC)
                  2. คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (National Olympic Committee, NOC)
                  3. สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia, OCA)
                  4. สหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ (International Sport Federation, ISF)
                  5. สมาคมกีฬาต่างๆ ในแต่ละประเทศ (Nation Federation Sport, NFS)
               สถาบันวิทยาการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (Thai National Olympic Academy)
ได้ตั้งขึ้นมาวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิกในลักษณะต่างๆ อาทิ ประวัติความเป็นมาการพัฒนาการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมต่างๆ ของ คณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ การอบรมวิชาการต่างๆ ทั้งด้านการพลศึกษา การฝึกสอนกีฬา การค้นคว้าวิจัยและการจัดการแข่งขันกีฬา       
              3.5 การจัดการแข่งขันกีฬา
                     พ.ศ. 2526 กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬานักเรียนเช่นเดียวกับปีที่ผ่านๆ มา  แต่มีการแก้ไขกลุ่มสังกัดสายอาชีวศึกษาต้องไม่เกินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และได้จัดกลุ่มสังกัดโรงเรียนสาธิตทบวงมหาวิทยาลัย เพิ่มจากปี พ.ศ. 2525 อีก 1 กลุ่ม นอกจากนี้ยังจัดกีฬาเขตการศึกษา (กรมพลศึกษา, 2529: 8)
                     พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการ มอบให้กรมพลศึกษาจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน  เช่นเดิม ปีนี้ได้เพิ่มการแข่งขันกีฬาซอฟท์บอล อีก 1 ประเภท และได้แก้ไขระเบียบการแข่งขันแบดมินตันและเทเบิลเทนนิส โดยจัดการแข่งขันแบบกำหนดอายุเป็นเกณฑ์มี 5 รุ่นอายุ นอกจากนี้ได้จัดกลุ่มโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีก คือ กลุ่มโรงเรียนสาธิตสังกัดกรมการฝึกหัดครู (กรมพลศึกษา. 2527: 10) และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนกีฬาว่ายน้ำขึ้นใหม่ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภททีม (กรมพลศึกษา, 2529: 15) และจัดการแข่งขันกีฬาเขตการศึกษาเพิ่มเขตมากขึ้นอีกด้วย
                  พ.ศ. 2528 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่  8-17 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ประเทศไทยชนะเลิศเหรียญทองรวม ส่วนกรมพลศึกษายังคงจัดให้มีการแข่งขันกีฬานักเรียนแต่ให้งดการแข่งขันบางประเภทและตัดชนิดกีฬาบางประเภทออกไป คงเหลือกีฬาชาย 11  ชนิดและกีฬาหญิง 8 ชนิด ในปีนี้ได้มีการพิจารณาปัญหาในการจัดดำเนินการแข่งขันกีฬาที่ผ่านมาพบว่าโรงเรียนได้มีการปลอมแปลงเอกสารหรือปรับเปลี่ยนอายุ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศยกเลิกระเบียบข้อบังคับการแข่งขันกีฬาปี พ.ศ. 2512 และให้ใช้ระเบียบข้อบังคับการแข่งขันกีฬาปี พ.ศ. 2528 แทน
                  พ.ศ. 2529-30 กรมพลศึกษา ได้ดำเนินการจัดแข่งขันกีฬานักเรียนแบ่งเป็นชาย 18 ชนิด และนักเรียนหญิง 13 ชนิด โดยแบ่งกลุ่มโรงเรียนมี 9 กลุ่มแบ่งตามสังกัดโรงเรียน การจัดการแข่งขันกีฬาเขตการศึกษาและภูมิภาคในเขตจังหวัด อำเภอและตำบล นอกจากนี้เทศบาลกรุงเทพมหานครได้จัดการแข่งขันกีฬานักเรียนโรงเรียนเทศบาลเป็นประจำทุกปีอีกด้วย
                  .. 2531 กรมพลศึกษาดำเนินการจัดแข่งขันกรีฑาและกีฬานักเรียน นักศึกษา ส่วนกลาง มีการแข่งขันกีฬา 7 ประเภท จัดการแข่งขันยิมนาสติกนักเรียนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน มี 6 ประเทศ เข้าแข่งขันไทยได้เหรียญทองมากที่สุด นอกจากนี้ยังจัดกีฬาประเภทอื่นๆ อีกมาก เช่น กรีฑา วอลเลย์บอลและบาสเกตบอล เป็นต้น มีจัดการการแข่งขันคนพิการแห่งประเทศไทยครั้งที่ 10 มีการแข่งขัน 8 ประเภท โรงเรียนต่างๆ ส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน 26 แห่ง และจัดส่งนักกีฬาคนพิการของประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาพาลาลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 8 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
                  .. 2532 กรมพลศึกษาดำเนินการจัดแข่งขันกรีฑาและกีฬานักเรียนนักศึกษา ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค  และระดับเขตการศึกษา จัดส่งกีฬานักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในอาเซียน และเอเชีย จัดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศและส่งนักกีฬาไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาพาลาลิมปิกเกมส์ ปีนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น ประเภทกีฬาแข่งขันมีมากขึ้นเช่นกัน
                  .. 2535 กรมพลศึกษามีงานส่งเสริมการแข่งขันกีฬาภายในประเทศ ดำเนินการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน ในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทยจัดการแข่งขันกีฬาของศูนย์ฝึกกีฬา และจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย มีนักกีฬาเข้าร่วม 1,200 คน และจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศไทยระดับอาเซียนเกือบทุกประเภทกีฬา
                  ตั้งแต่ พ.. 2530 จนถึงปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กรมพลศึกษาจัดและดำเนินการแข่งขันกีฬาติดต่อกันมาหลายปีได้เห็นว่า การแข่งขันกีฬาเป็นส่วนหนึ่งของพลศึกษาที่จะส่งผลให้กับนักเรียนมีสุขภาพพลานามัย มีจิตใจสูงในความเป็นนักกีฬาที่ดี มีความสามัคคี มีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกามีทัศนคติ ที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป (กรมพลศึกษา. 2529: 26)
                นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย การแข่งขันกีฬาวิทยาลัยพลศึกษาแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ กีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย) และการแข่งขันกีฬาวิทยาลัยครู (ปัจจุบันคือ กีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย)ประจำทุกปีอีกด้วยและมีการแข่งขันที่จัดโดยสมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย การแข่งขันกีฬาทหารโลก การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน การแข่งขันกีฬานักเรียนแห่งอาเซียน การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติและการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ              
                 การส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ที่ประเทศมาเลเซีย และครั้งที่ 16 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งประเทศไทยได้เหรียญทองมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง กีฬาซีเกมส์ปัจจุบันประเทศเจ้าภาพพยายามจัดกีฬาประจำชาติของตนเข้าไว้ในการแข่งขันซีเกมส์เสมอ เช่น ประเทศมาเลเซียจัดปัญจสีลัตและประเทศฟิลิปปินส์จัดวูซู เป็นต้น เพื่อการได้เปรียบและได้เหรียญมากกว่าประเทศอื่นๆ
                 การเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ปี พ.. 2529 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ นักกีฬาไทยได้ 3 เหรียญทอง 8 เหรียญเงินและ 7 เหรียญทองแดง และครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง ปี พ.. 2533 นักกีฬาไทยได้ 2 เหรียญทอง 7 เหรียญเงินและ 8 เหรียญทองแดง ซึ่งเหรียญทองได้จากกีฬามวยสากลสมัครเล่นและยิงปืนเท่านั้น
                 .. 2527 กีฬาโอลิมปิก ณ เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา นักกีฬาไทยได้เหรียญเงินคนแรกคือ ทวี อัมพรมหา โดยได้จากกีฬามวยสากลสมัครเล่น
                 .. 2531 กีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ นักกีฬาไทยได้เหรียญทองแดงคือ ผจญ มูลสัน จากกีฬามวยสากลสมัครเล่น
                  .. 2535 กีฬาโอลิมปิก ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน นักกีฬาไทยได้เหรียญทองแดงคือ อาคม เฉ่งไล่ จากกีฬามวยสากลสมัครเล่นอีกเช่นกัน
                  .. 2539 กีฬาโอลิมปิก ณ เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา นักกีฬาไทยได้เหรียญทองคนแรกคือ สมรักษ์ คำสิงห์ จากกีฬามวยสากลสมัครเล่น ดังภาพ 4.8



ภาพ 4.8 นักกีฬาไทยได้เหรียญทองคนแรกในกีฬาโอลิมปิก คือ สมรักษ์ คำสิงห์
ที่มา:

                  .. 2543 กีฬาโอลิมปิก ณ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย นักกีฬาไทยได้เหรียญทองคือ วิจารณ์ พลฤทธิ์ จากกีฬามวยสากลสมัครเล่น
                  .. 2547 กีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ นักกีฬาไทยได้เหรียญทองคือ มนัส บุญจำนงค์ จากกีฬามวยสากลสมัครเล่น อุดมพร พลศักดิ์ และปวีณา ทองสุก จากยกน้ำหนัก
                  .. 2551 กีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน นักกีฬาไทยได้เหรียญทองคือ
สมจิตร จงจอหอ จากกีฬามวยสากลสมัครเล่นและประภาวดี เจริญรัตนธารากูล จากกีฬายกน้ำหนัก
                   .. 2555 กีฬาโอลิมปิก ณ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร นักกีฬาไทยได้เหรียญเงินคือ แก้ว พงษ์ประยูร จากกีฬามวยสากลสมัครเล่นและพิมศิริ ศิริแก้ว จากกีฬายกน้ำหนัก
                   .. 2559 กีฬาโอลิมปิก ณ กรุงริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล นักกีฬาไทยได้เหรียญทองคือ โสภิตา ธนสาร และสุกัญญา ศรีสุราช จากกีฬากีฬายกน้ำหนัก
            ภาพผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินและนักกีฬาของประเทศไทยที่สร้างชื่อเสียงในระดับนานาชาติและกีฬาโอลิมปิก ดังภาพ 4.9



ภาพ 4.9 ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินและนักกีฬาของประเทศไทยที่สร้างชื่อเสียงในระดับนานาชาติ
ที่มา: (สถาบันการพลศึกษา. 2550: 5)

            ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการแข่งขันกีฬาระดับโลกน่าจะได้พิจารณากีฬาที่มีการแข่งขันโดยใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์ เช่น มวยสากล ยกน้ำหนักและกีฬาที่ใช้สมาธิสูง เช่น ยิงปืนเป็นกีฬาที่น่าให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ   
            3.6 หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพลศึกษา
                   3.6.1 สถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผลิตบุคลากรผู้สอนวิชาพลศึกษาระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ นักนันทนาการ ตั้งศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศต่อยอดจากโรงเรียนกีฬาทั้งหมด 17 วิทยาเขต จัดการเรียนการสอนและฝึกฝนนักกีฬาในโรงเรียนกีฬาทั้งหมด 13 แห่ง
                    3.6.2  กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนโดยใช้กิจกรรมกีฬาเป็นสื่อและทำหน้าที่ผลิตครูพลศึกษาและนักวิชาการและจัดการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนและระหว่างโรงเรียน การจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างเขตการศึกษา กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่คือเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาและมีส่วนน้อยที่เป็นการศึกษานอกโรงเรียน
                     3.6.3 การกีฬาแห่งประเทศไทย จัดการกีฬาสำหรับประชาชน จัดการแข่งขันกีฬาภายในประเทศโดยจัดสรรงบประมาณบางส่วนช่วยสนับสนุนคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และสมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังจัดการฝึกอบรมเผยแพร่วิชาการ วิจัย ทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาและประชาชนรวมทั้งการบำบัดรักษาผู้บาดเจ็บจากการกีฬา
                            นอกจากนี้การกีฬาแห่งประเทศไทยได้ร่วมประชุมกับ 4 สมาคมกีฬาเพื่อวางแนวทางการพัฒนาสู่กีฬาอาชีพเพื่อให้สอดคล้องกับแผ่นพัฒนากีฬาชาติฉบับที่ 1 (.. 2531-2539) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2533 ได้แก่ สมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย สมาคมมวยไทยอาชีพแห่งประเทศไทย สมาคมสนุกเกอร์แห่งประเทศไทยและสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่ประชุมเห็นว่าต้องมีการพัฒนารูปแบบขององค์กรและการพัฒนาบุคลากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอาทิ ผู้จัดการแข่งขัน ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินและนักกีฬาควบคู่กันไป
                   3.6.4 ทบวงมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ผลิตบุคลากรทางพลศึกษาและจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพลศึกษาในมหาวิทยาลัย จัดการแข่งขันกีฬาภายในและระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น กีฬามหาวิทยาลัยและกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน เป็นต้น
                   3.6.5 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งขันกีฬาในระดับโลกหรือระดับทวีปหรือกลุ่มประเทศ จัดการฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่สถาบันศึกษาและระชาชนทั่วไป
                  3.6.6 สมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ส่งเสริมการฝึกและการแข่งขันกีฬาแต่ละชนิด เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล กรีฑา เทนนิส เป็นต้น
                  3.6.7 กระทรวงกลาโหม มีสำนักกีฬาทหารเป็นหน่วยงานที่สังกัดกองทัพแต่ละกองทัพ ทั้ง 4 เหล่าทัพ กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกรมตำรวจ จัดการเรื่องกีฬาและการแข่งขันกีฬาเฉพาะในกลุ่มทหารและตำรวจ
                  3.6.8 กรุงเทพมหานครและเทศบาลของจังหวัดต่างๆ มีการส่งเสริมกีฬาและการแข่งขันภายในท้องถิ่น
                 3.6.9 ภาคเอกชน เช่น บริษัท ห้างร้าน โรงเรียน โรงแรม หมู่บ้านและศูนย์สุขภาพและกีฬามีศูนย์หรือสถานที่ออกกำลังกายสำหรับสมาชิกและบุคคลทั่วไปอย่างกว้างมากขึ้น
                 3.6.10 สโมสรกีฬาต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เช่น สโมสรราชกรีฑา สโมสรการท่าเรือ สโมสรการไฟฟ้าฝ่ายผลิต สโมสรธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ ร่วมกันฝึกนักกีฬา รับนักกีฬาระดับทีมชาติบรรจุเข้าทำงานและจัดการแข่งขันกีฬาภายในประเทศ
                 3.6.11 สมาคมวิชาชีพทางพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้แก่ สมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและนันทนาการแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทยและสมาคมจิตวิทยาการกีฬาแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง ออกวารสารเผยแพร่ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับพลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการและวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นสำคัญ

          สรุป
                ในสมัยของการเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมกึ่งอุตสาหกรรมหรือสังคมอุตสาหกรรมใหม่ ประเทศไทยต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อีกทั้งต้องมีความฉลาดและตระหนักคุณค่าของชีวิตและส่วนรวมที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้นนโยบายการศึกษาและแผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ระยะที่ 5 เป็นต้นไปจะเน้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลศึกษาและการกีฬาไว้ทุกแผนและจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกแผนเช่นกัน นอกจากที่ยังมีปรากฏการณ์ใหม่ในวงการพลศึกษาและกีฬาเกิดขึ้น คือ ประเทศไทยมีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (.. 2531 - 2539) หลังจากที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแผนการกีฬาแห่งชาติขึ้นจึงมีผลต่อวัตถุประสงค์การเรียนการสอนพลศึกษาที่มุ่งไปสู่การแสดงความสามารถสูงสุดของตนเองกับเพื่อนร่วมชั้น ร่วมโรงเรียนและร่วมสถาบันภายนอกอย่างมีคุณธรรมและเพื่อส่งเสริมพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาด้วย
                หลักสูตรวิชาพลศึกษาในระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเวลารวมทั้งมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 6 เป็นต้นไป อีกทั้งยังมีผลงานวิจัยโดยวิธีวิจัยสังเคราะห์ (Meta Analysis) พบว่าการนำหลักสูตรวิชาพลศึกษาไปใช้ในโรงเรียนมีปัญหา 8 ประการ คือ หลักการของหลักสูตร จุดประสงค์รายวิชา โครงสร้างเนื้อหาและอัตราเวลาเรียน การจัดการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์ การประเมินผล ครูผู้สอนและการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ดังนั้นหลักสูตรพลศึกษาฉบับปรับปรุงจึงมีลักษณะเป็นบูรณาการมากขึ้น คือ ต้องการให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานการกีฬาต่างๆ โดยผสมผสานความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาสุขภาพกาย จิต อารมณ์และสังคมไปพร้อมกับการปฏิบัติจริง ดังนั้นหลักสูตรผลิตครูผู้สอนวิชาพลศึกษาจึงต้องปรับปรุงตามไปด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและความต้องการของสังคม จึงต้องเน้นเนื้อหาในการบูรณาการทางทฤษฎีกับการฝึกปฏิบัติทักษะกีฬามากขึ้นเพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งและนำไปใช้ในชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ
                การเรียนการสอนในโรงเรียนปัจจุบันเป็นการสอนแบบบูรณาการและกระบวนการคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น ในกลุ่มพัฒนาบุคลิกภาพการจัดกิจกรรมพลศึกษาจึงเน้นที่ความพร้อมของผู้เรียนและโรงเรียนด้วย สำหรับสถาบันผลิตครูพลศึกษามีการเรียนการสอนเน้นเนื้อหาวิชาไปสู่วิทยาศาสตร์การกีฬามากขึ้นเพื่อนำมาใช้อธิบายหรือใช้สอนในห้องเรียนหรือในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                การจัดพลศึกษาในระบบการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ตอบสนองแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ได้กำหนดแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยจัดตั้งศูนย์กีฬาโรงเรียนและโรงเรียนกีฬาขึ้น ส่วนทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งโครงการพัฒนากีฬาชาติรับนักเรียนที่มีความสามารถดีเด่นทางกีฬาเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป อีกทั้งมีโครงการต่างๆ เกี่ยวกับพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น การจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดตั้งศูนย์กีฬาเวชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น
                การจัดพลศึกษานอกระบบการศึกษาประกอบด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ สมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ส่วนภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจและองค์กรเอกชนต่างๆ มีบริการทางด้านกิจกรรมการออกกำลังกายแก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นจึงถือเป็นธุรกิจทางการกีฬาอย่างหนึ่ง   
                การจัดการแข่งขันกีฬาและหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพลศึกษาและการกีฬามีกว้างขวางมากยิ่งขึ้นทั้งในท้องถิ่น ชุมชน ชนบทและในเมือง ภายในและระหว่างสถานศึกษา ภายในและระหว่างประเทศหรือระดับสากลเพื่อเน้นความมีสุขภาพดีของคนในชาติและเพื่อความเป็นเลิศทางการกีฬารวมทั้งเพื่อเป็นอาชีพต่อไปด้วยอีกทั้งเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศกับการเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศ
                 อนาคตของกีฬาจะมีแนวความคิดที่จะจัดการกีฬาสำหรับทุกคนมากขึ้น คือ พยายามที่จะให้ทุกชุมชนได้รับผลจากการเข้าร่วมเล่นกีฬาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ สังคมและอารมณ์ โดยให้โอกาสกับทุกคนได้เข้าร่วมในการเล่นกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มที่และพยายามเร้าใจให้เข้าร่วมทุกระดับในกิจกรรมที่จัดไว้ให้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่เริ่มจากกีฬาเพื่อการอาชีพต่อไป สำหรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพจะเป็นกิจกรรมประเภทบุคคล


เอกสารอ้างอิง
กรมพลศึกษา.  (2529).  โครงการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาและโรงเรียนประจำปี
           การศึกษา 2529.  กรุงเทพฯ: สำนักกีฬา (อัดสำเนาเย็บเล่ม).
             .  (2523).  การแข่งขันกีฬา.   ม...: สำนักงานวิทยาลัยพลศึกษาส่วนภูมิภาค วิทยาลัย                             พลศึกษา. (อัดสำเนาเย็บเล่ม)
             .  (2517).  การแข่งขันกีฬา.   ม...: สำนักงานวิทยาลัยพลศึกษาส่วนภูมิภาค วิทยาลัย               
           พลศึกษา. (อัดสำเนาเย็บเล่ม)
             .  (2507).  การแข่งขันกีฬา.   ม...: สำนักงานวิทยาลัยพลศึกษาส่วนภูมิภาค วิทยาลัย                             พลศึกษา. (อัดสำเนาเย็บเล่ม)
กระทรวงศึกษาธิการ.  (2529).  แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระยะที่ 5
           (พ.ศ. 2525-2529). กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์.
             .  (2487).  หลักสูตรฝึกหัดครูตอนปลาย พ.. 2487.  พระนคร: อำนวยศิลป์.
             .  (2507).  ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ 2435-2507. พระนคร: คุรุสภา.
กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เอกสารรัชกาลที่ 6 หมวดการกีฬา. บ.8/1-10. พระนคร: มปท.
             .  (ม.ป.ป.).  เอกสารรัชกาลที่ 6 หมวดการกีฬา.  บ.8/3. พระนคร: มปท.
             .  (ม.ป.ป.).  เอกสารรัชกาลที่ 6 หมวดการกีฬา.  ศ.8/5. พระนคร: มปท.
             .  (ม.ป.ป.).  เอกสารรัชกาลที่ 6 หมวดการกีฬา.  ศ.1/7 เล่ม  1. พระนคร: มปท.
กอง  วิสุทธารมณ์.  (2521,เมษายน).  แผนการกีฬาแห่งชาติ.  วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและ                                      นันทนาการ. 2(3): 37-38.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา.  (2531, มกราคม).  กรณีศึกษาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬาและ 
              นักกีฬา. วารสารกีฬา.  22(12): 12.
กาฬวรรณ  ดิศกุล, พล...หม่อมเจ้า.  (2514).  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเยาวชน.  ข่าวสาร
              กรมพลศึกษา. 3 (5) เมษายน.
การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.  (2559).  สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2559 จาก                 https://th.wikipedia.org/wiki.
               .  (2535).  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535–2539. กรุงเทพฯ: ยูไนเต็ด.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.  (2524).  นโยบายการศึกษาของประเทศไทย.  กรุงเทพฯ: ...
หาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะพลศึกษา.  (2557).  ประวัติ 100 ปี การพลศึกษาไทย. นครนายก:                             มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์.
คณะรัฐมนตรี.  (2559).  คณะรัฐมนตรีไทย. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2559, จาก                                                         https://th.wikipedia.org/wiki/คณะรัฐมนตรีไทย.
จุฬา-ธรรมศาสตร์.  (2515).  สูจิบัตรการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 3.. 2515.                          กรุงเทพฯ: ...
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  (2489).  พระราชานุกิจ.  พระนคร: ท่าพระจันทร์.
ถนอมวงศ์  กฤษณ์เพ็ชร์.  (2538).  ประวัติการพลศึกษาไทย.  กรุงเทพฯ: : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวิลวงศ์  บุญหงส์.  (2513, ตุลาคม).  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพลศึกษา.                                  ข่าวสารกรมพลศึกษา.  2(10): 6.
ธวัชชัย  สุหร่าย.  (2529).  หลักพื้นฐานพลศึกษา.  สุรินทร์: ภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ 
               สหวิทยาลัยอีสานใต้.
บุญรอดบริวเวอร์รี่.  (2523).  ว่าวไทยกับบุญรอด.  ม.ป.ท.: บุญรอดบริวเวอร์รี่.
ประยุทธ  สิทธิพันธ.  (2498).  ราชสำนักพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.  พระนคร: ส.พยุงพงศ์.
พเยาว์  พูนธรัตน์.  (2559).  เหรียญแรก...ไม่เคยลืม.  สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2559, จาก
ฟอง เกิดแก้ว. (2520). ประวัติพลศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
พิพิธพร  แก้วมุกดา.  (2508, มกราคม).  ประวัติการฝึกหัดครูพลศึกษาในประเทศไทย. วารสารสุขศึกษา                         พลศึกษา และนันทนาการ. 1 (1): 47.
วรวิทย์  วศินสรากร.  (2519).  การศึกษาไทยฉบับปรับปรุง.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ: สารมวลชน.โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.  (2510).  ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.  พระนคร: โรงเรียนนายร้อย
             พระจุลจอมเกล้า.
สถาบันการพลศึกษา.  (2548). พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้า               และพัสดุภัณฑ์.
             .  (2557).  หลักสูตรสถาบันการพลศึกษา.  ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย.
             (2557).  รายงานประจำปีการศึกษา 2550 (Institute of Physical Education Annual Report               2007).  กรุงเทพฯ: สำนักงานอธิการบดี.
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย.  (2559).  ประวัติกีฬาฟุตบอล.  สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2559, จาก              https://th.wikipedia.org/wiki.
สวัสดิ์  เลขยานนท์.  (2520, พฤศจิกายน).  ศตวรรษแห่งการกีฬา.  วารสารกีฬา. 5 (5): 9-10.
             .  ศตวรรษแห่งการกีฬา.  วารสารกีฬา.  5 ธันวาคม  2514 : 24.
สามัคยาจารย์สมาคม. (2472). ประกาศกรรมการจัดการกีฬา. วิทยาจารย์. 32 (13). พระนคร: มปท.
สำนักงานวิทยาลัยพลศึกษาส่วนภูมิภาค.  (2532).  วิทยาลัยพลศึกษา.  ม.ป.ท. (อัดสำเนาเย็บเล่ม).สำนักนายกรัฐมนตรี.  (2524).  นโยบายและแผนพัฒนาเยาวชนระยะยาว.  กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ.  (2559).  สมรักษ์ คำสิงห์เปิดใจหลังคว้าทองโอลิมปิก.  สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2559,                  จาก  http://www.manager.co.th/entertainment/viewnews.aspx?NewsID=                                    9590000105321.